ข้ามไปเนื้อหา

ธีเบอิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีเบอิด
ภาพวาดสีน้ำมัน อีดิปัสสาปแช่งพอลีไนซีส บุตรของตน โดยเฮนรี ฟิวเซลี (ค.ศ. 1786)

ธีเบอิด (/ˈθb.ɪd/; ละติน: Thēbaïs, แปลตรงตัว'บทกวีแห่งธีบส์') เป็นมหากาพย์ภาษาละตินที่แต่งโดยสเตชิอัส กวีชาวโรมันในปี ค.ศ. 90 เป็นเรื่องราวของคำสาปที่นำไปสู่การวิวาทระหว่างสองพี่น้อง อีทีออคลีสกับพอลีไนซีสเหนือบัลลังก์เมืองธีบส์ หลังพอลีไนซีสถูกเนรเทศ เขาร่วมมือกับเจ้าชายกรีกเจ็ดองค์เพื่อชิงบัลลังก์คืนจากน้องชายของตน ก่อนจะจบลงด้วยความตายของอีทีออคลีส พอลีไนซีสและเจ้าชายทั้งเจ็ด[1]

ธีเบอิด แบ่งออกเป็น 12 บท แต่ละบทมีความยาว 720–946 บาท ฉันทลักษณ์แบบมาตราหกคณะแด็กทิล (dactylic hexameter)[2] สเตชิอัสหยิบยืมต้นเรื่องมาจากวรรณกรรมกรีกโบราณเรื่องตำนานอีดิปัส และมีวรรณกรรมละตินอย่าง อีนีอิด ของเวอร์จิล เมทามอร์โฟซีส ของออวิดและโศกนาฏกรรมของแซแนกาผู้ลูกเป็นต้นแบบ[3][4][5] แก่นเรื่องประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับครอบครัว[6] สงครามกลางเมือง[7] และการกระทำอันไร้ศีลธรรม[8]

มีผู้สนใจอ่าน ธีเบอิด ไม่มากนักในสมัยโบราณ[9] แต่บทกวีนี้ได้รับการยกย่องอย่างสูงในสมัยกลางเมื่อมีการประยุกต์และแปลเป็นภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ[10] ธีเบอิด ได้รับการอนุรักษ์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในจักรวรรดิการอแล็งเฌียง แต่กลับไม่ได้รับการชมเชยเท่าที่ควรเมื่อเข้าสู่สมัยใหม่ นักวิชาการคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 วิจารณ์ ธีเบอิด ว่าขาดความคิดริเริ่ม[11] ขณะที่กลุ่มสำนักคิดลัทธิแก้ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตีความบทกวีนี้ว่าเป็นการวิพากษ์ระบอบอัตตาธิปไตย[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Thebaid - Summary and Study Guide". SuperSummary. สืบค้นเมื่อ January 12, 2023.
  2. Gibson 2006, p. xxix, n. 44.
  3. Shackleton Bailey 2003, p. 3.
  4. Vessey 1973, p. 328.
  5. Ganiban 2007, p. 8.
  6. Coleman 2003, p. 12.
  7. Hardie 1993, p. 95.
  8. Ganiban 2007, p. 34.
  9. Dewar 1991, p. xxxvii.
  10. Dewar 1991, p. xxxix.
  11. Coleman 2003, p. 10.
  12. Coleman 2003, p. 11.

ข้อมูลอ้างอิง

[แก้]