ธัชวิทยา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ธัชวิทยา ([ทัดชะวิดทะยา]; อังกฤษ: vexillology) คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับธง[1] ชื่อวิชา Vexillology เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดย วิทนีย์ สมิท
ผู้แต่งหนังสือเรื่อง ธง และบทความเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับธง ในช่วงแรกยังนับเป็นสาขาย่อยของ"วิชาการผูกตราสัญลักษณ์" (heraldry) ซึ่งบางครั้งก็ยังถือว่าเป็นดังนั้นอยู่ นอกจากนี้ก็ยังอาจถือว่าเป็นสาขาของวิชา สัญญาณศาสตร์ (semiotics) วิชานี้ได้มีการนิยามไว้ในข้อบังคับของ สหพันธ์ธัชวิทยานานาชาติ - FIAV (Fédération internationale des associations vexillologiques) ว่าเป็น "การสร้างสรรค์และพัฒนาการว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับธงทุกประเภท ทุกรูปแบบ ทุกหน้าที่ใช้สอย และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และหลักการที่เป็นพื้นฐานแห่งความรู้นี้" บุคคลผู้ศึกษาเกี่ยวกับธงเรียกว่า "นักธัชวิทยา" (vexillologist) และเรียกผู้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบธงหรือนักออกแบบธง เป็นภาษาอังกฤษว่า vexillographer
ในคำภาษาอังกฤษ Vexillology ได้มาจากการสังเคราะห์คำภาษาละติน vexillum และ หน่วยคำเติมหลัง –ology ที่แปลว่า "การศึกษาว่าด้วย..." สำหรับ vexillum หมายถึงธงประจำกองทหารโรมันในยุคคลาสสิก ธงสมัยนั้นต่างกันธงปัจจุบันตรงที่ธงปัจจุบันใช้ผูกกับเสาทางดิ่ง ส่วนธง vexillum เป็นผืนสี่เหลี่ยมจตุรัสแขวนอยู่กับแขนกางเขนทางนอนที่ยึดกับปลายหอก
นักธัชวิทยารวมตัวกันในระดับนานาชาติจัดประชุมด้านธัชวิทยา (ICV - International Concress of Vexillology) ทุกๆ สองปี เมื่อ พ.ศ. 2550 จัดประชุมกันที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี สำหรับปี พ.ศ. 2552 มีกำหนดให้จัดที่เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น สำหรับกิจกรรมในอินเทอร์เน็ต FIAV มีเว็บไซต์เกี่ยวกับ "ธงในโลกนี้" คือ FOTW Official Flag สำหรับให้ผู้มีความสนใจเข้าศึกษา
หลักการออกแบบธง
[แก้]การออกแบบธง สะท้อนให้เห็นระเบียบวิธีการหลายอย่างที่สืบเนื่องมาจากข้อห่วงใยเชิงปฏิบัติ สภาวะทางประวัติศาสตร์และกฎเกณฑ์ทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาธงมาแต่อดีต และจะยังคงมีผลต่อวิวัฒนาการของธงต่อไปในอนาคตด้วย
ประการแรก ประเด็นปัญหาสำคัญที่นักออกแบบธงประสบคือการออกแบบที่จะต้องนำไปผลิต ซึ่งมักผลิตเป็นจำนวนมากและมักใช้ผ้าเป็นวัตถุดิบและต้องนำไปใช้แขวนภายนอกอาคารเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์การ ของส่วนบุคคลหรืออื่นๆ ในแง่นี้ จะเห็นว่าการออกแบบธงเสมือนการแตกสาขาออกมากจากการออกแบบตราสัญลักษณ์หรือ "โลโก" ซึ่งโลโกส่วนใหญ่เป็นเพียงตราที่อยู่นิ่งในหนังสือ จอ หรือป้ายโฆษณา ส่วนธงต้องนำไปแขวนประดับและโบกพริ้วไปมาที่มองจากระยะและทิศทางต่างๆ ที่หลากหลายกว่ามาก การใช้สีและรูปร่างที่ง่ายและเด่นชัดจึงเป็นหัวใจสำคัญในเชิงการใช้งานจริง
การออกแบบธงเป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกันเนื่องจากธงมักมีความหมายโยงไปถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีต รูปแบบเดิม ความหมายและการใช้งานดั้งเดิม ความละเอียดอ่อนซับซ้อน กลุ่มประเภทของธงปัจจุบันอาจสืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษร่วมเพียงไม่กี่สาย เช่นในกรณีของ "สีพันธมิตรอัฟริกัน" (Pan-African colors) "สีพันธมิตรอาหรับ" (Pan-Arab colors) "สีพันธมิตรสลาวิก" (Pan-Slavic colors)และ "ธงชาติที่ได้แรงบันดาลในจากธงชาติตุรกี" (national flags inspired by the flag of Turkey) เป็นต้น
ในบางวัฒนธรรมจะมีการกำหนดการออกแบบธงไว้ตายตัว โดยการอยู่ในกรอบของตราสัญลักษณ์ประจำตระกูล (heraldic) หรือเป็นไปตามกฎระเบียบที่มีวางไว้ตายตัว ในกรณีเฉพาะบางกรณี การออกแบบอาจกำหนดมาจากหลักการทางศาสนา ตัวอย่างเช่น ธงอิสลาม (Islamic flags) และในฐานะเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ธัชวิทยาได้เริ่มส่งเสริมให้มีการกำหนดหลักการการออกแบบที่ได้จากงานวิจัยทางประวัติศาสตร์และการออกแบบธง ตัวอย่างสำคัญได้แก่ "หลักการออกแบบธงดีและธงเลวของเท็ด เคย์" (Ted Kaye's five Good Flag, Bad Flag principles) ซึ่งตีพิมพ์และได้รับการรับรองจากสมาคมธัชวิทยาภาคอเมริกาเหนือ (North American Vexillological Association) ดังนี้
- ทำให้เรียบง่าย: ธงควรเรียบง่ายในระดับที่เด็กสามารถเขียนได้จากความจำ
- ใช้สัญลักษณ์ที่ให้ความหมาย: ภาพลักษณ์ สี หรือลวดลายของธงควรสัมพันธ์กับความหมายของสัญลักษณ์
- ใช้สีพื้นฐาน 2-3 สี: จำกัดจำนวนสีที่ใช้กับผืนธงไว้ที่ 3 สี และเป็นสีที่มีความเปรียบต่างชัดที่ได้มาจากชุดสีมาตรฐาน
- ไม่ใช้ตัวอักษรหรือตรา: ไม่พึงใช้ตัวหนังสือเขียนไม่ว่าในภาษาใดและไม่พึงใส่ตราขององค์การใดๆ
- มีความโดดเด่น หรือ มีความเกี่ยวพันสูง: หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนหรือคล้ายคลึงกับธงอื่น แต่จงใช้ความคล้ายเพื่อแสดงความเกี่ยวข้องกันเท่านั้น
ดูเพิ่ม
[แก้]- อภิธานศัพท์ธัชวิทยา
- สัญลักษณ์ทางธัชวิทยา
- Vexillum
- Vexilloid
- แฟลกส์ออฟเดอะเวิลด์
- มุทราศาสตร์
- รายการธงตามรูปแบบ
- รายการธงชาติตามรูปแบบ
- International Federation of Vexillological Associations
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Smith, Whitney. Flags Through the Ages and Across the World New York: McGraw-Hill, 1975. Print.
บรรณานุกรม
[แก้]- Leepson, Marc. Flag: An American Biography. New York: Thomas Dunne Books, 2005.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Smith, Whitney. Flags Through the Ages and Across the World. New York: McGraw-Hill, 1975.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Marshall, Tim. A Flag Worth Dying For: The Power and Politics of Flag. 2016.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Vexillology
- International Federation of Vexillological Associations