ข้ามไปเนื้อหา

ธงชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงประจำชาติ)
แผนผังธงนานาชาติของJohnson's new chart of national emblems, ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1868 แสดงภาพธงขนาดใหญ่ทั้งสี่ที่มุมของแผนผัง เริ่มจากมุมบนซ้ายเป็นธงชาติสหรัฐ 37 ดาว (ค.ศ. 1867ค.ศ. 1877), มุมบนขวาธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร, มุมล่างซ้ายธงพระอิสริยยศมหาราช "ซาร์แห่งรัสเซีย, และ มุมล่างขวาธงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 กลางธงมีตรานกอินทรีแห่งนโปเลียน.
ธงชาติประจำประเทศต่าง ๆ
ธงชาติเดนมาร์ก เป็นธงราชการที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน

ธงชาติ คือธงที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของประเทศและดินแดนต่าง ๆ ปกติแล้วรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ย่อมเป็นผู้กำหนดแบบธงชาติและข้อบังคับการใช้ธงชาติ หากแต่พลเมืองในแต่ละประเทศก็สามารถใช้ธงชาติในดินแดนของตนเองได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับการใช้ธงตามที่รัฐบาลกำหนดไว้

ธงชาตินิยมใช้ชักตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งของเอกชนและของรัฐ เช่น โรงเรียน และศาลาว่าการเมือง แต่ในบางประเทศ ได้มีข้อกำหนดการใช้ธงชาติว่าจะชักอยู่บนอาคารอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาคารทางทหารได้ในวันที่กำหนดให้ชักธงบางวันเท่านั้น

ตามหลักสากล นิยมแบ่งลักษณะการใช้ธงชาติออกเป็น 3 ประเภทสำหรับใช้บนแผ่นดิน และอีก 3 ประเภทสำหรับใช้ในภาคพื้นทะเล แม้ว่าหลายประเทศมักจะใช้ธงชาติเพียงแบบเดียวในการใช้ธงหลาย ๆ ลักษณะ และบางทีก็ใช้ธงชาติในหน้าที่ทั้ง 6 ประเภทก็ตาม

ธงชาติสำหรับใช้บนแผ่นดิน

[แก้]
ธงประจำกองกำลังปัองกันตนเองภาคพื้นดิน (ธงทหาร) ของประเทศญี่ปุ่น

ธงชาติสำหรับใช้บนแผ่นดิน มี 3 ประเภท คือ

ธงราษฎรนั้นสามารถใช้ได้โดยทั่วไปโดยอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายเกี่ยวกับธงที่รัฐบาลบังคับใช้ ขณะที่ธงราชการจะมีการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ใช้ในราชการเท่านั้น เช่นเดียวธงรบ ซึ่งกำหนดเฉพาะให้ใช้แต่เพียงในหน่วยงานต่าง ๆ ทางทหารเช่น กองทัพ เป็นต้น

ในทางปฏิบัติ หลายประเทศรวมถึงสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร มักจะใช้ธงเดียวกันในลักษณะการใช้ธงชาติ ทั้ง 3 ประเภทข้างต้น โดยใช้สัญลักษณ์ทางด้านวิชาการศึกษาธง (Vexillology) อธิบายหน้าที่ของธงดังรูป () อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบลาตินอเมริกา จะแบ่งธงชาติออกเป็นธงราษฎรและธงราชการอย่างชัดเจน ธงราษฎรส่วนใหญ่จะมีรูปแบบเป็นธงราชการอย่างง่าย กล่าวคือ ธงราชการมักจะบรรจุภาพตราแผ่นดินไว้ในธง แต่ในธงราษฎรจะไม่ปรากฏเครื่องหมายข้างตัน

มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่จะกำหนดลักษณะธงทหารให้แตกต่างจากธงราชการอย่างชัดเจน

ธงชาติสำหรับใช้ในภาคพื้นทะเล

[แก้]
ธงราชนาวีไทย

หลายประเทศกำหนดให้มีธงชาติแบบพิเศษสำหรับใช้ในทะเล เรียกว่า ธงเดินเรือ (ensign) ธงนี้แบ่งออกเป็น 3 ชนิดเช่นกัน คือ

  • ธงเรือราษฎร์ หรือ ธงเรือพาณิชย์ () สำหรับใช้ชักบนเรือเอกชน
  • ธงเรือราชการ หรือ ธงเรือหลวง () สำหรับใช้ชักบนเรือของรัฐบาล
  • ธงนาวี หรือ ธงเรือรบ () (ธงทหารเรือเรียกอีกอย่างว่า ธงราชนาวี หรือ ธงรัฐนาวี) สำหรับใช้ชักบนเรือรบและใช้เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือต่าง ๆ โดยทั่วไป

ธงเดินเรือเหล่านี้จะชักขึ้นบนเสาสำหรับชักธงเดินเรือที่เสาท้ายหรือที่เสาก๊าฟฟ์ในเวลาที่ไม่ได้ผูกเรือหรือทอดสมอเรือ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าทั้งสองตำแหน่งกล่าวเป็นตำแหน่งที่เด่นที่สุดในเรือ แม้ว่าเสากระโดงเรือจะเป็นเสาเรือที่สูงกว่าเสาอื่น ๆ ก็ตาม สำหรับเรือที่ไม่มีเสาก๊าฟฟ์ ธงเดินเรืออาจจะใช้ชักขึ้นที่ปลายแขนเสากระโดงเรือก็ได้ นอกจากนี้ธงชาติดังกล่าวยังสามารถใช้ได้ที่เครื่องบินและยานพาหนะที่สำคัญของทางราชการตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

ประเทศต่าง ๆ ส่วนมากใช้ธงชาติเป็นธงเดินเรือในขณะเดียวกัน เรียกว่า ธงชาติประจำเรือ ดังรูป () แต่ธงเดินเรือในบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับธงชาติ แต่อาจมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่น กำหนดสัดส่วนธงให้ต่างออกไป เป็นต้น มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่กำหนดให้มีธงเดินเรือแยกจากธงชาติออกมาโดยเฉพาะ เช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งมีการใช้ธงเดินเรือถึง 3 ชนิด สำหรับจำแนกประเภทเรือ ได้แก่ ธงเดินเรือสีแดง สำหรับเรือพาณิชย์ของประชาชนทั่วไป ธงเดินเรือสีขาว สำหรับใช้เป็นธงราชนาวี และ ธงเดินเรือสีน้ำเงิน สำหรับเรือราชการของรัฐบาลที่ไม่ได้สังกัดราชนาวีอังกฤษ

ธงที่มีความคล้ายคลึงกัน

[แก้]

แม้ว่าธงชาติจะมีความหมายเป็นสัญลักษณ์ชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะก็ตาม แต่เป็นไปได้ที่หลายประเทศจะมีธงชาติที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นไปได้ว่าธงที่ประเทศใดประเทศหนึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันจะไปคล้ายกับธงของประเทศอื่น ๆ ที่เคยใช้มาก่อนในประวัติศาสตร์ อาทิ ธงชาติแอลเบเนียคือธงรบของอาณาจักรโรมันตะวันออกหรืออาณาจักรไบเซนไทน์ในอดีต เป็นต้น

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]