ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง
การใช้ | ธงชาติ |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 1 ธันวาคม 1958 |
ลักษณะ | เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งเป็นแถบสีขนาดเท่ากัน 4 แถบ ได้แก่แถบสีน้ำเงิน สีขาว สีเขียว และสีเหลือง ที่มุมธงบนด้านคันธงในแถบสีน้ำเงินมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง กลางธงชาตินั้นมีแถบสีแดงพาดผ่านตามแนวตั้ง |
ออกแบบโดย | บาร์เตเลมี โบกองดา |
ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบสีขนาดเท่ากัน 4 แถบ ได้แก่แถบสีน้ำเงิน สีขาว สีเขียว และสีเหลือง ที่มุมธงบนด้านคันธงในแถบสีน้ำเงินมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง[1] กลางธงชาตินั้นมีแถบสีแดงพาดผ่านตามแนวตั้ง กว้างประมาณ 1 ใน 5 ส่วนของความยาวธง ธงนี้ออกแบบโดย บาร์เตเลมี โบกองดา (Barthélemy Boganda) ประธานาธิบดีคนแรกของดินแดนปกครองตนเองอูบองกี-ชารี (Oubangui-Chari - ต่อมาคือประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง) ซึ่งเชื่อว่า "ฝรั่งเศสและแอฟริกาต้องก้าวเดินไปด้วยกัน" และได้ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2501 หลังการประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสประมาณ 4 เดือน
ด้วยความเชื่อข้างต้น โบกองดาจึงได้รวมเอาสีจากธงชาติฝรั่งเศสเข้ากับสีพันธมิตรแอฟริกาในธงนี้ โดยสีแดงนั้นหมายถึงเลือดของประชาชนที่หลั่งออกมาในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช และจะไหลรินเพื่อปกป้องชาติต่อไป[2] สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและเสรีภาพ สีขาวคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และความสง่างาม สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและความเชื่อมั่น และสีเหลืองเป็นเครื่องหมายของความมีขันติธรรม ดังนั้น ความหมายโดยรวมของธงชาติ จึงหมายถึงความปรารถนาของชาวแอฟริกากลางในความเป็นเอกภาพของชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนชาวแอฟริกาด้วยกัน[3]
วิวัฒนาการของธงชาติ
[แก้]-
ธงชาติฝรั่งเศสใช้ในสมัยอาณานิคมอูบองกี-ชารีตั้งแต่ พ.ศ. 2446 ถึง พ.ศ. 2503
-
ธงที่ถูกเสนอทดแทนในปี พ.ศ. 2519
-
ธงมาตรฐานของจักรพรรดิโบกัสซาที่ 1ซึ่งใช้เป็นธงร่วมของจักรวรรดิแอฟริกากลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2522
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Flags, Symbols & Currency of Central African Republic". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-24.
- ↑ "Central African Republic". www.fotw.info.
- ↑ "Flag of Central African Republic". flagpedia.net (ภาษาอังกฤษ).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ที่ Flags of the World (อังกฤษ)