ธงชาติลิทัวเนีย
การใช้ | ธงพลเรือน และ ธงเรือพลเรือน |
---|---|
สัดส่วนธง | 3:5 |
ประกาศใช้ | 20 มีนาคม พ.ศ. 2532 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2547 ประกาศใช้ครั้งแรก 1 มกราคม พ.ศ. 2461 |
ลักษณะ | ธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีเหลือง-เขียว-แดง |
การใช้ | ธงราชการ |
สัดส่วนธง | 3:5 |
ลักษณะ | ธงพื้นแดง ตรงกลางมีรูปอัศวินขี่ม้าขาวถือโล่สีฟ้าตามภาพตราแผ่นดิน |
การใช้ | ธงนาวี |
ลักษณะ | ธงพื้นขาวมีกางเขนสมมาตรสีน้ำเงิน ที่ช่องมุมบนด้านคันธงมีธงชาติลิทัวเนีย |
ธงชาติลิทัวเนีย มีลักษณะคล้ายกับธงชาติพม่า แต่ไม่มีดาว และออกจะเข้มด้วย ธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีเหลือง สีเขียวและสีแดง เรียงจากบนลงล่าง ความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการประกาศเอกราช ก่อนหน้านี้ธงนี้เคยใช้เป็นธงชาติลิทัวเนียในช่วงปี พ.ศ. 2461 - 2483 ซึ่งเป็นช่วงที่ลิทัวเนียอยู่ภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต โดยที่สีในธงดังกล่าวสว่างกว่าสีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[1] ต่อมาหลังการยึดครองระยะสั้นของนาซีเยอรมนีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลิทัวเนียมีฐานะเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย ธงชาติในยุคนี้เริ่มแรกเป็นธงแดงแบบธงชาติสหภาพโซเวียตพร้อมอักษรบอกนามประเทศ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นธงแดงแบบโซเวียตมีแถบสีขาวและสีเขียวอยู่ตอนล่าง
ธงชาติลิทัวเนียที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นการปรับปรุงจากธงชาติสมัยประกาศเอกราชเล็กน้อย โดยแก้สัดส่วนธงเดิมจาก 1:2 เป็น 3:5 ใน พ.ศ. 2547
การออกแบบ
[แก้]โทนสี | สีเหลือง | สีเขียว | สีแดง [2] |
---|---|---|---|
แพนโทน[3][4] | 15-0955 TP / 1235 c/u | 19-6026 TP / 349 c/u | 19-1664 TP / 180 c/u |
RGB color model[4] | 253-185-19 | 0-106-68 | 193-39-45 |
Web colors[4] | fdb913 | 006a44 | c1272d |
CMYK color model[4] | 0-30-100-0 | 100-55-100-0 | 25-100-100-0 |
วันธงชาติ
[แก้]วัน | วันสำคัญ | ความสำคัญ |
---|---|---|
1 มกราคม | วันปีใหม่ และ วันธงชาติ | ธงชาติผืนแรกได้ชักขึ้นที่ Gediminas Tower ในปี พ.ศ. 2462 |
13 มกราคม | วันรำลึกถึงวีรชน | เพื่อรำลึกผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เดือนมกราคม พ.ศ. 2534 |
16 กุมภาพันธ์ | วันเอกราชของประเทศลิทัวเนีย (จากจักรวรรดิรัสเซีย, พ.ศ. 2461) | ประดับธงชาติลัตเวีย และ ธงชาติเอสโตเนีย |
24 กุมภาพันธ์ | วันเอกราชของประเทศเอสโตเนีย | ประดับธงชาติลัตเวีย และ เอสโตเนีย |
11 มีนาคม | วันประกาศอิสรภาพใหม่ (จากสหภาพโซเวียต, พ.ศ. 2533) | ประดับธงชาติลัตเวีย และ เอสโตเนีย |
29 มีนาคม | วันนาโต้ (NATO) | ลิทัวเนียเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การนาโต เมื่อ พ.ศ. 2547; ประดับธงชาติคู่กับธงนาโต้ |
1 พฤษภาคม | วันแรงงานสากล และ วันสหภาพยุโรป | ลิทัวเนียเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2547; ประดับธงชาติคู่กับธงสหภาพยุโรป |
9 พฤษภาคม | ชัยชนะเหนือเยอรมนี | วันสิ้นสุดของมหาสงครามของผู้รักชาติ ซึ่งกองทัพแดงเอาชนะนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2, พ.ศ. 2488 |
15 พฤษภาคม | Day of Convening of the Constituent Seimas | In honor of the Constituent Assembly of Lithuania |
14 มิถุนายน | วันแห่งความหวัง | เพื่อรำลึกวันรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในไซบีเรียโดยรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2484 ; (ลดธงครึ่งเสา) |
15 มิถุนายน | วันรำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ | วันรำลึกถึงการเริ่มต้นของการถูกสหภาพโซเวียตยึดครอง พ.ศ. 2483 ; (ลดธงครึ่งเสา) |
6 กรกฎาคม | วันเถลิงวัลย์ราชสมบัติ | วันเถลิงวัลย์ราชสมบัติของมินดูกาส์ ปฐมกษัตริย์แห่งลิทัวเนีย เมื่อ ค.ศ. 1253 |
15 กรกฎาคม | วันที่ระลึกศึกกรุนน์วาร์ด | เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียทำสงครามมีชัยเหนือ Teutonic Knights เมื่อ ค.ศ. 1410 |
23 สิงหาคม | วันริบบิ้นสีดำ | วันลงนามเซ็นกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ พ.ศ. 2482; (ลดธงครึ่งเสา) |
31 สิงหาคม | วันแห่งอิสรภาพ | กองทัพแดงได้ถอนทหารออกไปจากลิทัวเนียเมื่อ พ.ศ. 2536 |
23 กันยายน | วันรำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว | เพื่อรำลึกรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ในเหตุการณ์วิลเนียเกตโต โดยรัฐบาลนาซีเยอรมัน พ.ศ. 2486 ; (ลดธงครึ่งเสา) |
25 ตุลาคม | วันรัฐธรรมนูญ | วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของลิทัวเนีย พ.ศ. 2535 |
18 พฤศจิกายน | วันเอกราชของประเทศลัตเวีย | ประดับธงชาติลัตเวีย และ เอสโตเนีย |
23 พฤศจิกายน | วันกองทัพลิทัวเนีย | เพื่อรำลึกการสถาปนากองทัพลิทัวเนีย เมื่อ พ.ศ. 2461 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Volker Preuß. "National Flagge des Litauen" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2005-04-14.
- ↑ Lithuanian Heraldry Commission. The color red is described in Lithuanian as "purpuro," which means "purple." However, that doesn't mean the flag color itself is purple. This error was made in regard to the Presidential Standard in early reports by vexillologist publications. (ลิทัวเนีย)
- ↑ Lithuanian Heraldry Commission (ลิทัวเนีย)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Lithuanian Government - flag standard" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (อังกฤษ) ประวัติธงชาติลิทัวเนีย - เว็บไซต์รัฐสภาแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย
- ธงชาติลิทัวเนีย ที่ Flags of the World (อังกฤษ)