ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัส مطار مسقط الدولي | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||
การใช้งาน | ทหาร/สาธารณะ | ||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | Oman Airports | ||||||||||||||
พื้นที่บริการ | Muscat | ||||||||||||||
ที่ตั้ง | Muscat, Oman | ||||||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||||||
พิกัด | 23°35′18.92″N 58°17′26.16″E / 23.5885889°N 58.2906000°E | ||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
สถิติ (2017) | |||||||||||||||
|
ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต (IATA: MCT, ICAO: OOMS), ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานนานาชาติซีป ,[1] เป็นท่าอากาศยานหลักของ [โอมาน] ตั้งอยูห่างจากเมืองเก่าราวๆ 32 กิโลเมตร และอยู่ในเขตเมืองหลวงของกรุงมัสกัด ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นทำหน้าที่บริการสารการบินประจำชาติอย่างโอมานแอร์ และสารการบินต้นทุนต่ำอย่าง ซาลามแอร์ ที่ให้บริการทั้งภายในภูมิภาคและรวมถึงเอเชีย แอฟริกา และยุโรป
ประวัติ
[แก้]ในปี 2516 เปิดให้บริการท่าอากาศยานนานาชาติซีป เพื่อใช้ทดแทนสนามบินเล็กๆ อย่าง เบย์ อัล ฟาลาซ [2] ซึ่งเป็นหน่วยบัญชาการของกองทัพอากาศมาก่อน รวมถึงใช้ในสงครามกัฟ ในปี 2534 ในชื่อปฏิบัติการ เมจิก รันอะบาว โดยความร่วมมือของกับกองทัพเรือโอมาน[3] ฐานแห่งนี้ถูกใช้ปล่อย Vickers VC10 ของฝูงบิน RAF ในระหว่างฝึกสงคราวอ่าวกับกองทัพอากาศ SEPECAT Jaguars.[4]
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ชื่อสนามบินแห่งนี้ได้รับการเปลี่ยนอย่างเป็นทางการจาก ท่าอากาศยานนานาชาติซีป เป็น ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต[1]
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]พื่นที่ของท่าอากาศยานทั้งหมด 21.24 ตารางกิโลเมตร โดยมีจุดเด่นของอาคารผู้โดยสารหนึ่งหลังเดิมที่มีขนาดเล็ก หนึ่งรันเวย์ และส่วนประกอบอย่างอาคารสินค้า อาคารบริการต่างๆ หลังจากมีการสร้างขยายทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้มีอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ อาคารควบคุมการบินหลังใหม่ อาคารใหม่ๆ เหล่านี้ได้รับการทดสอบตอนเดือนธันวาคม 2560 ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ[5] สิ่งอำนวยความสะดวกยังรวมถึงอาคารผู้โดยสารระดับ VIP และอาคารปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของโอมานแอร์ สำหรับไฟลท์ของกษัตริย์และกองทัพอากาศโอมานนั้น จะใช้สนามบินแห่งนี้บางส่วนด้วย
ปี 2562 ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้รับการติดตั้งระบบตรวจจับโดรนอย่างAaronia AARTOS C-UAS [6] ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติแห่งแรกที่ได้รับการติดตั้งระบบดังกล่าว
อาคารผู้โดยสาร
[แก้]อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 (อาคารใหม่)
[แก้]อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ถูกเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที 20 เดือนมีนาคม ปี 2561 เป็นอาคารทางเหนือของอาคารหลังเดิมและรันเวย์เดิม อาคารหลังใหม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปีเมื่อเฟสแรกเสร็จสิ้น [7] สำหรับในส่วนของเฟสที่สองและสามนั้น ท่าอากาศยานสามารถรองรับได้ที่ 24 และ 48 ล้านคนตามลำดับ [7] สำหรับอาคารผู้โดยสารมีพื้นที่ 580,000 ตาราเมตร มีจำนวนเคาเตอร์เช็คอิน 118 เคาเตอร์ และ 10 สายพานรับกระเป๋า และจำนวน 82 เคาเตอร์สำหรับตรวจลงนามพาสปอร์ต มีจุดเชื่อมเครื่องบิน 45 จุด และมีอาคาร ATC สูง 97 เมตร อาคารใหม่แห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างรันเวย์เก่าและรันเวย์ใหม่ ส่วนรันเวย์ใหม่นั้นสามารถรองรับเครื่องขนาดใหญ่อย่าง Airbus A380s และ Boeing 747s.ได้[8]
วันที่ 31 มกราคา 2561 มีการประกาศย้ายอาคารผู้โดยสารไปยังหลังใหม่ ในวันที่ 20 มีนาคม 2561 [9] อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ถูกให้บริการครั้งแรกเมื่อเวลา 15.00 น. โดยสารการบินโอมานแอร์ และขาเข้าจากนาจาฟ เวลา 18.30 น.
อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (อาคารเก่า)
[แก้]อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารเดี่ยว สองชั้นรูปตัวที เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2513 ถูกนำมาเพื่อใช้ทดแทน ท่าอากาศยานบาอิทอัลฟาลาจ และสามารถที่จะขยายเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนของผู้โดยสารได้[10]
อาคารผู้โดยสารหลังนี้มีเคาเตอร์เช็คอินทั้งหมด 58 เคาเตอร์ ห้องพักผู้โดยสารขาออกจำนวน 23 จุด และ 4 สายพานกระเป๋า และรวมถึงจุดให้บริการและร้านค้าบางส่วน [10] การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารและเครื่องบินจะใช้รถบัสเพื่อให้บริการเนื่องจากตัวอาคารผู้โดยสารแห่งนี้ไม่มีสะพานเชื่อมต่อระหว่างอาคารกับเครื่องบินโดยตรง
หลังจากการเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารหลังใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2561 อาคารผู้โดยสารหลังเก่าถูกใช้สำหรับสารการบินต้นทุนต่ำ[9] ในวันที่อาคารผู้โดสารหลังใหม่ถูกเปิดใช้อย่างเป็นทางการไฟลท์สุดท้ายของอาคารผู้โดยสารหลังเก่านี้คือไฟลท์ที่เดินทางไปยังนครซูริค ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ และไฟลท์ในประเทศไปยังซาลาล่า
ทางวิ่งและลานจอดเครื่องบิน
[แก้]ท่าอากาศยานแห่งนี้มีรันเวย์ 2 แห่ง โดยใช้รันเวย์ 08R/26L เดิมนั้นเป็นซึ่งรันเวย์นี้รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่าง โบอิ่ง 747-400 และ โบอิ่ง 777 ส่วนทางวิ่งแห่งใหม่ที่อยู่ทางทิศเหนือของอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ คือทางวิ่ง 08L/26R ที่มีความยาว 4000 เมตร และสามารถรองรับการขึ้นลงของเครื่องบินอย่างโบอิ่ง 747-8 แอร์บัส เอ380 และแอนโทนอฟ เอเอ็น 2255 ได้ ซึ่งทางวิ่งแรกนั้นทางสนามบินได้ทำการปิดเพื่อปรับปรุงและขยาย[11]
อาคารผู้โดยสารหลังเก่าสามารถรองรับการจอดของเครื่องบินได้ 32 ลำ [10] ทั้งสองด้านของอาคารผู้โดยสารรูปตัวที
สายการบินและจุดหมายปลายทาง
[แก้]ผู้โดยสาร
[แก้]สายการบินที่ให้บริการในไฟลท์ปกติและเช่าเหมาลำมายังและออกจากมัสกัส[12]
- Notes
- ^1 เที่ยวบินของสายการบินบังคลาเทศพิมาน จากมัสกัตไปธากาแวะพักที่ซิลเฮต อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินจากธากาไปมัสกัตไม่มีวันหยุด.
สินค้า
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง
|
---|---|
คาร์โกลักซ์ | เจนไน, ฮ่องกง, ลักเซมเบิร์ก, มุมไบ |
ดีเอชแอล เอวิเอชั่น | ดูไบ |
สถิติการใช้ท่าอากาศยาน
[แก้]Year | Passengers | % Change |
---|---|---|
2018 | 15,413,135 | 9% [26] [1] เก็บถาวร 2018-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
2017 | 14,034,865 | 28% |
2016 | 10,314,449 | 18% |
2015 | 8,709,505 | 5% |
2014 | 8,310,927 | 10% |
2013 | 7,546,715 | 16% |
2012 | 6,479,860 | 13% |
2011 | 5,751,516 | 26% |
2010 | 4,556,502 | 14% |
2009 | 4,002,121 | -5% |
2008 | 4,220,429 | -12% |
2007 | 4,777,747 |
Year | Freight in MT | Aircraft movements |
---|---|---|
2018 | 212,764 | 333,134 |
2017 | 200,852 | 203,572 |
2016 | 180,332 | 153,326 |
2015 | 154,868 | 109,920 |
2014 | 147,248 | 98,085 |
2013 | 120,040 | 81,244 |
2012 | 113,269 | 73,842 |
2011 | 98,780 | 68,696 |
2010 | 96,390 | 67,160 |
2009 | 64,419 | 55,330 |
2008 | 58,486 | 45,600 |
2007 | 77,292 | 45,655 |
2006 | 99,529 | 46,319 |
References
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Oman Airports". www.omanairports.co.om. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "Airport History". Oman Airports Management Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2012.
- ↑ Gp Capt Brian Burridge, Royal Air Force Nimrods in the Gulf
- ↑ "19 Years Over Iraq". The Official RAF Annual Review 2010. Stamford: Key Publishing: 9. ธันวาคม 2010.
- ↑ timesofoman.com - Muscat airport’s new terminal to be operational by end 2017: Al Futaisi 12 February 2017
- ↑ "Drone Detection System for Muscat Intl Airport". สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2019.
- ↑ 7.0 7.1 "New terminal complex for Muscat International Airport". Bechtel.
- ↑ omanairports.co.om - New Airport Development เก็บถาวร 2016-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 30 September 2016
- ↑ 9.0 9.1 gulfnews.com - New Muscat airport terminal to open on March 20 31 January 2018
- ↑ 10.0 10.1 10.2 omanairports.co.om - Airport Development เก็บถาวร 2016-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 30 September 2016
- ↑ "Pilot information for Muscat international Airport". Our Airports. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ omanairports.co.om - TimeTable เก็บถาวร 2016-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 23 July 2016
- ↑ "GoAir expands International network in July/August 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "Iran Aseman Airlines adds Chah Bahar – Muscat service from April 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
- ↑ July 22, 2019. "Kish Airlines". En.kishairlines.ir. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
- ↑ omanair.com - Our Network เก็บถาวร 2019-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 3 October 2018
- ↑ Liu, Jim (10 พฤษภาคม 2018). "Oman Air plans Moscow launch in late-October 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2018.
- ↑ "Oman Air files expanded new routes in S19". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
- ↑ salamair.com - Destinations retrieved 8 September 2018
- ↑ "Salam Air outlines further network expansion in S19". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "Salam Air adds Chittagong service from May 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
- ↑ https://www.salamair.com/en/news/salamair-announces-entry-into-the-sri-lankan-market-adds-colombo-to-network
- ↑ Liu, Jim. "Salam Air schedules new routes in Nov 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "Salam Air plans Mukhaizna charters from June 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
- ↑ Musacat, OOMS. "Oman Airports". www.omanairports.co.om. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ Cargo Flights. "Oman Airports". www.omanairports.co.om. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
External links
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Muscat International Airport
- Official website เก็บถาวร 2021-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Traffic Statistic 2018 Salalah & Muscat เก็บถาวร 2019-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Annual Report 2017 MOTC for Reference เก็บถาวร 2018-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน