ท่าอากาศยานนานาชาติเจนไน
ท่าอากาศยานนานาชาติเจนไน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||
เจ้าของ | การท่าอากาศยานอินเดีย | ||||||||||||||
พื้นที่บริการ | นครบาลเจนไน | ||||||||||||||
ที่ตั้ง | มีนามพักกัม และ ฐิรุสูลัม, เจนไน | ||||||||||||||
เปิดใช้งาน | ค.ศ. 1910 | ||||||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||||||
เมืองสำคัญ | |||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 16 เมตร / 52 ฟุต | ||||||||||||||
พิกัด | 12°58′56″N 80°9′49″E / 12.98222°N 80.16361°E | ||||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
สถิติ (เม.ย 2018 - มี.ค. 2019) | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
ท่าอากาศยานนานาชาติเจนไน (Chennai International Airport) (IATA: MAA, ICAO: VOMM) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ให้บริการพื้นที่เมืองเจนไน ทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และ ย่านนครบาลของเมือง ท่าอากาศยานตั้งอยู่ในมีนามพักกัม และ ฐิรุสูลัม 21 กิโลเมตรจากตัวเมือง ท่าอากาศยานแห่งนี้มีผู้โดยสารเข้าออก 22.5 ล้านคนในปี 2018-19 มีเที่ยวบินเข้าออกวันละกว่า 570 เที่ยวบิน และผู้โดยสารเข้าออกกว่า 30,000 คนต่อวัน ถือเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับสามในอินเดีย ทั้งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า เป็นรองเพียงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ในนิวเดลี และ ท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช ในมุมไบ[4][5] และเป็นอันดับสี่ในด้านจำนวนผู้โดยสารรวม เป็นรองท่าอากาศยานสองแห่งที่กล่าวข้างต้น และท่าอากาศยานนานาชาติเกมเปโควทา ในเบงคลูรู และเป็นอันดับที่ 49 ของทวีปเอเชีย[6] ท่าอากาศยานเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดิน สถานีรถไฟใต้ดินท่าอากาศยานนานาชาติเจนไน ของรถไฟใต้ดินเจนไนเมโทร และ สถานีรถไฟฐิรุสูลัม ของ ระบบรถไฟชานเมืองเจนไน (Chennai Suburban Railway system) ในปัจจุบันกำลังก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหมายเลข 5 และ 6 (หนึ่งในนี้เป็นอาคารผู้โดยสารแซทเทลไลท์; Satellite Terminal) เพื่อขยายและรองรับจำนวนผู้โดยสารที่มากขึ้น คาดว่าจะรับมือผู้โดยสารได้ถึง 40 ล้านคนต่อปี[7] เมื่อสร้างเสร็จ จะเป็นท่าอากาสยานแรกในอินเดียที่มีอาคารผู้โดยสารแบบแซทเทลไลท์ (Satellite Terminal) ซึ่งเชื่อมโดยทางเลื่อนเดินใต้ดินเข้ากับอาคารผู้โดยสารอื่น ๆ[8] อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าท่าอากาศยานนี้จะถึงจุดอิ่มตัวในปี 2022 ซึ่งจะรับผู้โดยสารได้มากที่สุด 40 ล้านคน จึงมีแผที่จะสร้างท่าอากาศยานเจนไนแห่งใหม่มาเป็นทศวรรษแล้ว เมื่อสร้างเสร็จก็จะช่วยรองรับการใช้งานในทั้งสองท่าอากาศยาน[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Traffic News for the month of March 2019: Annexure-III" (PDF). Airports Authority of India. 1 May 2019. p. 3. สืบค้นเมื่อ 1 May 2019.
- ↑ "Traffic News for the month of March 2019: Annexure-II" (PDF). Airports Authority of India. 1 May 2019. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 May 2018. สืบค้นเมื่อ 1 May 2019.
- ↑ "Traffic News for the month of March 2018: Annexure-IV" (PDF). Airports Authority of India. 1 May 2018. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 May 2018. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
- ↑ "• India - international passenger traffic at airports 2018". Statista. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). Web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 May 2018. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
- ↑ Sekar, Sunitha (14 May 2019). "Tambaram Air Force base to be used by smaller aircraft soon". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
- ↑ "L&T starts work on airport terminal". The Hindu. 26 September 2018. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
- ↑ "Chennai: Satellite terminal between two runways readying for take-off | Chennai News - Times of India". Timesofindia.indiatimes.com. 10 May 2019. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
- ↑ "New Chennai Airport: Chennai's 2nd airport may come up on 3,500 acres near Mamandur | Chennai News - Times of India". Timesofindia.indiatimes.com. 8 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.