ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติกูวาลานามู

พิกัด: 03°38′32″N 98°53′7″E / 3.64222°N 98.88528°E / 3.64222; 98.88528
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู

Bandar Udara Internasional Kualanamu
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของรัฐบาลอินโดนีเซีย
ผู้ดำเนินงานอังกาซาปูราที่ 2
พื้นที่บริการเมดัน
ที่ตั้งอำเภอเดอลีเซอร์ดัง, จังหวัดสุมาตราเหนือ, ประเทศอินโดนีเซีย
เปิดใช้งาน25 กรกฎาคม 2013 (11 ปีก่อน) (2013-07-25)
ฐานการบิน
เมืองสำคัญ
ปีที่สร้างค.ศ. 2006
เหนือระดับน้ำทะเล7 เมตร / 23 ฟุต
พิกัด03°38′32″N 98°53′7″E / 3.64222°N 98.88528°E / 3.64222; 98.88528
เว็บไซต์www.kualanamu-airport.co.id
เกะาสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย
เกะาสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย
KNO/WIMMตั้งอยู่ในเกาะสุมาตรา
KNO/WIMM
KNO/WIMM
ที่ตั้งในเกาะสุมาตรา
KNO/WIMMตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
KNO/WIMM
KNO/WIMM
ที่ตั้งในประเทศอินโดนีเซีย
KNO/WIMMตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
KNO/WIMM
KNO/WIMM
ที่ตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
KNO/WIMMตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
KNO/WIMM
KNO/WIMM
ที่ตั้งในทวีปเอเชีย
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
05/23 12,303 3,750x60 เมตร ยางมะตอย
สถิติ (2017)
ผู้โดยสาร12,245,116 (เพิ่มขึ้น 18.8%)

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู (อินโดนีเซีย: Bandar Udara Internasional Kualanamu (IATA: KNOICAO: WIMM) บางครั้งย่ออย่างไม่เป็นทางการเป็น KNIA)[1] เป็นสนามบินนานาชาติในอำเภอเดอลีเซอร์ดัง จังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ทางตะวันออกจากใจกลางเมืองเมดันไปประมาณ 23 กิโลเมตร[2] สนามบินแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนท่าอากาศยานนานาชาติโปโลนียา สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และมีแผนพัฒนาให้เป็นสนามบินศูนย์กลางของเกาะสุมาตรา โดยสนามบินแห่งนี้ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา แต่ที่นี่เป็นสนามบินแห่งแรกที่มีระบบขนส่งมวลชนโดยตรงกับตัวเมือง สนามบินแห่งนี้ถูกรวมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซีย[3] (MP3EI) และเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของตลาดการบินอาเซียน (ASEAN-SAM)

สนามบินเปิดใช้งานครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 โดยย้ายเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโปโลนียา มาไว้ที่สนามบินแห่งนี้ทั้งหมด[4]

สถิติ

[แก้]
สถิติการให้บริการทั้งหมด (วันที่มาก่อน 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 เป็นสถิติของท่าอากาศยานนานาชาติโปโลนียา)[5][6][7][8]
ปี จำนวนผู้โดยสาร จำนวนเที่ยวบิน สินค้า (ตัน)
ค.ศ. 2000
1,158,382
20,632
18,881
ค.ศ. 2001
1,510,489
23,300
21,809
ค.ศ. 2002
2,090,518
29,894
23,969
ค.ศ. 2003
2,736,332
36,359
24,067
ค.ศ. 2004
3,693,290
43,865
29,320
ค.ศ. 2005
4,033,073
55,218
32,125
ค.ศ. 2006
4,597,268
50,512
32,780
ค.ศ. 2007
5,456,558
54,238
50,580
ค.ศ. 2008
4,816,852
52,737
48,843
ค.ศ. 2009
5,852,076
50,303
49,272
ค.ศ. 2010
6,616,935
58,438
35,709
ค.ศ. 2011
7,170,107
61,755
47,254
ค.ศ. 2012
7,991,914
67,966
58,813

สายการบินและจุดหมายปลายทาง

[แก้]

ผู้โดยสาร

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
การูดาอินโดนีเซีย กูนุงซีโตลี, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, ญิดดะฮ์, บันดาอาเจะฮ์, ปาดัง, ปาเล็มบัง, เปอกันบารู, อัลมะดีนะฮ์
ซาอุเดีย ญิดดะฮ์, อัลมะดีนะฮ์
ซูซีแอร์ ซีลางิต, ตาปักตูวัน, บลังเกอเจอเริน, บลังปีดี
ซูเปอร์แอร์เจ็ต จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา
ซิตีลิงก์ จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, จาการ์ตา–ฮาลิม เปอร์ดานากูซูมา, บันดาอาเจะฮ์, บันดุง, บาตัม, ปาดัง, เปอกันบารู, ยกยาการ์ตา–นานาชาติ[9]
เฉพาะฤดู: ญิดดะฮ์
บาติกแอร์ จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, จาการ์ตา–ฮาลิม เปอร์ดานากูซูมา, ญิดดะฮ์,[10] มากัซซาร์
ฟลายนาส เหมาลำ: ญิดดะฮ์
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ
ไลอ้อนแอร์ จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา, ซูราบายา, บันดุง, บาตัม, ปาดัง, ปาเล็มบัง, เปอกันบารู, ยกยาการ์ตา–นานาชาติ[11]
วิงส์แอร์ กูนุงซีโตลี, จัมบี, ซีบลกา, ซีเมอลูเวอ, ซีลางิต, ดูไม, ตาเกองน, บันดาอาเจะฮ์, ปาดัง, ปาดังซีเดิมปูวัน, เปอกันบารู, เมอลาโบะฮ์, ลกเซอมาเว
สิงคโปร์แอร์ไลน์ สิงคโปร์
อินโดนีเซียแอร์เอเชีย กรุงเทพมหานคร–ดอนเมือง, กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา,[12] ปีนัง, ยกยาการ์ตา–นานาชาติ[13]
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, ปีนัง

เกียรติยศ

[แก้]
  • ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 24 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก ด้านการให้บริการ (ASQ) กลุ่มสนามบินที่มีผู้โดยสาร 5-15 ล้านคน
  • ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 ได้รับรางวัล "สนามบินระดับ 4 ดาว" จากสกายแทร็กซ์ โดยเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศที่ได้รับรางวัลนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kompasiana.com (2014-08-25). "Kuala Namu International Airport (KNIA) vs Kuala Lumpur International Airport (KLIA2)". KOMPASIANA (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  2. "Kualanamu Airport To Medan – How to reach Medan from KNO | OffTheGate.com". Off The Gate.
  3. "Indonesia Economic Masterplan 2011-2025". Eurocham.or.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-07-12.
  4. "19 Tahun Menunggu, Akhirnya Bandara Kualanamu beroperasi" (ภาษาอินโดนีเซีย). 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-07-25.
  5. "Polonia International Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-10. สืบค้นเมื่อ 2012-12-30.
  6. "Polonia International Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-01. สืบค้นเมื่อ 2012-12-30.
  7. "Polonia International Airport". สืบค้นเมื่อ 2013-02-27.
  8. "2009 Statistics" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2013-02-27.
  9. "Starting on March 29th 2020, Garuda Indonesia Group Serves All Flights From and Toward Yogyakarta Through Yogyakarta International Airport". Garuda Indonesia. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
  10. "Batik Air outlines A330 Saudi Arabia service from Dec 2019". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2019. สืบค้นเมื่อ 27 August 2019.
  11. "Default". agent.lionair.co.id. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2017. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
  12. Liu, Jim. "Indonesia AirAsia resumes Jakarta – Medan Kualanamu in March 2020". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
  13. "AirAsia to move its operations in Yogyakarta to Yogyakarta International Airport, Kulon Progo starting 29 March 2020". AirAsia. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]