ข้ามไปเนื้อหา

ทีมรวมเฉพาะกิจในโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทีมรวมเฉพาะกิจ
ในโอลิมปิก
รหัสไอโอซีEUN
เหรียญ
อันดับ 28
ทอง
54
เงิน
44
ทองแดง
37
รวม
135
การเข้าร่วมในกีฬาฤดูร้อน
การเข้าร่วมในกีฬาฤดูหนาว
การเข้าร่วมในนามของชาติอื่น
 จักรวรรดิรัสเซีย (1900–1912)
 เอสโตเนีย (1920–1936, 1992–)
 ลัตเวีย (1924–1936, 1992–)
 ลิทัวเนีย (1924–1928, 1992–)
 สหภาพโซเวียต (1952–1988)
 อาร์มีเนีย (1994–)
 เบลารุส (1994–)
 จอร์เจีย (1994–)
 คาซัคสถาน (1994–)
 คีร์กีซสถาน (1994–)
 มอลโดวา (1994–)
 รัสเซีย (1994–2016)
 ยูเครน (1994–)
 อุซเบกิสถาน (1994–)
 อาเซอร์ไบจาน (1996–)
 ทาจิกิสถาน (1996–)
 เติร์กเมนิสถาน (1996–)
 นักกีฬาจากรัสเซีย (2018)
 อาร์โอซี (2020–2022)
 นักกีฬาเป็นกลางรายบุคคล (2024)

ทีมรวมเฉพาะกิจในโอลิมปิก (อังกฤษ: Unified Team at the Olympics) เป็นชื่อที่ใช้เรียกทีมนักกีฬาของอดีตสหภาพโซเวียต (ยกเว้นรัฐบอลติก) ในโอลิมปิกฤดูหนาว 1992 ที่เมืองอัลแบร์วิล และโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ที่บาร์เซโลนา รหัสประเทศของไอโอซีคือ EUN ตามชื่อภาษาฝรั่งเศส Équipe unifiée ทีมรวมเฉพาะกิจบางครั้งถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ทีมรวมเครือรัฐเอกราช หรือ CIS Team (ชื่อย่อของ เครือรัฐเอกราช ในฐานะส่วนหนึ่งของทีมฟุตบอลทีมชาติ CIS ที่เข้าร่วมในยูโร 1992 ของปีเดียวกัน) โดยหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) จอร์เจียจึงเข้าร่วมกับเครือรัฐเอกราช

ทีมเฉพาะกิจซึ่งรวมประเทศในกลุ่มเดียวกัน หรือเคยร่วมกลุ่มเดียวกันมาก่อน สำหรับเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ในประวัติศาสตร์โอลิมปิกสมัยใหม่ เคยปรากฏทีมรวมลักษณะนี้มาแล้วสองครั้งคือ ทีมรวมเยอรมนี (2499-2507) และ ทีมรวมเครือรัฐเอกราช (2535)

ทีมรวมชุดนี้ ใช้ธงโอลิมปิกและเพลงสรรเสริญของโอลิมปิก (Olympic Hymn) ในระหว่างการแข่งขันทั้งสอง โดยเฉพาะในพิธีเปิดการแข่งขันและพิธีมอบเหรียญรางวัล เนื่องจากแต่ละประเทศในทีม ยังไม่ได้การรับรองจากไอโอซี แม้ว่าที่บาร์เซโลนา จะมีความพยายามขอใช้ธงและเพลงชาติของแต่ละประเทศก็ตาม จนกระทั่งในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 17 ที่ลิลฮัมเมอร์ของนอร์เวย์ในปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) และโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 26 ที่แอตแลนตาของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) นักกีฬาแต่ละชาติแยกเป็นทีมอิสระของตน เพื่อเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกทั้งสองเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ ชาติในทีมรวมทั้งหมด 12 ประเทศลงแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน ขณะที่มีเพียง 6 ชาติที่เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว

ประเทศที่เข้าร่วม

[แก้]

แม้ว่าจะมีเพียงห้าประเทศในกลุ่ม EUN เท่านั้นที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1992 แต่ทั้ง 12 ประเทศต่างก็เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1992 ในโอลิมปิกฤดูหนาว 1994 และโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 ประเทศต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมรวมเริ่มเปิดตัวการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในฐานะประเทศอิสระ

ประเทศที่เข้าร่วมเป็นทีมรวม พร้อมทั้งรหัสของไอโอซี ซึ่งใช้กับโอลิมปิกในภายหลัง
ประเทศ (อดีต
สหภาพโซเวียต)
รหัสไอโอซี
(ตั้งแต่ 2534)
 อาร์มีเนีย ARM
 อาเซอร์ไบจาน AZE
 เบลารุส* BLR
 จอร์เจีย GEO
 คาซัคสถาน* KAZ
 คีร์กีเซีย** KGZ
 มอลโดวา MDA
 รัสเซีย* RUS
 ทาจิกิสถาน TJK
 เติร์กเมเนีย** TKM
 ยูเครน* UKR
 อุซเบกิสถาน* UZB

* ชาติในทีมรวมที่เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว

** คีร์กีซสถานเดินขบวนภายใต้ชื่อเดิมว่าคีร์กีเซีย และเติร์กเมนิสถานเดินขบวนภายใต้ชื่อเดิมว่าเติร์กเมเนีย

เส้นเวลาการเข้ารวมแข่งขัน

[แก้]
ปี ประเทศ
1900–1912  จักรวรรดิรัสเซีย (RU1)
1920  เอสโตเนีย (EST)
1924–1936  ลัตเวีย (LAT)  ลิทัวเนีย (LTU) เป็นส่วนหนึ่งของ  โรมาเนีย
1952–1988  สหภาพโซเวียต (URS)
1992  เอสโตเนีย (EST)  ลัตเวีย (LAT)  ลิทัวเนีย (LTU)  ทีมรวม (EUN)
1994  มอลโดวา (MDA)  รัสเซีย (RUS)  เบลารุส (BLR)  อาร์มีเนีย (ARM),  จอร์เจีย (GEO),  คาซัคสถาน (KAZ),  คีร์กีซสถาน (KGZ),  ยูเครน (UKR),  อุซเบกิสถาน (UZB)
1996–2016  อาเซอร์ไบจาน (AZE),  ทาจิกิสถาน (TJK),  เติร์กเมนิสถาน (TKM)
2018  นักกีฬาจากรัสเซีย (OAR)
2020–2022 คณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซีย (ROC)
2024–  นักกีฬาเป็นกลางรายบุคคล (AIN)

สรุปเหรียญรางวัล

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]