แสนยนิยม
แสนยนิยม (อังกฤษ: Militarism) เป็นความเชื่อหรือความปรารถนาของรัฐบาลหรือประชาชนว่ารัฐควรรักษาขีดความสามารถทางการทหารที่เข้มแข็ง และใช้ศักยภาพนั้นอย่างแข็งกร้าวเพื่อขยายผลประโยชน์และ/หรือค่านิยมของชาติ[1] นอกจากนี้ คำนี้ยังอาจหมายความถึงการยกย่องเชิดชูกองทัพและอุดมคติของชนชั้นทหารมืออาชีพ และ "ความเหนือกว่าของกองทัพในการบริหารงานหรือนโยบายของรัฐ"[2] (ดูเพิ่มที่: เสนาธิปไตย และ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง)
แสนยนิยมเป็นองค์ประกอบสำคัญของอุดมการณ์จักรวรรดินิยมหรือการขยายอำนาจของหลายประเทศตลอดประวัติศาสตร์ ตัวอย่างที่โดดเด่นในสมัยโบราณได้แก่ จักรวรรดิอัสซีเรีย นครรัฐสปาร์ตาของกรีก จักรวรรดิโรมัน ชนชาติแอซเท็ก และจักรวรรดิมองโกล ตัวอย่างจากยุคปัจจุบัน ได้แก่ จักรวรรดิออตโตมัน ราชอาณาจักรปรัสเซีย/จักรวรรดิเยอรมัน/นาซีเยอรมนี จักรวรรดิบริติช ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง ราชอาณาจักรซูลู จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิอิตาลีภายใต้เบนิโต มุสโสลินี อิสราเอล เกาหลีเหนือ และจักรวรรดิรัสเซีย/สหภาพโซเวียต/รัสเซีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ New Oxford American Dictionary (2007)
- ↑ "Militarism". The Free Dictionary.