ข้ามไปเนื้อหา

หมู่ถ้ำเอลิฟันตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ถ้ำเอลิแฟนตา)
ถ้ำเอลิแฟนตา *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
พระตรีมูรติจำหลักสูง 6 เมตร เทวรูปองค์ประทานของวัด
พิกัด18°57′49″N 72°55′53″E / 18.96353606039862°N 72.93137752883608°E / 18.96353606039862; 72.93137752883608
ประเทศมุมไบ เกาะเอลิฟันตา
รัฐมหาราษฏระ
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (iii)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
หมู่ถ้ำเอลิฟันตาตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
หมู่ถ้ำเอลิฟันตา
ที่ตั้งของหมู่ถ้ำเอลิแฟนตา ในประเทศอินเดีย
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

หมู่ถ้ำเอลิฟันตา (อังกฤษ: Elephanta Caves) เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูที่แกะสลักเข้าไปในถ้ำ ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะเป็นหลัก[1][2][3] ถ้ำเหล่านี้ตั้งอยู่บนเกาะเอลิฟันตา หรือ เกาะการปุรี (แปลว่า เมืองแห่งถ้ำ) ในอ่าวมุมไบ ห่างจากนครมุมไบไป 10 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก 2 กิโลเมตรจากท่าเรือชวาหัรลาล เนห์รู หมู่โบราณสถานประกอบด้วยโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะ 5 แห่ง และซากของสถูปพุทธบางส่วน เชื่อว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่ราว 2 ศตวรรษก่อนคริสต์กาล[4][2][5][6][7]

ภายในหมู่ถ้ำเป็นรูปปั้นแกะสลักเข้าไปในหิน แสดงเทพเจ้าฮินดูและพุทธศาสนบุคคล[5][8][9] แกะสลักเข้าไปในหินบะซอลต์ เทวรูปส่วนใหญ่ถูกทำลาย ตัดเศียร สลักพระพักตร์ออกไปหมดแล้ว[10] รูปปั้นสำคัญหลักของวัดเป็นรูปจำหลักเข้าไปในหินใหญ่ก้อนเดียว (โมโนลิธิก; monolithic) ความสูง 20 ฟุต (6.1 เมตร) แสดงสทาศิวตรีมูรติ (พระสทาศิวะสามหน้า), ศิวนาฏราช (พระศิวะในฐานะเจ้าแห่งการร่ายรำ) และ โยคีศวร (พระศิวะในฐานะจ้าวแห่งโยคะ)[2][11][12]

ชื่อ เอเลฟันตา (Elephanta) มาจากคำว่า เอเลฟันเต (Elefante) ซึ่งอาณานิคมโปรตุเกสเป็นผู้ตั้งชื่อให้หลังพบรูปปั้นช้างเป็นรูปปั้นแรกบนเกาะ ถ้ำหลัก (ถ้ำที่ 1 หรือถ้ำใหญ่) เป็นสถานที่สักการะของชาวฮินดูจนกระทั่งกองทัพโปรตุเกสเข้ายึดครอง ตั้งฐานทัพ และทำลายถ้ำและหินจำหลักบนเกาะ ส่งผลให้เทวสถานบนเกาะหมดสถานะการเป็นศาสนสถาน[2] ความพยายามครั้งแรกในการป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมต่อถ้ำเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1909 โดยบริติชราช[13] ถ้ำได้รับการบูรณะครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970[2] ก่อนที่จะได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในปี ค.ศ. 1987[8][9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Trudy Ring; Robert M. Salkin; Sharon La Boda (1994). "Elephanta Island". International Dictionary of Historic Places: Asia and Oceania. Taylor & Francis. pp. 252–5. ISBN 978-1-884964-04-6.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Elephanta Island, Encyclopedia Britannica
  3. Carmel Berkson; Wendy Doniger; George Michell (1999). Elephanta: The Cave of Śiva. Princeton University Press (Motilal Banarsidass, Reprint). pp. 3–5. ISBN 978-81-208-1284-0.
  4. "There are remains of a brick built Buddhist stupa nearby which may belong to circa second century BC. Around it are seven smaller stupas, which may be votive." in Dhavalikar, M. K. (Madhukar Keshav) (2007). Elephanta. Archaeological Survey of India. p. 75.
  5. 5.0 5.1 James Burgess (some additions by Indraji) (1872). "Elephanta". Gazetter Government of Maharashtra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2009. สืบค้นเมื่อ 11 February 2010.
  6. Brockman, Norbert (2011). Encyclopedia of Sacred Places (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. p. 153. ISBN 9781598846546.
  7. Brunn, Stanley D. (2015). The Changing World Religion Map: Sacred Places, Identities, Practices and Politics (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 514. ISBN 9789401793766.
  8. 8.0 8.1 "Elephanta Caves" (pdf). Unesco. สืบค้นเมื่อ 2010-02-10.
  9. 9.0 9.1 "Elephanta Caves". Works Heritage: Unesco.org. สืบค้นเมื่อ 2010-02-10.
  10. Stella Kramrisch (1988). The Presence of Siva. Motilal Banarsidass. pp. 443–445. ISBN 978-81-208-0491-3.
  11. Constance Jones; James D. Ryan (2006). Encyclopedia of Hinduism. Infobase. pp. 148–149. ISBN 978-0-8160-7564-5.
  12. Stella Kramrisch (1988). The Presence of Siva. Motilal Banarsidass. pp. 443–459. ISBN 978-81-208-0491-3.
  13. Charles Dillard Collins (1988). The Iconography and Ritual of Siva at Elephanta: On Life, Illumination, and Being. State University of New York Press. pp. 1–2, 20–27. ISBN 978-0-88706-773-0.