ตำรวจพิทักษ์ชายแดน
ตำรวจพิทักษ์ชายแดน | |
---|---|
ธงตำรวจพิทักษ์ชายแดน | |
ประเทศ | พม่า |
เหล่า | แผนกพิเศษของกองกำลังตำรวจพม่า |
รูปแบบ | หน่วยยามชายแดน |
บทบาท | การควบคุมชายแดน การรบระยะประชิด การปราบปรามการก่อกบฏ การควบคุมฝูงชน การป้องกันกำลังรบ ข่าวกรองทางบุคคล ความมั่นคงภายใน การสงครามในป่า การบังคับใช้กฎหมาย การสงครามภูเขา การลาดตระเวน (ยุทธวิธีตรวจตรา) การตีโฉบฉวย การลาดตระเวน ฉากกำบัง จุดตรวจรักษาความมั่นคง การติดตาม การสงครามในเมือง |
ขึ้นกับ | กองกำลังตำรวจพม่า |
สมญา | BGP |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พล.จ. มยิ้น โท[1] |
เครื่องหมายสังกัด | |
ตราสัญลักษณ์ |
ตำรวจพิทักษ์ชายแดน (อังกฤษ: Border Guard Police: BGP; พม่า: နယ်ခြားစောင့်ရဲတပ်ဖွဲ့) เป็นหน่วยงานหนึ่งของกองกำลังตำรวจพม่าที่เชี่ยวชาญด้านการควบคุมชายแดน การต่อต้านการก่อความไม่สงบ, การควบคุมฝูงชน และจุดตรวจรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ก่อความไม่สงบ รวบรวมข่าวกรองในพื้นที่เพื่อต่อต้านการก่อความไม่สงบและต่อต้านผู้กระทำผิดในพื้นที่ชายแดน, ความมั่นคงภายใน, การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ก่อความไม่สงบ และปกป้องทรัพย์สินของหน่วยงานในพื้นที่เสี่ยง ตำรวจพิทักษ์ชายแดนปฏิบัติการทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ และปฏิบัติการเป็นพิเศษตามแนวชายแดนบังกลาเทศ–พม่า เนื่องจากการอพยพของชาวโรฮีนจาอย่างต่อเนื่องเพื่อหลบหนีความรุนแรงทางนิกายศาสนาในพม่า[2] นอกเหนือจากการรักษาความมั่นคงบริเวณชายแดนแล้ว ตำรวจพิทักษ์ชายแดนยังรับผิดชอบในการดูแลจุดตรวจและบันทึกการเคลื่อนไหวของชาวโรฮีนจาภายในรัฐยะไข่อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบของกองทัพปลดปล่อยโรฮีนจาแห่งอาระกัน (ARSA) ได้โจมตีฐานที่มั่นของตำรวจพิทักษ์ชายแดนตามแนวชายแดนบังกลาเทศ–พม่าหลายครั้ง เพื่อแก้แค้นที่ตำรวจพิทักษ์ชายแดนปฏิบัติอย่างโหดร้ายต่อชาวโรฮีนจา[3][4][5][6] ในปี พ.ศ. 2567 ตำรวจพิทักษ์ชายแดน (BGP) อย่างน้อย 264 นายและทหารบกพม่าหลบหนีไปยังบังกลาเทศ ท่ามกลางรายงานการปะทะด้วยอาวุธปืนกันอย่างหนักระหว่างกองทหารของรัฐบาลและกองทัพยะไข่ในสงครามกลางเมืองพม่า[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Maungdaw Border Guard Police Chief Replaced". The Irrawaddy. 4 October 2017. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ Aziz, Abdul (September 25, 2017). "Myanmar reinforces barbed wire fence at border". Dhaka Tribune. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ Lone, Wa; Naing, Shoon (2017). "At least 71 killed in Myanmar as Rohingya insurgents stage major attack". Reuters. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ "Myanmar: Attacks on police, border guards kill at least 12". Business Insider (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ Cochrane, Liam (21 November 2017). "Myanmar keeping Rohingyas 'in dehumanising system of apartheid', Amnesty says". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ "Machetes vs machine guns: Rohingya militants outgunned in Myanmar". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 7 September 2017. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ "BGB: 264 members of Myanmar border, security forces taking shelter in Bangladesh". Dhaka Tribube. 6 February 2024. สืบค้นเมื่อ 6 February 2024.