กองกำลังพิทักษ์ชายแดน
กองกำลังพิทักษ์ชายแดน | |
---|---|
ตราอาร์มของกองกำลังพิทักษ์ชายแดน | |
ประจำการ | เมษายน 2552 |
ประเทศ | พม่า |
เหล่า | กองทัพบกพม่า |
รูปแบบ | หน่วยยามชายแดน ทหารราบเบา |
บทบาท | การควบคุมชายแดน การปราบปรามการก่อกบฏ การต่อต้านการข่าวกรอง ผู้ตรวจการณ์หน้า การสงครามกองโจร ข่าวกรองทางบุคคล การยิงเล็งจำลอง ความมั่นคงภายใน การสงครามไม่ตามแบบ การสงครามในป่า การสงครามภูเขา การลาดตระเวน (ยุทธวิธีตรวจตรา) การตีโฉบฉวย การลาดตระเวน ฉากกำบัง การติดตาม |
กำลังรบ | 8,000 (กะเหรี่ยง กะยีน BGF) 4,000 (กะเหรี่ยง กะยัน BGF) 5,000 (กะเหรี่ยงปะโอ BGF) 2,000 (กะชีน KDA+NDA-K) 1,000 (โกก้าง BGF) = 20,000 (รวม) |
ขึ้นกับ | กองทัพพม่า |
สมญา | BGF |
ผู้บังคับบัญชา | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | พลเอก เมียะ ทุน อู |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า | พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ |
กองบัญชาการทหารภูมิภาค | พลเอกอีกหลายนาย รวมทั้ง ซอ จิต ทู |
เครื่องหมายสังกัด | |
ธงกองกำลังพิทักษ์ชายแดน |
กองกำลังพิทักษ์ชายแดน[1] (อังกฤษ: Border Guard Force: BGF พม่า: နယ်ခြားစောင့်တပ်) เป็นหน่วยรองของกองทัพพม่า (Tatmadaw) ซึ่งประกอบด้วยอดีตกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในประเทศพม่าภายใต้การบังคับการของกองบัญชาการภูมิภาคทหาร รัฐบาลได้ประกาศแผนการจัดตั้งกองกำลังพิทักษ์ชายแดนในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 ด้วยความหวังว่าจะยุติความเป็นปรปักษ์กันระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบและนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2553
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2551 รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบต้องเปลี่ยนผ่านเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ก่อนที่รัฐบาลจะตกลงเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพ[2] หลังจากรัฐบาลประกาศเรื่องกองกำลังพิทักษ์ชายแดนแล้ว รัฐบาลได้กำหนดเส้นตายสำหรับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทุกกลุ่มในการเปลี่ยนผ่านเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดนและข้อตกลงหยุดยิงทั้งหมด ก่อนที่เส้นตายจะมีสถานะเป็น "โมฆะ" ซึ่งเดิมรัฐบาลได้กำหนดเส้นตายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 แต่เลื่อนออกไปห้าครั้งจนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[3][4]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 พลโท เย ไมนต์ ได้นำคณะผู้ติดตามของรัฐบาลไปพบกับกลุ่มก่อความไม่สงบโกก้าง, ฉาน และว้า เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการสร้าง "ความมั่นคงโดยรวม" ที่ก่อตั้งโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกองทัพพม่า ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การก่อตั้งกองกำลังพิทักษ์ชายแดน[5] ในปี พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 4 กลุ่ม ได้แก่ กองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย, กองทัพป้องกันกะชีน (กองพลน้อยที่ 4 ของกองทัพเอกราชกะชีน KIA), กองทัพประชาธิปไตยใหม่ - กะชีน (NDA-K) และองค์กร/กองทัพแห่งชาติปะโอ (PNO/A) ได้ยอมรับข้อกำหนดของแผนการเปลี่ยนผ่านและเปลี่ยนไปเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF)[6]
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ทหารพม่าและกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ที่เพิ่งเปลี่ยนผ่านได้รวมตัวกันนอกเมืองเล่าไก่, โกก้าง เพื่อเตรียมความพร้อมและพยายามที่จะยึดเมืองคืนจากกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) หลังจากที่กลุ่มดังกล่าวปฏิเสธที่จะแปรสภาพเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน[7][8]
รัฐบาลเปลี่ยนจุดยืนเชิงรุกต่อกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) และการหยุดยิงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เมื่อประธานาธิบดีเต้นเซนของพม่าในขณะนั้นให้คำมั่นที่จะ "ทำให้ประเด็นทางชาติพันธุ์เป็นเรื่องสำคัญระดับชาติ" โดยเสนอการเจรจาอย่างเปิดเผยระหว่างรัฐบาลและกลุ่มก่อความไม่สงบทั้งหมด โดยไม่มีข้อกำหนดของการแปรสภาพเป็นกองกำลังพิทักษชายแดน[3]
ในปี พ.ศ. 2553 ผู้มีอำนาจบัญชาการของกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) ซอ จิต ทู ยอมรับข้อเรียกร้องของรัฐบาลพม่าที่จะเปลี่ยนกองกำลังตนเองเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน ภายใต้การบัญชาการของกองทัพพม่าและตนทำหน้าที่เป็นผู้นำหน่วย[9]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 กองทัพพม่ากดดัน ซอ จิต ทู และเจ้าหน้าที่ระดับสูงอื่น ๆ รวมถึง พันตรี ซอ เมา ทอน และ พันตรี ซอว์ ติน วิน ให้ลาออกจากกองกำลังพิทักษ์ชายแดน พันตรี ซอ เมา ทอน แห่งกองพันกองกำลังพิทักษ์ชายแดนที่ 1022 ได้ลาออกเมื่อวันที่ 8 มกราคม พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชาจำนวน 13 นาย นายทหาร 77 นาย และกำลังจำนวนกองพัน 13 กองพัน จาก 4 กรมทหารได้ลงนามร่วมกันและยื่นใบลาออก[10] ท่ามกลางความขัดแย้งและใต้แรงกดดัน สมาชิกกองกำลังพิทักษ์ชายแดนอย่างน้อย 7,000 นาย ลาออกเพื่อประท้วงการขับไล่ผู้นำระดับสูงของตน อย่างไรก็ตาม ซอ ปฏิเสธที่จะเกษียณ[11]
เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2567 ซอ จิต ทู กล่าวกับสื่อว่าเขาได้หารือกับรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด โซ วิน ว่า กองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ไม่ประสงค์ที่จะรับเงินและสิ่งของจากกองทัพ พวกเขาตั้งเป้าที่จะยืนหยัดอย่างอิสระ และเขายังอ้างว่าพวกเขาไม่ต้องการต่อสู้กับเพื่อนชาวกะเหรี่ยง[12][13] เมื่อวันที่ 6 มีนาคม กองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยง (Karen BGF) ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อกองกำลังของตนเองเป็น "กองทัพแห่งชาติกะเหรี่ยง" ในช่วงปลายเดือน[14]
โครงสร้าง
[แก้]ไม่มีแนวปฏิบัติอย่างเป็นทางการของรัฐบาลเกี่ยวกับกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) แต่มีการระบุในรัฐธรรมนูญของพม่าที่อ้างอิงถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองกำลังพิทักษ์ชายแดน ข้อความต่อไปนี้เป็นกฎโดยพฤตินัยที่กำหนดโดยกองทัพพม่าเมื่อมีการจัดตั้งกองกำลังพิทักษ์ชายแดน:[3][5]
- กองกำลังพิทักษ์ชายแดนสามารถปฏิบัติการได้เฉพาะในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเท่านั้น
- สมาชิกของกองกำลังพิทักษ์ชายแดนทุกนายจะได้รับเงินเดือนเท่ากันกับทหารประจำการในกองทัพพม่า
- กองกำลังพิทักษ์ชายแดนแต่ละแห่งจะต้องมีกำลังพล 326 นาย โดย 30 นายในจำนวนนี้จะเป็นทหารประจำการในกองทัพพม่า
- ตำแหน่งทางการบริหารที่สำคัญจะแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งโดยทหารพม่าเท่านั้น
รายชื่อกองกำลังพิทักษ์ชายแดน
[แก้]กองกำลังพิทักษ์ชายแดนในปัจจุบัน
[แก้]ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปตามที่ระบุในมูลนิธิเอเชีย[15]
ชื่อกลุ่ม | ปีก่อนเปลี่ยนผ่าน | วันที่เปลี่ยนผ่าน | กองบัญชาการ | อำเภอ | หมายเลขหน่วย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
กองทัพประชาธิปไตยใหม่ - กะชีน (NDA-K) | พ.ศ. 2532-2552 | 8 พฤศจิกายน 2552 | ปังวอ | 1001-1003 | มีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มคอมมิวนิสต์ขององค์การเอกราชกะชีน | |
กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) (ฝ่าย BGF) | พ.ศ. 2532-2552 | 4 ธันวาคม 2552 | เล่าไก่ | 1006 | มีต้นกำเนิดมาจากการกบฏต่อ MNDAA หลังเหตุการณ์โกก้างเมื่อปี 2552 | |
กองทัพป้องกันกะชีน (KDA) | พ.ศ. 2533-2553 | มกราคม 2553 | กวางก้า | M12-M19 | มีต้นกำเนิดมาจากกองพลน้อยที่ 4 แห่งกองทัพเอกราชกะชีน | |
กองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (DKBA) | พ.ศ. 2537-2553 | 18-21 สิงหาคม 2553 | เมียวดี | 1011-1022 |
| |
แนวร่วมประชาธิปไตยลาหู่/กองกำลังประชาธิปไตยลาหู่ | พ.ศ. ?-2553 | 30 มีนาคม 2553/18 พฤษภาคม 2553 | เมืองต่วน | 1007-1009 | BGF-1008 ประกอบกำลังจากกองกำลังติดอาวุธ Jakuni ร่วมกับ LDF | |
กองกำลังสันติภาพกะเหรี่ยง (KPF)[18] | พ.ศ. 2540-2553 | 21-23 สิงหาคม 2553 | ก่อกะเระ | 1023 | มีต้นกำเนิดมาจากกองพันของกองทัพปลดปล่อยชาติกะเหรี่ยง |
อดีตกองกำลังพิทักษ์ชายแดน
[แก้]ชื่อกลุ่ม | ปีก่อนเปลี่ยนผ่าน | วันที่เปลี่ยนผ่าน | วันที่ถอนตัว | กองบัญชาการ | อำเภอ | อดีตหมายเลขหน่วย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกระเหรี่ยงแดง (KNPLF) | 2521-2552, 2566-ปัจจุบัน | 9 พฤศจิกายน 2552 | 13 มิถุนายน 2566 | อำเภอลอยกอ | 1004-1005 | มีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มคอมมิวนิสต์ของกองทัพกะเหรี่ยงแดง |
เครื่องหมายยศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พม่า: รัฐบาลทหารเมียนมาใกล้ถึงจุดจบหรือไม่ หลังเสียเมียวดี". BBC News ไทย. 2024-04-07.
- ↑ "Border guard plan could fuel ethnic conflict". IRIN. 29 November 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Border Guard Force Scheme". www.mmpeacemonitor.org. Myanmar Peace Monitor. 11 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2016. สืบค้นเมื่อ 8 May 2016.
- ↑ McCartan, Brian (30 April 2010). "Myanmar ceasefires on a tripwire". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2010. สืบค้นเมื่อ 21 March 2012.
- ↑ 5.0 5.1 Wai Moe (31 August 2009). "Border Guard Force Plan Leads to End of Ceasefire". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 March 2012.
- ↑ "NDF Report on Ceasefire Groups Resisting SPDC's Pressure and Instability" (PDF). National Democratic Front (Burma). Mae Sot, Thailand. 7 March 2010. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 March 2012.
- ↑ "Tension sparks people to flee into China". Shan Herald. 24 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.
- ↑ Dittmer, Lowell (30 September 2010). Burma Or Myanmar? the Struggle for National Identity. World Scientific. ISBN 9789814313643.
- ↑ "Kayin State BGF officers and others collectively resign". Eleven Media Group (ภาษาอังกฤษ). 16 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2022. สืบค้นเมื่อ 12 September 2023.
- ↑ "BGF ထိပ်သီးခေါင်းဆောင်များ နုတ်ထွက်ခြင်းမပြုရန် တပ်မတော်တိုက်တွန်း". Myanmar NOW (ภาษาพม่า). 15 January 2021.
- ↑ "ယူနီဖောင်းချွတ်ရန် အစီအစဉ် မရှိသေးဟု ဗိုလ်မှူးကြီးစောချစ်သူပြော". Mizzima (ภาษาพม่า). 12 January 2021.
- ↑ "ကရင်နယ်ခြားစောင့်တပ် သီးခြားရပ်တည်ရေး ဒုတပ်ချုပ်နဲ့ ဗိုလ်မှူးကြီးစောချစ်သူဆွေးနွေး". Radio Free Asia (ภาษาพม่า).
- ↑ "ဒုတိယ ဗိုလ်ချုပ်မှူးကြီးစိုးဝင်း ကရင်ပြည်နယ်ကို နေ့ချင်းပြန်သွားရောက်". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า). 23 January 2024.
- ↑ "Karen BGF to rename itself 'Karen National Army'". Myanmar Now (ภาษาอังกฤษ). 6 March 2024.
- ↑ "Militias in Myanmar" (PDF). Asia Foundation (ภาษาอังกฤษ). July 2016.
- ↑ "Kayin Border Guard Force cuts ties with Myanmar junta". Radio Free Asia. 25 January 2024.
- ↑ "Karen BGF to rename itself 'Karen National Army'". Myanmar Now. 6 March 2024.
- ↑ "DKBA CONTINUE TO FORCIBLY RECRUIT VILLAGERS WHILE THE KAREN PEACE FORCE JOINS THE BURMA ARMY BORDER GUARD FORCE". Free Burma Rangers (ภาษาอังกฤษ). 28 September 2010.
- ↑ https://acleddata.com/dashboard/#/dashboard