ตำบลหัวทุ่ง (อำเภอลอง)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตำบลหัวทุ่ง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Hua Thung |
วัดไผ่ล้อม | |
พิกัด: 18°4′0.8″N 99°47′33.4″E / 18.066889°N 99.792611°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | แพร่ |
อำเภอ | ลอง |
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง] | |
• ทั้งหมด | 64.14 ตร.กม. (24.76 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562)[ต้องการอ้างอิง] | |
• ทั้งหมด | 5,977 คน |
• ความหนาแน่น | 93 คน/ตร.กม. (240 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 54150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 540306 |
เว็บไซต์ | www |
หัวทุ่ง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีประชากรทั้งสิ้น 5,977 คน ประกอบด้วย ชาย 2,937 คน, หญิง 3,040 คน มีเนื้อที่ประมาณ 64.14 ตารางกิโลเมตร ตำบลหัวทุ่งเป็นสังคมชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลตำบลหัวทุ่งคือ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวทุ่ง
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้ต้องเรียบเรียงภาษาใหม่ หรือต้องพิสูจน์อักษร |
จากการศึกษาตำนานวัดศรีดอนคำ วัดไฮสร้อย พงศาวดารฉบับของล้านนาเชียงแสน และการเล่าสืบต่อกันมาจึงแน่ใจว่า เขตตำบลหัวทุ่ง โดยเฉพาะบ้านแม่ลองเป็นเส้นทางเดินทัพผ่านกิ่วฤๅษีที่จะไปเหนือหรือลงใต้สู่เมืองหลวงสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพ ฯ ผู้คนที่กวาดต้อนทั้งชาวลานนา แม้กระทั่งชาวพม่าเชื้อสายกระเหรี่ยง ก็มาตั้งถิ่นฐาน เช่น บ้านค้างตะนะ บ้านแม่รัง บ้านแม่ลอง บ้านนาตุ้ม (2 หมู่) บ้านนาอุ่นน่อง บ้านหัวทุ่ง (เดิม คือบ้านนาหมาโก้ง) บ้านแม่จอก บ้านเค็ม บ้านไผ่ล้อม และบ้านนามน รวม 11 หมู่บ้าน รวมเป็นตำบล เมื่อปี 2540 กำนันคนแรก ชื่อแคว่น วงศ์ภีระ เป็นคนจากลำปาง กำนันคน ที่ 2 ชื่อแคว่นอ้าย บ้านนามน คนที่ 3 ชื่อ กำนันปัญญา จำปาแก้วได้รับพระราชทานนาม ว่า “ ขุนนิคม ศิระเขต” เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงในปี 2475 ซึ่งอำเภอลองก็ได้เปลี่ยน จากอำเภอเมืองลองจังหวัด ลำปาง มาเป็นอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ตั้งแต่บัดนี้ กำนันคนที่ 4 คือ แคว่นปั๋น คือ นายอินปั๋น เอ้ยวัน ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลเป็นกำนันอินปั๋นศิริสาน สุวรรณ กำนันคนที่ 5 คือกำนันอ้าย สุภาแก้วกำนัน คนที่ 6 คือกำนันเขียน ต่อตัน ช่วงนี้มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นเป็น 17 หมู่บ้านการบริหารงาน ในรูปแบบสภาตำบลประสบปัญหายุ่งยาก งบประมาณไม่เพียงพอที่จะกระจายลงสู่หมู่ที่มีจำนวนมาก จึงคิดแยกเป็น 2 ในรูปแบบสภา ตำบลประสบปัญหายุ่งยาก งบประมาณไม่เพียงพอที่จะกระจายลงสู่หมู่ที่มีจำนวนมาก จึงคิดแยกเป็น 2 ตำบล โดยพิจารณาหารือตกลง แยกออกไป 8 หมู่บ้านเป็น ตำบลบ่อเหล็กลอง ตั้งแต่ บ้านนาตุ้ม 2 หมู่ บ้านทุ่งเจริญ บ้านแม่ลอง บ้านแม่แขม - หนองแดง บ้านค้างตะนะ บ้านต้นม่วง และบ้านแม่รัง ซึ่งการแยกตำบลสำเร็จเมื่อตำบล ได้กำนันคนที่ 7 คือนายสมทรง เป็กกันใจ ปี 2532
ในการบริหารรูปแบบองค์กรท้องถิ่น สภาตำบลหัวทุ่งได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหัวทุ่ง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[1]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ตำบลหัวทุ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอลอง ห่างจากที่ว่าการอำเภอลองประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 64.14 ตารางกิโลเมตร หรือ 40,084.5 ไร่
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่ทะ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลปากกาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลห้วยอ้อ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ่อเหล็กลอง
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบน้ำท่วมไม่ถึง และลาดต่ำลงไป ด้านทิศใต้เป็นที่นา ลำเหมือง ลำห้วยด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ เป็นที่ดอน ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ พื้นดินค่อน ข้างขาดน้ำ
ประชากร
[แก้]ปัจจุบัน ตำบลหัวทุ่งแบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ | หมู่บ้าน | เพศ (ชาย) | เพศ (หญิง) | รวม | จำนวนครัวเรือน |
---|---|---|---|---|---|
1 | บ้านไผ่ล้อม | 398 | 394 | 792 | 247 |
2 | บ้านนามน | 430 | 454 | 884 | 291 |
3 | บ้านหัวทุ่ง | 251 | 290 | 541 | 148 |
4 | บ้านแม่จอก | 349 | 348 | 697 | 179 |
5 | บ้านเค็ม | 337 | 327 | 664 | 170 |
6 | บ้านนาอุ่นน่อง | 302 | 304 | 606 | 178 |
7 | บ้านนาอุ่นน่อง | 221 | 240 | 461 | 148 |
8 | บ้านเชตวัน | 301 | 323 | 624 | 196 |
9 | บ้านไผ่ล้อมพัฒนา | 348 | 360 | 708 | 195 |
รวม | 2,937 | 3,040 | 5,977 | 1,752 |
เศรษฐกิจ
[แก้]อาชีพหลักทางการเกษตร ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวนส้ม และเลี้ยงสัตว์ อาชีพรองลงมา ได้แก่ รับจ้าง ค้าขาย ก่อสร้าง ทอผ้า รับราชการ
- ผลิตภัณฑ์ในตำบล
- ผ้าตีนจกโบราณ
- พุทรานมสด
- ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
- ผ้าฝ้ายทอมือ
- พรมเช็ดเท้า
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดเชตวัน
- วัดไผ่ล้อม
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหัวทุ่ง
- พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน-โบราณวัตถุ
- ศูนย์เรียนรู้ผ้าจกเมืองลอง
- โรงเรียนเชตวันวิทยา
- โรงเรียนบ้านไผ่ล้อม
- ศูนย์นมแม่
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวทุ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข้อมูลตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง แพร่ เก็บถาวร 2020-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2562.