เทศบาลตำบลช่อแฮ
เทศบาลตำบลช่อแฮ | |
---|---|
พิกัด: 18°05′20.5″N 100°12′43.3″E / 18.089028°N 100.212028°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | แพร่ |
อำเภอ | ลอง |
จัดตั้ง |
|
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 174.01 ตร.กม. (67.19 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565)[1] | |
• ทั้งหมด | 8,692 คน |
• ความหนาแน่น | 49.95 คน/ตร.กม. (129.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05540310 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 209 หมู่ที่ 3 ถนนช่อแฮ - นาตอง ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลตำบลช่อแฮ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ 2 และพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ 3 ตำบลป่าแดง รวมทั้งพื้นที่ทั้งหมดของตำบลช่อแฮ ในอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลช่อแฮที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2510[2] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2565 เขตเทศบาลมีประชากรทั้งหมด 8,692 คน โดยแบ่งประชากรเป็นเขตตำบลป่าแดง 2,089 คน และเขตตำบลช่อแฮ 6,603 คน
ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภาตำบลช่อแฮ รวมเข้ากับพื้นที่เทศบาลตำบลช่อแฮ[4] เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน ทำให้เทศบาลตำบลช่อแฮครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่อแฮทั้งหมด
พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณทิศตะวันออกของอำเภอเมืองแพร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ประมาณ 10.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 551 กิโลเมตรตามทางรถยนต์ มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 174.01 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็น 108,756.25 ไร่ เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565[ลิงก์เสีย] โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (125 ง): 3311–3312. วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-05-15 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 13–15. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547