ฤ
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ตัวรึ)
อักษรไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฤ | |||||||
รูปพยัญชนะ | |||||||
ก | ข | ฃ | ค | ฅ | ฆ | ง | จ |
ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ |
ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ |
น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ |
ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส |
ห | ฬ | อ | ฮ | ||||
รูปสระ | |||||||
ะ | –ั | า | –ํ | –ิ | ' | " | |
–ุ | –ู | เ | โ | ใ | ไ | –็ | |
อ | ว | ย | ฤ | ฤๅ | ฦ | ฦๅ | |
รูปวรรณยุกต์ | |||||||
–่ | –้ | –๊ | –๋ | ||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
–์ | –๎ | –ฺ | |||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
ฯ | ฯลฯ | ๆ | |||||
๏ | ๚ | ๛ | ┼ |
ฤ หรือ ตัวรึ สามารถใช้เป็นสระลอย ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง ร และก่อนหน้า ฤๅ, ล อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต ऋ/ृ เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "ริ"
เมื่อ ฤ ถูกประสมเข้ากับตัวอักษรต่าง ๆ แล้วประกอบเป็นคำในภาษาไทย ฤ จะออกเสียงได้ดังนี้
- ถ้า ฤ เป็นสระลอย คือไม่มีพยัญชนะต้น อ่านได้ทั้ง รึ, ริ และ เรอ เช่น ฤดู (รึ-ดู) ฤทธิ์ (ริด) ฤกษ์ (เริก) สำหรับคำว่าฤกษ์ เป็นเพียงคำเดียวที่ออกเสียง เรอ
- ฤ จะออกเสียงเป็น รึ เมื่อประสมกับพยัญชนะต้นต่อไปนี้ ค น พ ม ห (บทท่อง: คืนนี้พี่มาหา-รึ)
- เช่น คฤหาสน์ (คะ-รึ-หาด) นฤมล (นะ-รึ-มน) พฤหัสบดี (พะ-รึ-หัด-สะ-บอ-ดี) มฤค (มะ-รึก-คะ) หฤทัย (หะ-รึ-ทัย)
- ยกเว้น หฤษฎ์ (หะ-ริด) นฤตย์ (นะ-ริด)
- ฤ จะออกเสียงเป็น ริ เมื่อประสมกับพยัญชนะต้นต่อไปนี้ ก ต ท ป ศ ส (บทท่อง: ไก่ตกท่อเป็ดสุดเศร้า-ริ)
- เช่น กฤษฎา (กฺริด-สะ-ดา) ตฤณมัย (ตฺริน-นะ-มัย) ทฤษฎี (ทฺริด-สะ-ดี) ปฤษฎาง (ปฺริด-สะ-ดาง) ศฤงคาร (สะ-หฺริง-คาน) สฤษดิ์ (สะ-หฺริด)
- ฤ จะออกเสียงเป็น เรอ (เริ+ตัวสะกด) สำหรับคำว่า ฤกษ์
- บางคำออกเสียงได้ทั้ง ริ และ รึ ได้แก่ อมฤต (อะ-มะ-ริด/อะ-มะ-รึด)
- บนแป้นพิมพ์ ตัวอักษร ฤ จะอยู่แป้นเดียวกับ ฟ