ข้ามไปเนื้อหา

ดันเจียนซีจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดันเจียนซีจ
ภาพกล่องวิดีโอเกมอย่างเป็นทางการของดันเจียนซีจ
ผู้พัฒนาแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์
ผู้จัดจำหน่าย
อำนวยการผลิตเจคอบ แม็กแมน
ออกแบบคริส เทย์เลอร์
เขียนบทนีล ฮอลฟอร์ด
แต่งเพลงเจเรมี โซล
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
  • 5 เมษายน ค.ศ. 2002 (วินโดวส์)
  • 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 (แมคโอเอสเท็น)
แนวแอ็กชันเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ดันเจียนซีจ (อังกฤษ: Dungeon Siege) เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่พัฒนาโดยแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ ซึ่งไมโครซอฟท์ได้จัดจำหน่ายบนแพลตฟอร์มไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2002 และเดสทิเนียร์ได้จัดจำหน่ายบนแพลตฟอร์มแมคโอเอสเท็นในปีถัดไป โดยมีฉากอยู่ในอาณาจักรยุคกลางสมมติ ชื่อ เอห์บ เกมนี้ยังจัดเป็นแนวแฟนตาซีระดับสูงที่เดินเรื่องตามชาวไร่หนุ่มคนหนึ่งและเพื่อนร่วมทางขณะที่พวกเขาออกเดินทางเพื่อกำจัดกองกำลังที่รุกราน ในตอนแรก กลุ่มตัวเอกเพียงต้องการเตือนเมืองใกล้เคียงเกี่ยวกับการรุกรานของเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่ชื่อครุก และในอีกไม่นาน ชาวไร่คนดังกล่าวและเพื่อนร่วมทางกับเขาตกอยู่ในสถานการณ์หาทางเอาชนะเผ่าพันธุ์อื่นที่เรียกว่าเซกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งฟื้นคืนพลังใหม่หลังจากถูกคุมขังอยู่ 300 ปี โลกของดันเจียนซีจไม่ใช้ระบบเลเวลเหมือนกับวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทอื่น ๆ ในยุคนั้น หากแต่เป็นพื้นที่เดียวที่ต่อเนื่อง โดยปราศจากการโหลดหน้าจอ ซึ่งผู้เล่นเดินทางผ่านเพื่อต่อสู้กับฝูงศัตรู นอกจากนี้ แทนที่จะกำหนดคลาสตัวละครและควบคุมตัวละครทั้งหมดในกลุ่มด้วยตนเอง ผู้เล่นจะควบคุมกลยุทธ์และอาวุธ ตลอดจนการใช้เวทมนตร์โดยรวมของพวกเขา ซึ่งกำกับการเติบโตของตัวละคร

ดันเจียนซีจเป็นผลงานแรกของบริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 โดยคริส เทย์เลอร์ แล้วมีชื่อเสียงขึ้นมาจากเกมวางแผนเวลาจริงอย่างโทเทิลแอนไนอะเลชันใน ค.ศ. 1997 เทย์เลอร์ต้องการสร้างเกมประเภทอื่นหลังจากเพื่อนร่วมงานหลายคนจากเคฟด็อกเอนเตอร์เทนเมนต์ได้เข้าร่วม และพวกเขาก็ตัดสินใจสร้างเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทเป็นเกมแรกหลังจากลองใช้แนวคิดหลายอย่างแล้ว เทย์เลอร์ยังรับหน้าที่เป็นหนึ่งในผู้ออกแบบเกมนี้ รวมถึงเจคอบ แม็กแมน ในฐานะหัวหน้าผู้ออกแบบและผู้อำนวยการสร้างอีกคน ตลอดจนนีล ฮอลฟอร์ด เป็นหัวหน้าผู้เขียนเรื่องราวและบทสนทนา ส่วนเจเรมี โซล เป็นผู้แต่งเพลง ซึ่งเคยทำงานในโททัลแอนไนอิเลชัน บริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้ตั้งมั่นไปที่การสร้างเกมสวมบทบาทที่ตัดส่วนเหล่านี้จากองค์ประกอบประเภททั่วไป ที่พวกเขาพบว่าช้าหรือน่าคับข้องใจ เพื่อให้ผู้เล่นจดจ่ออยู่กับการกระทำ การพัฒนาใช้เวลากว่าสี่ปี แม้ว่าในตอนแรกจะมีการวางแผนว่าจะใช้เวลาเพียงสองปีเท่านั้น กระบวนการสร้างจนเสร็จภายในสี่ปีทำให้ทีมต้องทำงาน 12 ถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน และวันหยุดสุดสัปดาห์อยู่เกือบตลอดเวลา

เกมนี้ได้รับคะแนนสูงจากนักวิจารณ์เมื่อได้รับการเปิดตัว ซึ่งได้รับการระบุโดยเว็บไซต์ตัวรวบรวมบทวิจารณ์อย่างเมทาคริติกในฐานะเกมเล่นตามบทบาทคอมพิวเตอร์ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับสามแห่ง ค.ศ. 2002 นักวิจารณ์ชื่นชมกราฟิกและโลกที่ไร้รอยต่อ ตลอดจนรูปแบบการเล่นที่สนุกและเข้าถึงได้ แต่กลับไม่สนใจโครงเรื่อง ดันเจียนซีจขายได้มากกว่า 1.7 ล้านชุด และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเกมเล่นตามบทบาทคอมพิวเตอร์แห่งปีประจำ ค.ศ. 2003 จากอะคาเดมีอินเตอร์แอกทีฟออฟอาร์ตแอนด์ไซเอนซ์ แก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้เน้นการสร้างและเปิดตัวเครื่องมือสำหรับผู้เล่นเพื่อใช้ในการสร้างม็อดสำหรับเกมระหว่างการพัฒนา ส่งผลให้เกิดชุมชนม็อดที่ใช้งานได้หลังจากเปิดตัว ส่วนภาคเสริมอย่างดันเจียนซีจ: เลเจนส์ออฟอารานนา วางจำหน่ายใน ค.ศ. 2003 และมีการพัฒนาเกมซีรีส์เพิ่มเติมในแฟรนไชส์ ประกอบด้วยดันเจียนซีจ II (ค.ศ. 2005) รวมถึงภาคเสริมอย่างดันเจียนซีจ II: โบรเคนเวิลด์ (ค.ศ. 2006) ตลอดจนภาคแยกที่มีชื่อว่าดันเจียนซีจ: โธรนออฟแอกโกนี (ค.ศ. 2006) และเกมหลักภาคสามอย่างดันเจียนซีจ III (ค.ศ. 2011) ส่วนภาพยนตร์ไตรภาคที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเนื้อเรื่องของดันเจียนซีจได้รับการเปิดตัวครั้งแรกในชื่อศึกนักรบกองพันปีศาจ (ค.ศ. 2007 ในโรงภาพยนตร์), ศึกนักรบกองพันปีศาจ 2 (ค.ศ. 2011 ในรูปแบบโฮมวิดีโอ) และศึกนักรบกองพันปีศาจ 3 (ค.ศ. 2014 ในรูปแบบโฮมวิดีโอ)

รูปแบบการเล่น

[แก้]
มุมมองเหนือศีรษะของตัวละครแปดตัวที่ต่อสู้กับหุ่นยนต์ ที่มีองค์ประกอบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ซ้อนทับ
คณะแปดคนต่อสู้กับหุ่นยนต์ในเหมืองก็อบลิน สถานะของตัวละครจะอยู่ที่ด้านซ้ายบน ในขณะที่การควบคุมทางยุทธวิธีอยู่ที่ด้านขวาล่าง

ดันเจียนซีจเป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทฉากอยู่ในยุคกลางสมมติของโลกแฟนตาซีระดับสูง โดยนำเสนอในรูปแบบ 3 มิติ ด้วยระบบกล้องเสมือนจริงมุมมองบุคคลที่สามภายใต้การควบคุมของผู้เล่น ซึ่งตัวละครของผู้เล่นจะนำทางไปตามภูมิประเทศและต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรู[1] ผู้เล่นจะเลือกเพศและปรับแต่งลักษณะที่ปรากฏของตัวละครหลักของเรื่องก่อนเริ่มเกม และโดยทั่วไปจะควบคุมพวกเขา[2] ตัวละครหลักรวมตัวกันด้วยตัวละครอื่น ๆ อีกเจ็ดตัว ซึ่งควบคุมผ่านปัญญาประดิษฐ์ ผู้เล่นสามารถสลับตัวละครที่พวกเขาควบคุมได้ตลอดเวลา[1] ตัวละครอื่น ๆ เคลื่อนที่โดยสัมพันธ์กับตัวละครที่ควบคุมตามรูปขบวนและระดับของการรุกรานต่อศัตรูที่ผู้เล่นเลือก[3][4] ตัวละครเพิ่มเติมสามารถเอาออกจากกลุ่มและคัดเลือกใหม่ได้ตลอดเวลา[5]

โลกของเกมไม่ได้แบ่งออกเป็นเลเวล แต่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ไม่ได้แยกออกจากกันโดยการโหลดหน้าจอ ในขณะที่ผู้เล่นเดินทางผ่านโลกที่เป็นเส้นตรงส่วนใหญ่ พวกเขาจะพบกับสัตว์ประหลาดและศัตรูหลากหลายประเภทที่โจมตีเมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายของตัวละครของผู้เล่นเข้าใกล้ คณะของผู้เล่นจะป้องกันตัวเองและโจมตีศัตรูโดยใช้อาวุธระยะประชิดและระยะไกล รวมถึงสภาพธรรมชาติและเวทมนตร์ประจัญ ผู้เล่นไม่ได้เลือกคลาสสำหรับตัวละคร ซึ่งแตกต่างจากวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทอื่น ๆ แทนที่จะใช้อาวุธหรือเวทมนตร์ประเภทใดประเภทหนึ่งที่จะเพิ่มทักษะของตัวละครเมื่อเวลาผ่านไป[3] เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นได้รับค่าประสบการณ์เพียงพอจากการสังหารศัตรูและไปถึงเลเวลใหม่ในประเภทอาวุธนั้น พวกเขาจะได้รับค่าจำนวนหนึ่งจากสถิติความแข็งแกร่ง, ความชำนาญ หรือสติปัญญา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับพลังชีวิตและพลังเวทมนตร์ที่พวกเขามี รวมถึงค่าความแรงที่เกิดขึ้นจากอาวุธ[2]

ตัวละครสามารถสวมใส่อาวุธ, ชุดเกราะ, แหวน และเครื่องราง ซึ่งให้ค่าการโจมตีหรือการป้องกัน หรือให้โบนัสจนถึงสถิติอื่น นอกจากนี้ ยังมีไอเทมที่ใช้งานได้ เช่น ยาเพื่อฟื้นฟูพลังหรือมานาของตัวละคร ส่วนอาวุธ, ชุดเกราะ และไอเทมอื่น ๆ สามารถพบได้จากการสังหารศัตรู, ทำลายที่ใส่ของ หรือซื้อจากผู้ขาย ตัวละครแต่ละตัวมีรายการสิ่งของ ซึ่งแสดงเป็นเส้นตารางประจำที่ โดยแต่ละไอเทมจะแสดงเป็นรูปร่างโดยใช้ช่องว่างบนเส้นตาราง[6] ทั้งนี้ ม้าล่อ ซึ่งเป็นตัวละครประเภทหนึ่ง ไม่สามารถใช้อาวุธหรือเวทมนตร์ได้ แต่มีรายการสิ่งของที่ใหญ่กว่ามาก[1]

ดันเจียนซีจมีทั้งโหมดผู้เล่นเดี่ยวและหลายผู้เล่น โหมดผู้เล่นเดี่ยวประกอบด้วยเรื่องราวและโลกเดียว โดยผู้เล่นสามารถสร้างตัวละครใหม่เมื่อเริ่มเรื่องหรือใช้ตัวละครที่สร้างขึ้นในการเล่นก่อนหน้า ส่วนโหมดหลายผู้เล่นแบบร่วมมือกันช่วยให้ผู้เล่นสามารถเล่นได้ถึงแปดคนผ่านเนื้อเรื่องแบบผู้เล่นเดี่ยวหรือในแผนที่หลายผู้เล่น ซึ่งมีศูนย์กลางเมืองที่มีศัตรูยากต่อการกำจัดขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อผู้เล่นกรีฑาพลห่างออกไป เกมที่มีหลายผู้เล่นสามารถตั้งค่าระดับความยากที่ต่างกัน ทำให้สามารถรองรับตัวละครที่มีเลเวลสูงกว่าได้ ทั้งนี้ ผู้เล่นสามารถสร้างแผนที่เพิ่มเติมเพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้เล่นหลายคนแทนได้ การแข่งแบบหลายผู้เล่นสามารถสร้างและเข้าร่วมผ่านแลน, เลขที่อยู่ไอพีโดยตรง และก่อนที่จะปิดตัวลงใน ค.ศ. 2006 ผ่านบริการจับคู่ไมโครซอฟท์โซน[7]

โครงเรื่อง

[แก้]

ดันเจียนซีจมีฉากอยู่ในราชอาณาจักรเอห์บ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่แตกต่างกันไปในทวีปอารานนา ที่มีทะเลทราย, หนองน้ำ, ป่าไม้ และภูเขา ซึ่งได้เนรมิตขึ้นเมื่อสามศตวรรษก่อนหน้าการสลายตัวของจักรวรรดิแห่งดวงดาว[8] ในช่วงเริ่มต้นของเกม หมู่บ้านเกษตรกรรมของตัวละครของผู้เล่นได้ถูกโจมตีโดยเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ชื่อครุก ตัวละครหลัก ซึ่งเป็นชาวไร่คนดังกล่าวที่ไม่มีภูมิหลัง ที่ได้รับการได้ตั้งชื่อโดยผู้เล่น ได้เดินทางผ่านกองกำลังครุกไปยังเมืองสโตนบริดจ์[9] เมื่อทำลายการปิดล้อมเมือง และได้สหายคนแรกของพวกเขา ผู้เล่นจะได้รับมอบหมายจากกียอร์นผู้เป็นหัวหน้ากองรักษาการณ์ของเมืองด้วยการเดินทางไปยังเมืองแกลซอร์น และแจ้งเตือนกองกำลังทหารเอห์บที่เรียกว่าพยุหะที่ 10 ถึงการรุกรานและเอาชนะกองกำลังใด ๆ ที่พวกเขาเผชิญหน้าระหว่างทาง[10] หลังจากเดินทางผ่านห้องใต้ดิน, เหมือง และภูเขา ตัวละครของผู้เล่นก็มาถึงแกลซอร์น ซึ่งพวกเขาได้รับแจ้งว่าการรุกรานของครุกเกิดขึ้นในวันเดียวกับที่เมอริก จอมเวทผู้ยิ่งใหญ่ได้หายตัวไป และได้วางเงื่อนไขเดินทางข้ามภูเขาไปยังป้อมปราการครอธเพื่อช่วยเหลือกองทหารที่นั่น[11] พวกเขาพบเมอริกในภูเขา ซึ่งแจ้งให้พวกเขาทราบว่าการรุกรานของครุกเป็นส่วนหนึ่งของการบุกครองครั้งใหญ่ของเซก ผู้ซึ่งทำลายจักรวรรดิแห่งดวงดาวก่อนที่จะถูกคุมขังภายใต้ปราสาทเอห์บ รวมถึงผู้ที่หลบหนีและยึดปราสาท เมอริกขอให้ผู้เล่นช่วยเอาคทาแห่งดวงดาวกลับคืนจากเหล่าก็อบลิน โดยก่อนที่จะมีการชิงทรัพย์ คทาดังกล่าวได้ได้กักขังเซกไว้ในห้องแห่งนิรันดร์[12]

ผู้เล่นต่อสู้ผ่านสัตว์ประหลาดและโจรในถ้ำคริสตัล, ป่า, หนองน้ำ และป้อมปราการก็อบลินใต้ดินที่เต็มไปด้วยเครื่องจักรสงคราม หลังจากเอาคทาแห่งก็อบลินกลับคืนมาแล้ว ผู้เล่นจะได้พบกับพยุหะที่ 10 และเล็งไปที่ป้อมปราการครอธ ซึ่งถูกบุกรุกด้วยอันเดด หลังจากเคลียร์ป้อมปราการและต่อสู้กับสัตว์ประหลาดกับมังกรในหน้าผาแห่งเพลิง พวกเขาก็เดินขบวนไปที่ปราสาทเอห์บ จากนั้นตัวละครของผู้เล่นจะบุกปราสาทและต่อสู้ผ่านกองกำลังเซกเพื่อช่วยเหลือกษัตริย์คอนรีด[13] เขาแจ้งให้พรรคพวกทราบว่ากอม ผู้นำของเซก กำลังมองหาอาวุธวิเศษจากจักรวรรดิแห่งดวงดาวที่เก็บไว้ในห้องแห่งดวงดาว และเหล่าตัวละครจะต้องรักษาความปลอดภัยของอาวุธ จากนั้นจึงเอาชนะเซกที่เหลืออยู่[14] ตัวละครของผู้เล่นรวบรวมอาวุธและต่อสู้ผ่านถ้ำลาวา และห้องแห่งนิรันดร์ที่เซกถูกคุมขัง กระทั่งตัวละครของผู้เล่นสังหารกอม, กำจัดเซก และกอบกู้อาณาจักร[15]

การพัฒนา

[แก้]
คริส เทย์เลอร์ กำลังนั่งกอดอกอยู่ที่โต๊ะ
คริส เทย์เลอร์ ใน ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและผู้ก่อตั้งบริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์

บริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 โดยคริส เทย์เลอร์ จากนั้นได้เป็นที่รู้จักจากเกมวางแผนเวลาจริงอย่างโทเทิลแอนไนอะเลชันใน ค.ศ. 1997[16] เทย์เลอร์ต้องการสร้างเกมประเภทที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งเพื่อนร่วมงานหลายคนจากเคฟด็อกเอนเตอร์เทนเมนต์ได้เข้าร่วม และหลังจากลองใช้แนวคิดหลายอย่าง ทีมงานจึงตัดสินใจสร้างเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทเป็นเกมแรก นอกเหนือจากการช่วยสร้างแนวคิดเริ่มต้นแล้ว เทย์เลอร์ยังรับหน้าที่เป็นหนึ่งในผู้ออกแบบเกมนี้ ร่วมกับเจคอบ แม็กแมน ในฐานะผู้ออกแบบและผู้อำนวยการสร้างรายอื่นของเกม และนีล ฮอลฟอร์ด ในฐานะผู้เขียนเรื่องราวและบทสนทนาของเกม ฮอลฟอร์ดได้รับการนำเข้าสู่โครงการหลังจากที่ได้เริ่มต้นแล้ว เทย์เลอร์ได้วางแผนจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเกม แต่ทิ้งรายละเอียดและเรื่องราวเบื้องหลังที่แทรกแซงไว้ให้เขา เพลงของเกมนี้แต่งโดยเจเรมี โซล ซึ่งเคยทำงานในโทเทิลแอนไนอะเลชัน ทีมพัฒนามีคนประมาณสามสิบคนในระหว่างการพัฒนา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และถึงสี่สิบคนในการจบของโครงการ[17] การพัฒนาเกมใช้เวลากว่าสี่ปี แม้ว่าในตอนแรกจะมีการวางแผนไว้ว่าจะใช้เวลาเพียงสองปี[18]

ดันเจียนซีจได้รับแรงบันดาลใจจากเกมเล่นตามบทบาทก่อนหน้านี้ เช่น บาลเดอส์เกต และซีรีส์อัลทิมา แต่ส่วนใหญ่มาจากเดียโบล ซึ่งเทย์เลย์ได้ชื่นชมที่มีประสบการณ์ "มุ่งเน้นไปที่แอ็กชัน" ที่ผู้เล่นสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่ต้องศึกษารายละเอียดรูปแบบการเล่นและการตั้งค่าก่อน[17] เทย์เลอร์ต้องการขยายแนวคิดดังกล่าวให้กลายเป็นเกมเล่นตามบทบาทที่มีความคล่องตัว, ดื่มด่ำ และมีแอ็กชันหนัก ๆ ซึ่งลบองค์ประกอบทั่วไปของประเภทที่เขาพบว่าน่าเบื่อ, น่าหงุดหงิด หรือเชื่องช้า[19] ซึ่งเขายังต้องการทำให้รูปแบบการเล่นนั้นง่ายขึ้นกว่าเกมเล่นตามบทบาทร่วมสมัย เพื่อดึงดูดผู้เล่นในวงกว้าง[16] ด้วยเหตุนี้ เขาจึงขอให้ฮอลฟอร์ดสร้างการบรรยายที่รวดเร็วและคล่องตัว เทย์เลอร์ได้ให้เขาเขียนเรื่องราวเบื้องหลังของเกมโดยละเอียด ซึ่งจะไม่นำเสนอต่อผู้เล่น แต่จะแจ้งและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักพัฒนา โดยปล่อยให้ข้อความในเกมถูกจำกัดไว้เพื่อให้ผู้เล่นได้มีส่วนร่วมกับการกระทำ[17][20] ฮอลฟอร์ดได้อธิบายขั้นตอนการเขียนเกมว่าคล้ายกับโครงการเกมอื่น ๆ นอกเหนือจากการให้ความสำคัญกับความกะทัดรัดมากขึ้น แม้ว่าเขาจะบอกว่าเขาได้รับการนำเข้าสู่โครงการช้ากว่าปกติมากก็ตาม ซึ่งหมายความว่าเขาต้องสร้างเรื่องราวที่ทำงานในฐานะเบื้องหลัง ไปจนถึงชิ้นงานที่ได้รับการพัฒนาไปแล้ว[21][22] โครงเรื่องของเกมนี้ตั้งใจให้เทย์เลอร์เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของรูปแบบการเล่น ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่มั่นใจว่าส่วนโค้งเรื่องราวโดยรวมของเขาได้รับการพิจารณา แม้กระทั่งโดยทีมพัฒนา จะค่อนข้างมีความคิดเป็นสำนวนจำเจ ในขณะที่เขารู้สึกว่าการเดินทางเพื่อเอาชนะ "ความชั่วร้ายขั้นสูงสุด" นั้นสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เล่นเป็นอย่างมาก[20] นอกจากนี้ เทย์เลอร์และฮอลฟอร์ดได้คุยกันว่าจะสร้างนวนิยายเรื่องดันเจียนซีจเพื่อสำรวจเรื่องราวของฮอลฟอร์ด แม้ว่ามันจะไม่เคยบรรลุผล[21]

เทย์เลอร์ต้องการปรับปรุงรูปแบบเกมเล่นตามบทบาทของเดียโบลให้ดียิ่งขึ้น โดยลบแนวคิดในการเลือกคลาสตัวละครทั้งหมด และละเว้นเวลาในการโหลดที่ยาวนานของเดียโบล[17] ทีมพัฒนายังพยายามทำให้เกมมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยขจัดความจำเป็นในการย้อนรอยไปยังเมืองที่เคยเยือนก่อนหน้าเพื่อขายไอเทม โดยการเพิ่มรายการสิ่งชองให้กับตัวละครที่เป็นเพื่อนร่วมทาง และม้าล่อซึ่งใช้บรรทุก จนถึงจุดหนึ่งในการพัฒนา เขาได้วางแผนที่จะมีตัวละคร "ผู้ช่วย" ที่จะหยิบไอเทมที่ศัตรูทำตก เพื่อให้ผู้เล่นหลีกเลี่ยงการทำเช่นนั้นเอง นักพัฒนายังเปลี่ยนองค์ประกอบบางอย่างที่เป็นมาตรฐานในเกมเล่นตามบทบาทที่เทย์เลอร์และนักพัฒนาคนอื่น ๆ พบว่าน่าคับข้องใจ เช่น ให้ผู้เล่นขายไอเทมให้แก่ผู้ขายเร่ในราคาเดียวกับที่ซื้อมาแทนที่จะเป็นส่วนลดที่สูงลิ่ว และ "จิบ" หรือใช้เพียงบางส่วนแทนการใช้ไอเทมทั้งหมดมาโดยตลอด[19]

บริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้รวมเครื่องมือพัฒนาเกม ที่เรียกว่าซีจเอดิเตอร์ ในฐานะเครื่องมือสำหรับผู้เล่นไปสู่ตัวปรับแต่งเกม เมื่อเห็นผลลัพธ์ของผู้เล่นที่สร้างตัวปรับแต่งเกมสำหรับโทเทิลแอนไนอะเลชัน เทย์เลอร์ต้องการ "นำสิ่งนั้นไปสู่จุดสูงสุด" และจัดหาเครื่องมือครบชุดเพื่อส่งเสริมชุมชนของผู้เล่นในการปรับปรุง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเกมหลังจากวางจำหน่าย เขารู้สึกว่าเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เล่นสร้างโลกของเกม, ตัวละคร และรูปแบบการเล่นใหม่ ๆ จะช่วยสนับสนุนชุมชนขนาดใหญ่ในระยะยาวของผู้เล่นเกมรอบตัว[19] บริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์หวังว่าการจัดหาสิ่งที่เดลีเรดาร์เรียกว่า "หนึ่งในชุดเครื่องมือระดับที่ครอบคลุมที่สุดที่เราเคยเห็นมา" จะช่วยให้ผู้เล่นสามารถสร้างภูมิภาคเกมขนาดเล็กได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย รวมทั้งอนุญาตให้คนทำตัวปรับแต่งเกมที่จริงจังมากขึ้นสามารถพัฒนาเกมคู่ขนานทั้งหมดโดยใช้เกมเอนจินดันเจียนซีจ[23] พวกเขายังหวังว่าชุมชนคนทำตัวปรับแต่งเกมนี้จะสามารถปรับปรุงและขยายรูปแบบการเล่นแบบหลายผู้เล่นได้มากกว่าที่พวกเขาจะเปิดตัว[24] เทย์เลอร์ได้กล่าวถึงความกระตือรือร้นในการเปิดตัวเครื่องมือพัฒนาของตัวเองสำหรับการปรับแต่งเกมเพื่อความเพลิดเพลินของเขาที่ได้เห็นตัวปรับแต่งเกมสำหรับโทเทิลแอนไนอะเลชันที่ผลิตออกมาหลายปีหลังจากเปิดตัว ตลอดจนไม่มีผลกระทบเชิงลบต่อแนวโน้มในอดีตของจอห์น คาร์แมก และอิดซอฟต์แวร์ในการปล่อยซอร์ซโคดทั้งหมดไปยังเกมของพวกเขา[23] เทย์เลอร์คาดการณ์ในภายหลังว่า บริษัท ใช้งบประมาณไปประมาณยี่สิบเปอร์เซ็นต์ในการพัฒนาเครื่องมือการปรับแต่งเกม[25]

หลังจากปีแรกของการพัฒนา บริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้พบว่าพวกเขาจะไม่สามารถจบเกมได้ภายในสองปีที่วางแผนไว้ ไม่เพียงแต่เป็นโลกที่ไร้รอยต่อโดยไม่ต้องโหลดหน้าจอนั้นสร้างยากกว่าที่คิด แต่ตามที่นักพัฒนานำอย่างบาร์โตส คิยันกา กล่าวว่าพวกเขามีความทะเยอทะยานมากเกินไปในการเลือกจำนวนคุณสมบัติที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่พวกเขาสามารถใส่ลงในเอนจินที่กำหนดเองของเกม เช่น ช่วงกว้างที่ระบบกล้องเสมือนจริงสามารถซูมเข้าและออกได้[17][18] ส่วนคุณสมบัติอื่น ๆ ที่รองรับและลดลงในภายหลังรวมถึงอนุญาตให้ใช้ตัวละครได้สูงสุดสิบตัว—ดังนั้นจึงรักษาพื้นที่ได้ถึงสิบแห่งในโลกของผู้เล่นเดี่ยว—แทนที่จะเป็นค่าสูงสุดแปดคนในขั้นท้าย และระบบสภาพอากาศที่มีลมพัดโพรเจกไทล์ออกนอกเส้นทาง[26][27] จากข้อมูลของคิยันกา นักพัฒนายังใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างการพัฒนา เช่น การสร้างโปรแกรมแก้ไขภาพเคลื่อนไหวที่กำหนดเองก่อนที่จะย้ายไปยังโปรแกรมที่ได้รับอนุญาต และเริ่มต้นด้วยไลบรารีกราฟิกโอเพนจีแอลเพื่อเปลี่ยนเป็นไดเรกต์ทรีดีเท่านั้น[18] ด้วยเหตุนี้ ทีมจึงต้องทำงาน 12 ถึง 14 ชั่วโมงทั้งวัน และวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นเวลาส่วนใหญ่ในการพัฒนาเพื่อให้เกมจบภายในสี่ปี[17][18] ในการให้สัมภาษณ์เมื่อ ค.ศ. 2011 เทย์เลอร์ได้กล่าวว่าหากมองย้อนกลับไป ต้นทุนขั้นสุดท้ายในช่วงเวลาการพัฒนาของโลกที่ไร้รอยต่ออาจสูงเกินไป และทีมงานพยายามที่จะสร้างเกมที่ใหญ่เกินไปสำหรับงบประมาณของพวกเขา เทย์เลอร์เชื่อว่าเกมที่มีเวลาเล่นเกือบถึง 35 ชั่วโมงแทนที่จะเป็น 70 ชั่วโมงจะเป็นประสบการณ์ที่ดีกว่า และประสบการณ์ที่ไม่มีมลทินยิ่งขึ้นตามข้อจำกัดของพวกเขา[28]

ภายใน ค.ศ. 2000 บริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้เริ่มค้นหาผู้เผยแพร่เกมดังกล่าว เทย์เลอร์อ้างว่ามีผู้เผยแพร่หลายรายสนใจเกมนี้ แต่เขาได้รับความเชื่อมั่นจากเอ็ด ฟรายส์ ที่จะร่วมมือกับกลุ่มเผยแพร่พีซี ของไมโครซอฟท์ แม้ว่าฝ่ายเผยแพร่ของไมโครซอฟท์จะก่อตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่เกมสำหรับเครื่องเล่นเอกซ์บอกซ์ที่เพิ่งประกาศใหม่ แต่บริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์และไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้พิจารณาอย่างยิ่งที่จะนำเกมดังกล่าวไปสู่เครื่องเล่นดังกล่าว เทย์เลอร์เชื่อว่านี่เป็นเพราะขนาดของเกม เช่นเดียวกับตลาดเล็ก ๆ สำหรับเกมเล่นตามบทบาทของคอนโซลในเวลานั้น[17] ซึ่งในตอนแรก ดันเจียนซีจได้รับการวางแผนสำหรับการเปิดตัวในไตรมาสที่สามของ ค.ศ. 2001 ก่อนที่จะถูกเลื่อนออกไปในปีถัดไป และแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้ใช้เวลาในการปรับแต่งรวมถึงขัดเกลาเกมเพิ่มเติม ตลอดจนขยายไอเทมของเกมและคุณสมบัติหลายผู้เล่น[29] ทั้งนี้ ดันเจียนซีจได้รับการเปิดตัวสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2002 โดยไมโครซอฟท์ และสำหรับแมคโอเอสเท็นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 โดยเดสทิเนียร์[18][30]

การตอบรับ

[แก้]
การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก86 / 100 (29 บทวิจารณ์)[31]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
คอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์4.5 / 5[4]
เกมอินฟอร์เมอร์9.25 / 10[32]
เกมโปร5 / 5[33]
เกมสปอต8.4 / 10[1]
เกมสปาย89 / 100[34]
ไอจีเอ็น8.5 / 10[3]
พีซีเกมเมอร์ (สหรัฐ)91 / 100[2]

ดันเจียนซีจประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์โดยขายได้มากกว่า 1.7 ล้านชุด[35] จากข้อมูลของบริษัทเอ็นพีดี กรุป การสั่งซื้อเกมล่วงหน้าในเดือนก่อนที่จะวางจำหน่ายทำให้เกมนี้เป็นเกมคอมพิวเตอร์ที่ขายดีที่สุดเป็นอันดับแปดของเดือนมีนาคม ค.ศ. 2002 และเมื่อวางจำหน่ายในเดือนถัดมา เกมดังกล่าวก็มียอดขายดีเป็นอันดับสองรองจากเดอะซิมส์ วัยรักพักร้อน[36][37] เกมดังกล่าวตกลงมาอยู่อันดับที่เจ็ดและอันดับที่สิบสามในสองเดือนถัดไป[38][39] แล้วจบในอันดับที่ 14 ของปีโดยรวม[40] ภายในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 เกมนี้ขายได้ 360,000 ชุดและทำรายได้ 14.5 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐโดยลำพัง สิ่งนี้ทำให้นิตยสารเอดจ์ประกาศให้เป็นเกมคอมพิวเตอร์ที่ขายดีที่สุดอันดับที่ 44 ของประเทศระหว่างเดือนมกราคม ค.ศ. 2000 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006[41] ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 ดันเจียนซีจยังได้รับการรับรอง "โกลด์" จากแวร์บันด์เดอร์อุนเทอร์ฮัลทุงซ็อฟท์วาเรด็อยช์ลันด์ (VUD)[42] ซึ่งระบุยอดขายอย่างน้อย 100,000 หน่วยทั่วเยอรมนี, ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์[43]

เกมนี้ได้รับการจัดอันดับสูงจากนักวิจารณ์เมื่อเปิดตัว ซึ่งได้รับการระบุโดยตัวรวบรวมบทวิจารณ์อย่างเว็บไซต์เมทาคริติกว่าเป็นเกมเล่นตามบทบาทคอมพิวเตอร์ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับสามใน ค.ศ. 2002 รองจากเนเวอร์วินเทอร์ไนส์ และดิเอลเดอร์สโครลส์ III: มอร์โรววินด์ ตลอดจนเป็นเกมคอมพิวเตอร์ที่มีคะแนนสูงสุดยี่สิบอันดับแรกโดยรวมในปีดังกล่าว[44] ส่วนกราฟิกได้รับการยกย่องอย่างมาก แดน อดัมส์ จากเว็บไซต์ไอจีเอ็นเรียกสิ่งนี้ว่า "น่าขันน่าดู" ในขณะที่นักวิจารณ์จากเว็บไซต์เกมสปอตและนิตยสารเกมโปรได้ยกย่องสภาพแวดล้อมว่ามีรายละเอียดและหลากหลาย[1][3][33] ด้านโรเบิร์ต คอฟฟีย์ จากนิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ และเกรก เวเดอร์แมน จากนิตยสารพีซี เกมเมอร์ ได้ยกย่องสภาพแวดล้อมที่มีรายละเอียดในทำนองเดียวกัน ในขณะที่แอนดี แมคนามารา และคริสเตียน บร็อกเกอร์ จากนิตยสารเกมอินฟอร์เมอร์ รวมถึงปีเตอร์ ซูชิว จากเว็บไซต์เกมสปาย ได้เรียกเกมนี้ว่าเป็นโลกที่ไร้รอยต่อโดยไม่ต้องโหลดหน้าจอ ซึ่งควรค่าแก่การจดบันทึกเป็นพิเศษ[2][4][32][34] ซูชิวกล่าวเพิ่มเติมว่าแผนที่อิสระไร้รอยต่อได้รับการนำมาใช้เพื่อสร้างพื้นที่ ที่ไม่ได้มีรูปร่างเหมือนพื้นที่สี่เหลี่ยมที่มีเส้นทางคดเคี้ยวเติมเต็มพื้นที่ เช่นเดียวกับเกมเล่นตามบทบาทอื่น ๆ ในยุคนั้น[34] นอกจากนี้ นักวิจารณ์ของเว็บไซต์ไอจีเอ็นและนิตยสารเกมโปรต่างยกย่องว่าเอฟเฟกต์เสียงนั้นยอดเยี่ยมและช่วยสร้างบรรยากาศของเกม ในขณะที่นักวิจารณ์ของเว็บไซต์ไอจีเอ็นและเว็บไซต์เกมสปอตยังกล่าวยกย่อง "โน้ตดนตรีโดยรอบ"[1][3][33]

รูปแบบการเล่นได้รับการยกย่องในทำนองเดียวกัน บทวิจารณ์ของนิตยสารเกมโปรอ้างว่า "รูปแบบการเล่นของดันเจียนซีจอาจเป็นการปรับปรุงที่ใหญ่ที่สุดและชัดแจ้งที่สุดจากเกมก่อนหน้าในประเภทดังกล่าว"[33] นักวิจารณ์หลายคนได้เปรียบเทียบกับเดียโบล II (ค.ศ. 2000) ในทางที่ดี จากนั้นก็เป็นหนึ่งในเกมเล่นตามบทบาทคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยอดัมส์แห่งเว็บไซต์ไอจีเอ็นอ้างว่าเกมนี้คล้ายกับเดียโบล II มากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงบางอย่าง และคอฟฟีย์แห่งนิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ระบุว่าสิ่งเดียวที่ทำให้มันไม่ได้รับการจัดอันดับโดยตรงให้ดีกว่าก็คือการเปลี่ยนไปใช้รูปแบบการเล่นที่มียุทธวิธีมากขึ้น ทำให้เกมนี้แตกต่างจากเกมที่จะเปรียบเทียบโดยตรงมากเกินไป[3][4] ซึ่งเวเดอร์แมนจากนิตยสารพีซี เกมเมอร์, คอฟฟีย์จากนิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ และนักวิจารณ์ของเว็บไซต์เกมสปอตได้ยกย่องว่ารูปแบบการเล่นมีความคล่องตัวและเข้าถึงได้ พวกเขาชอบยุทธวิธีในการควบคุมคณะของนักผจญภัยที่ปรับปรุงตามวิธีการใช้งาน แทนที่จะควบคุมการกระทำและสถิติของพวกเขาโดยตรง[1][2][4] อย่างไรก็ตาม อดัมส์จากเว็บไซต์ไอจีเอ็นได้กล่าวว่ารูปแบบการเล่นอาจดูซ้ำซากจำเจ ส่วนเวเดอร์แมนจากนิตยสารพีซี เกมเมอร์ รู้สึกว่าตัวเลือกการต่อสู้ในรูปแบบการเล่นค่อนข้างจำกัด และซูชิวจากเว็บไซต์เกมสปายไม่ชอบความเป็นเส้นตรงของเกมผู้เล่นเดี่ยว[2][3][34] อดัมส์กล่าวเพิ่มเติมว่าตัวเลือกทางยุทธวิธีหลายอย่างในเกมนั้นไม่สำคัญ เนื่องจากการต่อสู้ทั้งหมดกลายเป็นการตีรันฟันแทงอย่างรวดเร็ว และระบบการปรับเลเวลแบบอิสระนั้นโดยพื้นฐานแล้วเหมือนกับคลาสตัวละครสี่คลาส เนื่องจากการไล่ตามลู่หลายลู่นั้นใช้ไม่ได้ผล[3]

เนื้อหาหลายผู้เล่นได้รับการวิจารณ์ที่หลากหลาย: ซึ่งอดัมส์ได้ชื่นชมจำนวนเนื้อหาเพิ่มเติม ในขณะที่ซูชิวและนักวิจารณ์ของเว็บไซต์เกมสปอตตั้งข้อสังเกตว่ารูปแบบการเล่นแบบหลายผู้เล่นอาจไม่สมดุลระหว่างผู้เล่นที่แตกต่างกัน[1][3][34] โดยทั่วไปแล้วโครงเรื่องผู้เล่นเดี่ยวจะถูกมองว่าไม่สำคัญ นักวิจารณ์แห่งนิตยสารเกมโปรเรียกมันว่า "โครงร่าง" และนักวิจารณ์จากนิตยสาร เกมอินฟอร์เมอร์ กล่าวว่า "น่าเบื่อ" รวมถึงนักวิจารณ์แห่งเว็บไซต์เกมสปอตกล่วถึงเกมนี้ว่า "ไม่น่าสนใจและสามารถจะลืมได้" และสรุปว่าผู้เล่นที่ต้องการ "เกมเล่นตามบทบาทที่ลึกซึ้งกว่า" จะต้องผิดหวัง[1][32][33] โดยรวมแล้ว เวเดอร์แมนจากนิตยสารพีซี เกมเมอร์ กล่าวถึงดันเจียนซีจว่าเป็น "หนึ่งในเกมที่ดีที่สุด และสนุกที่สุดแห่งปี" และนักวิจารณ์ของนิตยสารเกมโปรอ้างว่า "เดินไปทั่วการแข่งด้วยความสง่างามที่แทบจะไม่ต้องใช้ความพยายาม" ในขณะที่อดัมส์จากเว็บไซต์ไอจีเอ็นได้สรุปว่าเกมนี้ให้ความบันเทิงแต่มี "ศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้"[2][3][33]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

หลังจากเปิดตัวในงานอิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป ค.ศ. 2000 ดันเจียนซีจก็ได้รับรางวัลเกมเล่นตามบทบาทจากเว็บไซต์เกมเรโวลูชัน และรางวัลเกมเล่นตามบทบาทที่สมจริงที่สุดจากเว็บไซต์เกมสปอต[45][46] หลังจากเปิดตัว เกมนี้ได้รับการเสนอชื่อข้าชิงรางวัลความสำเร็จเชิงโต้ตอบประจำปี ค.ศ. 2003 ของอะคาเดมีอินเตอร์แอกทีฟออฟอาร์ตแอนด์ไซเอนซ์ ในสาขาเกมคอมพิวเตอร์เล่นตามบทบาทแห่งปี และนวัตกรรมในประเภทเกมคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลในแต่ละสาขาก็ตาม โดยแพ้ต่อเนเวอร์วินเทอร์ไนส์ และแบตเทิลฟีลด์ 1942 ตามลำดับ[47] เกมนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล "เกมเล่นตามบทบาทยอดเยี่ยม ค.ศ. 2002" ของพีซี เกมเมอร์ ยูเอส แต่แพ้ต่อเนเวอร์วินเทอร์ไนส์อีกครั้ง[48] อย่างไรก็ตาม เกมได้รับรางวัลกราฟิกเกมพีซียอดเยี่ยมจากเว็บไซต์ไอจีเอ็น[49]

การเปิดตัวซีจเอดิเตอร์ของบริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้จุดประกายการเพิ่มขึ้นของชุมชนการปรับแต่งเกม โดยก่อนที่จะเปิดตัวกลุ่มการปรับแต่งเกมหลายกลุ่ม ได้ประกาศความตั้งใจที่จะใช้เอนจินเพื่อสร้างเกมรีเมคด้วยตัวปรับแต่งเกมขนาดใหญ่จากซีรีส์เกมเล่นตามบทบาทอย่างอัลทิมา[24] หลังจากเปิดตัวเกม ได้มีการสร้างตัวปรับแต่งเกมจำนวนมากรวมถึงตัวปรับแต่งเกม "การแปลงทั้งหมด" หลายตัวที่สร้างเกมและเรื่องราวใหม่ ๆ เช่น "เดอะแลนส์ออฟไฮเปอร์โบเรีย" และ "เอเลเมนทัล"[17][50][51][52] บริษัทแก๊สเพาเวิร์ดเกมส์ได้เปิดตัวตัวปรับแต่งเกมของตัวเองหนึ่งตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2002 ในชื่อ "เยสเตอร์เฮเวน" สร้างโดยนักออกแบบหกคนในช่วงหกสัปดาห์ ซึ่งมีโครงเรื่องแบบหลายผู้เล่นสั้น ๆ สำหรับตัวละครเลเวลต่ำ ที่พวกเขาได้ปกป้องเมืองจากภัยพิบัติสามประการของเหล่ามอนสเตอร์[53][54] ตามมาด้วยเลเจนส์ออฟอารานนา ซึ่งเป็นภาคเสริมเต็มรูปแบบที่พัฒนาโดยแมดด็อกซอฟต์แวร์ และเผยแพร่เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 สำหรับวินโดวส์และแมคโอเอสเท็นโดยไมโครซอฟท์[55] ภาคเสริมดังกล่าวได้เพิ่มรูปแบบการเล่นใหม่เล็กน้อยนอกเหนือจากภูมิประเทศ, สิ่งมีชีวิต และไอเทมใหม่ ๆ แต่มีเนื้อเรื่องที่แยกออกจากเกมต้นฉบับโดยสิ้นเชิง[56] ในภาคเลเจนส์ ผู้เล่นจะควบคุมชาวไร่ที่ไม่มีชื่อคนอื่น หลังจากที่คทาแห่งดวงดาวถูกสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าชาโดว์จัมเปอร์ขโมยไป พวกเขาก็เดินทางเพื่อเอากลับคืนมา โดยหลังจากต่อสู้ผ่านเหล่ามอนสเตอร์ในเนินน้ำแข็ง, ป่า และเกาะต่าง ๆ ผู้เล่นก็มาถึงมหานาฬิกาอันลึกลับ ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ขนาดยักษ์ที่ควบคุมฤดูกาลของอารานนา พวกเขากำจัดชาโดว์จัมเปอร์ที่นั่น และเอาคทาแห่งดวงดาวกลับคืนมา ซึ่งโดยทั่วไปได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกน้อยกว่าภาคดั้งเดิม[57] โดยนักวิจารณ์ยกย่องเนื้อหาจำนวนมาก แต่วิจารณ์ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการเล่นพื้นฐาน[56][58][59][60]

เกมอื่น ๆ อีกหลายเกมได้รับการเผยแพร่ในซีรีส์ดันเจียนซีจ โดยเริ่มจากดันเจียนซีจ II (ค.ศ. 2005)[61] โดยเกมดังกล่าวได้มีภาคเสริมของตนเองคือดันเจียนซีจ II: โบรเคนเวิลด์ (ค.ศ. 2006) และตามมาด้วยเกมเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ภาคแยกที่ชื่อดันเจียนซีจ: โธรนออฟแอกโกนี (ค.ศ. 2006) และภาคหลักที่สามในชื่อดันเจียนซีจ III (ค.ศ. 2011)[62][63][64] ส่วนภาพยนตร์ที่กำกับโดยอูเวอ บ็อล และได้รับแรงบันดาลใจจากเกมต้นฉบับอย่างศึกนักรบกองพันปีศาจ ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อ ค.ศ. 2007 โดยได้รับการอธิบยว่า "อิงอย่างหลวม ๆ" จากเกม และเป็นความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์รวมถึงการวิจารณ์[65][66] ซึ่งตามมาด้วยโฮมวิดีโอภาคต่ออย่างศึกนักรบกองพันปีศาจ 2 (ค.ศ. 2011) และศึกนักรบกองพันปีศาจ 3 (ค.ศ. 2014)[67][68]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Dungeon Siege Review". GameSpot. CBS Interactive. April 10, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2016. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Vederman, Greg. "Dungeon Siege". PC Gamer. Future US. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2005. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Adams, Dan (April 4, 2002). "Dungeon Siege". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2015. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Coffey, Robert (July 2002). "Dungeon Siege" (PDF). Computer Gaming World. No. 216. Ziff Davis. pp. 62–63. ISSN 0744-6667.
  5. Dungeon Siege manual. Gas Powered Games. 2002. pp. 30–31.
  6. Dungeon Siege manual. Gas Powered Games. 2002. pp. 14–19.
  7. Dungeon Siege manual. Gas Powered Games. 2002. pp. 37–41.
  8. Gas Powered Games (April 5, 2002). Dungeon Siege (Microsoft Windows). Microsoft Game Studios. Narrator: A long time ago, on the continent of Aranna, the once-magnificent Empire of Stars had crumbled into oblivion... [...] Here, in the rugged mountains and rich valleys of their new home, they founded the Kingdom of Ehb, a Kingdom that has embraced peace and freedom for 300 years.
  9. Gas Powered Games (April 5, 2002). Dungeon Siege (Microsoft Windows). Microsoft Game Studios. Norick: The Krug are attacking! I couldn't hold them back... You have long been my friend, but... you can do nothing more for old Norick. Go to Stonebridge. Find Gyorn. If the Krug have elsewhere betrayed us, your bravery will be needed by the King. Go now!
  10. Gas Powered Games (April 5, 2002). Dungeon Siege (Microsoft Windows). Microsoft Game Studios. Gyorn: It don't take a wizard to smell the Goblins behind this Krug raid, but the Overseer of Glacern needs to be told what happened here nonetheless. If you're up for the task, can I come along?
  11. Gas Powered Games (April 5, 2002). Dungeon Siege (Microsoft Windows). Microsoft Game Studios. Overseer: Doesn't take a fool to see this all started the day our Grand Mage Merik vanished. Find him, and you'll find the cause of all this mess. [...] If you want to make yourself useful, go reinforce the men at Fortress Kroth.
  12. Gas Powered Games (April 5, 2002). Dungeon Siege (Microsoft Windows). Microsoft Game Studios. Merik: I've been suspended for what...nearly a month now? Most astonishing! Their powers have grown. I should have been paying closer attention. I should have foreseen this, blast it! The forces behind this violence will be searching for my Warding Staff. That's the magical artifact they're after. Thanks to me, they believe it to have powers it doesn't actually possess, but it could still be a terrible weapon in the wrong hands. It must be recovered!
  13. Gas Powered Games (April 5, 2002). Dungeon Siege (Microsoft Windows). Microsoft Game Studios. Lord Bolingar: By all the powers that be, a friendly face! The castle's overrun! The bloody Seck came up from below, but I don't know how. King Konreid was still alive when last I saw him, but I cant find him now. I hope he's in hiding and that those slimy Seck haven't got him bottled up somewhere in the Castle. Shall we join forces to find him or go on separately?
  14. Gas Powered Games (April 5, 2002). Dungeon Siege (Microsoft Windows). Microsoft Game Studios. Lord Bolingar: Three hundred years ago, our ancestors entombed Commander Gom with the remnants of his Seck army, following their craven surrender to the 10th Legion. Rather than obliterate the remains of their race, our forefathers magically bound them one by one in the Vault of Eternity as a sentence for their savagery against our people. It would appear the magical wards have weakened during Merik's long absence. [...] Within the bowels of the castle there is a hidden sanctuary known as the Chamber of Stars. If what you say is true, the Seck must be plotting to acquire the Imperial relics concealed therein. They could possibly hold the power to revive their dark lord Gom and the rest of their kin. You should hurry to retrieve the artifacts from the Chamber to safeguard them. If any of them can be of use to you, so much the better.
  15. Gas Powered Games (April 5, 2002). Dungeon Siege (Microsoft Windows). Microsoft Game Studios. Narrator: With the Seck defeated, peace once again returned to the kingdom. History would record the names of those brave heroes that drove the Seck back to the hell from which they came from... a hell they would never return from again.
  16. 16.0 16.1 "Gas Powered Games Interview – Part 1". PC Gameworld. Gameworld Industries. September 24, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2005. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 17.7 "Behind the scenes of Dungeon Siege". GamesTM. Future. August 22, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2016. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 Kijanka, Bartosz (December 18, 2002). "Postmortem: Gas Powered Games' Dungeon Siege". Gamasutra. UBM. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2016. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
  19. 19.0 19.1 19.2 Coghlan, John (2000). "Dungeon Siege Interview". Daily Radar. Future US. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2000. สืบค้นเมื่อ May 9, 2017.
  20. 20.0 20.1 Yans, Cindy (April 2, 2001). "Dungeon Siege". Computer Games Online. Strategy Plus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2005. สืบค้นเมื่อ May 9, 2017.
  21. 21.0 21.1 "Interview with Neal Hallford, June 2001". Planet Dungeon Siege. GameSpy Industries. June 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2001. สืบค้นเมื่อ May 16, 2017.
  22. Noman (2002). "Neal Hallford Interview". All Out Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2002. สืบค้นเมื่อ May 23, 2017.
  23. 23.0 23.1 Yans, Cindy (April 3, 2001). "Dungeon Siege's Siege Editor". Computer Games Online. Strategy Plus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2005. สืบค้นเมื่อ May 17, 2017.
  24. 24.0 24.1 Williams, Bryn (April 2001). "Interview: Chris Taylor of Gas Powered Games". GameSpy. Ziff Davis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2002. สืบค้นเมื่อ May 17, 2017.
  25. Barton, Matt (September 24, 2011). "Matt Chat 117: Supreme Commander and more with Chris Taylor". Matt Chat. YouTube. สืบค้นเมื่อ May 25, 2017.
  26. Aihoshi, Richard (March 1, 2000). "Dungeon Siege Interview". IGN. Ziff Davis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 10, 2005. สืบค้นเมื่อ May 24, 2017.
  27. Keefer, John (August 7, 2001). "Sarah Boulian of Gas Powered Games". GameSpy. Ziff Davis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2001. สืบค้นเมื่อ May 24, 2017.
  28. Barton, Matt (September 17, 2011). "Matt Chat 116: Total Annihilation and Dungeon Siege with Chris Taylor". Matt Chat. YouTube. สืบค้นเมื่อ May 25, 2017.
  29. Cross, Jason (January 23, 2002). "Putting off the Siege". CG Online. theGlobe.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2002. สืบค้นเมื่อ May 17, 2017.
  30. "Dungeon Siege – Macintosh". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2015. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
  31. "Dungeon Siege for PC reviews". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2016. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
  32. 32.0 32.1 32.2 Brogger, Kristian; McNamara, Andy (June 2002). "Dungeon Siege". Game Informer. No. 110. GameStop. p. 85. ISSN 1067-6392. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2005.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 "Dungeon Siege". GamePro. International Data Group. May 1, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2008. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 34.4 Suciu, Peter (April 12, 2002). "Dungeon Siege (PC)". GameSpy. Ziff Davis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2002. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  35. Academy of Interactive Arts & Sciences (July 28, 2009). "D.I.C.E.(R) Summit Goes Global". PR Newswire. Cision. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2017. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  36. "CGW Top 20". Computer Gaming World. No. 216. Ziff Davis. July 2002. p. 43. ISSN 0744-6667.
  37. "CGW Top 20". Computer Gaming World. No. 217. Ziff Davis. August 2002. p. 45. ISSN 0744-6667.
  38. "CGW Top 20". Computer Gaming World. No. 218. Ziff Davis. September 2002. p. 47. ISSN 0744-6667.
  39. "CGW Top 20". Computer Gaming World. No. 219. Ziff Davis. October 2002. p. 69. ISSN 0744-6667.
  40. Essential Facts about the Computer and Video Game Industry; 2003 Sales, Demographics and Usage Data (PDF) (Report). Interactive Digital Software Association. 2003-05-14. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-06-11.
  41. "The Top 100 PC Games of the 21st Century". Edge. August 25, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2012. สืบค้นเมื่อ August 28, 2017.
  42. "VUD-Sales-Awards August/September 2002" (ภาษาเยอรมัน). Verband der Unterhaltungssoftware Deutschland. September 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2002. สืบค้นเมื่อ July 18, 2018.
  43. Horn, Andre (January 14, 2004). "VUD-Gold-Awards 2003". GamePro Germany (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2018. สืบค้นเมื่อ July 18, 2018.
  44. "Best PC Video Games for 2002". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2017. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  45. "Best of E3 2000". Game Revolution. Net Revolution. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2000. สืบค้นเมื่อ May 17, 2017.
  46. "Best of E3 2000 Editor's Choice". GameSpot. ZDNet. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2000. สืบค้นเมื่อ May 17, 2017.
  47. "D.I.C.E. Awards by Video Game Details". Academy of Interactive Arts & Sciences. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2017. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.
  48. Smith, Rob (March 2003). "The Ninth Annual PC Gamer Awards". PC Gamer US. Vol. 10 no. 3. pp. 48–50, 54, 58, 60, 66, 68, 70. ISSN 1080-4471.
  49. "PC Games: Best of 2002: Graphics". IGN. Ziff Davis. January 17, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2004. สืบค้นเมื่อ May 23, 2017.
  50. "Dungeon Siege Windows game". Mod DB. DBolical Pty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2017. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  51. Salen, Katie; Zimmerman, Eric (September 25, 2003). Rules of Play: Game Design Fundamentals. MIT Press. p. 548. ISBN 978-0-262-24045-1.
  52. "Dungeon Siege: Mods in the Spotlight". DungeonSiege.com. Gas Powered Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2004. สืบค้นเมื่อ May 23, 2017.
  53. "Dungeon Siege II Updated Q&A – Graphics and Setting". GameSpot. CBS Interactive. November 3, 2004. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  54. "Dungeon Siege". Planet Dungeon Siege. GameSpy Industries. July 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2002. สืบค้นเมื่อ May 24, 2017.
  55. "Dungeon Siege: Legends of Aranna". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2017. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.
  56. 56.0 56.1 Adams, Dan (November 19, 2003). "Dungeon Siege: Legends of Aranna". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2016. สืบค้นเมื่อ May 24, 2017.
  57. "Dungeon Siege: Legends of Aranna Critic Reviews for PC". Metacritic. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 24, 2017. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  58. McNamara, Andy (January 2004). "Dungeon Siege: Legends of Aranna Expansion Pack". Game Informer. No. 129. GameStop. p. 155. ISSN 1067-6392. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 2, 2008.
  59. Harker, Carla (November 20, 2003). "Dungeon Siege: Legends of Aranna (PC)". GameSpy. Ziff Davis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2008. สืบค้นเมื่อ May 24, 2017.
  60. "Dungeon Siege: Legends of Aranna". PC Zone. Future. January 27, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2008. สืบค้นเมื่อ May 24, 2017.
  61. "Dungeon Siege II". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2017. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.
  62. "Dungeon Siege II: Broken World". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2016. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.
  63. "Dungeon Siege: Throne of Agony". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2016. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.
  64. "Dungeon Siege III". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2016. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.
  65. "In the Name of the King: A Dungeon Siege Tale (2008)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2017. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.
  66. Tito, Greg (March 17, 2010). "Chris Taylor Has No Regrets With Dungeon Siege Movie". The Escapist. Defy Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2010. สืบค้นเมื่อ May 23, 2017.
  67. "In the Name of the King 2: Two Worlds (2011)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2017. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.
  68. "In the Name of the King III (2013)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2017. สืบค้นเมื่อ February 9, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]