ดอกจิกสี่แฉก
ดอกจิกสี่แฉก (อังกฤษ: quatrefoil) ทางภาษาศาสตร์แปลว่า “สี่ใบ” ที่ใช้ในบริบทต่างๆ ของสิ่งที่มีสี่แฉกหรือสี่กลีบ
ในมุทราศาสตร์
[แก้]ในมุทราศาสตร์ “ดอกจิกสี่แฉก” เป็นสัญลักษณ์ของดอกไม้ที่มีสี่กลีบ หรือใบไม้ที่มีสี่แฉก เช่นใบจิกสี่แฉก บางครั้งก็จะเป็นภาพที่มีก้านที่นิยาม ว่า “slipped” แต่ไม่ถือว่าเป็นดอกไม้แต่เรียกว่า “Foil”
ในสถาปัตยกรรมหรือสัญลักษณ์
[แก้]ในด้านสถาปัตยกรรมหรือสัญลักษณ์ของคริสต์ศาสนา “ดอกจิกสี่แฉก” เป็นทรงที่เกิดจากการวางวงกลมสี่วงคาบกันบางส่วนอย่างสมมาตร ภาพสองภาพแรกข้างล่างเป็นทรงดอกจิกสี่แฉกที่นิยมใช้กัน
-
แฉกตื้น
-
แฉกลึก
-
ผสมสี่เหลี่ยม
ดอกจิกสี่แฉกกลายมานิยมใช้กันมากระหว่างสมัยฟื้นฟูกอธิคและในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา และพบโดยทั่วไปในคริสต์สถานจนกระทั่งทุกวันนี้ บริเวณที่พบบ่อยคือการตกแต่งลวดลายบนหน้าต่างโดยเฉพาะในสถาปัตยกรรมกอธิค ที่จะปรากฏบนยอดของโค้งแหลมแบบกอธิค หรือบางครั้งก็บนหน้าต่างประดับกระจกสี
ในทางศิลปะดอกจิกสี่ใช้ในการตกแต่ง ที่ใช้ดอกจิกสี่ของสถาปัตยกรรมผสมกับทรงสี่เหลี่ยมเช่นในภาพข้างบน งานที่ใช้ดอกจิกสี่ที่มีชื่อเสียงที่สุดคืองานแผ่นสัมริดบนประตูด้านใต้ของหอศีลจุ่มซานจิโอวานนิในฟลอเรนซ์ที่สร้างโดยอันเดรีย ปิซาโน และแผ่นสัมริดบนประตูด้านเหนือของหอศีลจุ่มโดยลอเร็นโซ กิเบอร์ติ และโดยแผ่นที่สร้างสำหรับการแข่งขันในการสร้างประตูเดียวกันโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี
อ้างอิง
[แก้]- The Artist Blacksmith, Volume 5, Number 4. www.Artist-Blacksmith.org.
- The Artist Blacksmith, Volume 6, Number 1, 2 & 3.
- The Hammers Blow, Volume 6, Number 4.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ดอกจิกสี่แฉก วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ดอกจิกสี่แฉกในมุทราศาสตร์
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ระเบียงภาพบนผนังหน้ามหาวิหารอาเมียงที่ใช้ดอกจิกสี่แฉกเป็นกรอบ
-
หนึ่งในชุดทางสู่กางเขนภายใน
มหาวิหารซอยซองส์ -
ดอกจิกสี่แฉกบนตราอาร์มของ ฮอททิงเก็น
-
ลายดอกจิกสี่แฉกบน
ตราอาร์มของมอเรพาส์