ข้ามไปเนื้อหา

ซิมโฟนีหมายเลข 2 (มาห์เลอร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซิมโฟนีหมายเลข 2 ผลงานประพันธ์ของกุสตาฟ มาห์เลอร์ เป็นที่รู้จักในชื่อ "การฟื้นคืนชีพ" (Resurrection) ประพันธ์ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1888 ถึง ค.ศ. 1894 จัดแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1894 เป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จและได้รับคำชื่นชมในขณะที่มาห์เลอร์ยังมีชีวิตอยู่ รองมาจากซิมโฟนีหมายเลข 8 ของเขา

ฮานส์ ฟอน บือโลว์ (ซ้าย) และฟรีดิช ก็อตเลียบ คล็อปสต็อก (ขวา) ฮานส์ ฟอน บือโลว์ (ซ้าย) และฟรีดิช ก็อตเลียบ คล็อปสต็อก (ขวา)
ฮานส์ ฟอน บือโลว์ (ซ้าย) และฟรีดิช ก็อตเลียบ คล็อปสต็อก (ขวา)

ในปี ค.ศ. 1888 มาห์เลอร์ได้แต่งซิมโฟนิกโพเอ็มขึ้นมาบทหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Totenfeier (Funeral Rites, งานศพ) พร้อมกับร่างบทร่างของมูฟเมนต์ที่สอง จากนั้นได้ละทิ้งงานชิ้นนี้ไปถึงห้าปี จนถึงปี 1893 จึงกลับมาเขียนมูฟเมนต์ที่สองและสามต่อ [1] มาห์เลอร์ใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานหลายเดือน ว่าจะจบซิมโฟนีของเขาอย่างไร และเลือกจะใช้การร้องประสานเสียง ในรูปแบบเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโทเฟน [1]

ในขณะนั้นมาห์เลอร์ร่วมงานและสนิทสนมกับฮานส์ ฟอน บือโลว์ (1830–1894) เมื่อบือโลว์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1894 มาห์เลอร์ไปร่วมพิธีศพและได้ฟังบทเพลงฮิมน์ของฟรีดิช ก็อตเลียบ คล็อปสต็อก (1724–1803) ชื่อ "Die Auferstehung" (The Resurrection, การฟื้นคืนชีพ) ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการประพันธ์ท่อนจบของซิมโฟนี มาห์เลอร์นำผลงานของคล็อปสต็อกมาตัดแปลง และเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการไถ่บาป (redemption),การฟื้นคืนชีพ (resurrection) และชีวิตหลังความตาย [1]

ซิมโฟนีหมายเลข 2 ของมาห์เลอร์ มีความยาวประมาณ 80 ถึง 90 นาที ประกอบด้วย 5 มูฟเมนต์

  1. Allegro maestoso (C minor)
  2. Andante moderato (A-flat major)
  3. In ruhig fließender Bewegung (With quietly flowing movement) (C minor)
  4. Urlicht (Primeval Light). Sehr feierlich, aber schlicht ขับร้องด้วยเสียงอัลโต
  5. Im Tempo des Scherzos มูฟเมนต์สุดท้ายนี้มีความยาวถึงครึ่งชั่วโมง โดยลงท้ายด้วยการร้องประสานเสียง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Steinberg, Michael, The Symphony (New York and Oxford: Oxford University Press, 1995). ISBN 0-19-506177-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]