ข้ามไปเนื้อหา

สามราชาห้าจักรพรรดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ซานหวงอู่ตี้)
ยุคสามราชาห้าจักรพรรดิ

ป. 3162 ปีก่อนคริสตกาล–ป. 2070 ปีก่อนคริสตกาล
แผนที่ชนเผ่าและสหภาพชนเผ่าในจีนโบราณ รวมเผ่าที่นำโดยหวงตี้, หยานตี้ และชือโหยว
แผนที่ชนเผ่าและสหภาพชนเผ่าในจีนโบราณ รวมเผ่าที่นำโดยหวงตี้, หยานตี้ และชือโหยว
สถานะอาณาจักรในตำนาน
เมืองหลวงชฺวีฟู่
ภาษาทั่วไปจีนเก่า, กลุ่มภาษาจีน
การปกครองราชาธิปไตยแบบหัวหน้าเผ่า
ตี้ 
• 2698–2598 ปีก่อนคริสตกาล
หวง
• 2514–2436 ปีก่อนคริสตกาล
จฺวันซฺวี
• 2436–2366 ปีก่อนคริสตกาล
คู่
• 2366–2358 ปีก่อนคริสตกาล
จื้อ
• 2356–2255 ปีก่อนคริสตกาล
เหยา
• 2255–2208 ปีก่อนคริสตกาล
ชุ่น
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
ป. 3162 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ป. 2070 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
วัฒนธรรมยุคหินใหม่ของจีน
ราชวงศ์เซี่ย
สามราชาห้าจักรพรรดิ
ภาษาจีน
ความหมายตามตัวอักษรสามราชาห้าจักรพรรดิ

สามราชาห้าจักรพรรดิ (จีน: 三皇五帝; พินอิน: Sānhuáng Wǔdì; อังกฤษ: Three Sovereigns and Five Emperors) เป็นกลุ่มบุคคลหรือเทวดาซึ่งตำนานกล่าวว่า ปกครองภาคเหนือของจีนโบราณ

สามราชามาก่อนห้าจักรพรรดิ และห้าจักรพรรดินั้นมีผู้กำหนดว่า ปกครองอยู่ในราว 2852–2070 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบัน อาจถือว่า บุคคลเหล่านี้เป็นวีรบุรุษทางวัฒนธรรม (culture hero)[1]

ว่ากันว่า ราชาทั้งสามเป็นเทพหรือกึ่งเทพซึ่งสร้างความเป็นอยู่ที่ดีและอบรบสั่งสอนวิชาความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้คน[2] เช่น สอนให้ใช้ไฟ สอนปลูกสร้างบ้านเรือน สอนทำเรือกสวนไร่นา ค้นพบหยูกยา รวมถึงจัดตั้งปฏิทินและอักษรจีน ส่วนมเหสีของราชาบางองค์ก็ว่า เป็นผู้คิดค้นวัฒนธรรมเกี่ยวกับผ้าไหม ส่วนจักรพรรดิทั้งห้าก็ว่า เป็นปราชญ์ตัวอย่างซึ่งมีคุณธรรมล้ำเลิศ มีอายุยืนยาว ปกครองผู้คนให้สงบร่มเย็น เอกสารจีนโบราณยังระบุว่า สามราชาและห้าจักรพรรดิมีลักษณะพิเศษต่าง ๆ กันออกไป[3]

ยุคสมัยของสามราชาห้าจักรพรรดิอาจเป็นตำนานมากกว่าเรื่องจริง แต่เอกสารบางฉบับและการตีความใหม่ในบางแง่เห็นว่า ยุคสามราชาห้าจักรพรรดิมาก่อนยุคราชวงศ์เซี่ย (ซึ่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไม่มีตัวอักษร และปรากฏแต่ในบันทึกสมัยหลังมากแล้ว)[3]

คำว่า "หฺวังตี้" (皇帝) ซึ่งปัจจุบันแปลกันว่า "จักรพรรดิ" (emperor) นั้นก็มีที่มาจากคำว่า "หฺวัง" (ราชา) และ "ตี้" (จักรพรรดิ) อันเป็นคำเรียกกลุ่มสามราชาห้าจักรพรรดินี้ ผู้ใช้คำว่า "หฺวังตี้" เป็นบุคคลแรก คือ ฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝; "ปฐมจักรพรรดิฉิน") แห่งรัฐฉิน (秦国)

รายชื่อ

[แก้]

เอกสารโบราณระบุองค์ประกอบของสามราชาห้าจักรพรรดิไว้ต่างกันไป[4] เอกสารส่วนใหญ่เขียนในสมัยหลังยุคสามราชาห้าจักรพรรดิมากแล้ว บางฉบับก็หลายร้อยปี บางฉบับเป็นพันปี และมักสร้างขึ้นจากความต้องการของผู้ปกครองในสมัยนั้น ๆ ที่ประสงค์จะแสดงว่า ตนสืบสายมาจากวีรบุรุษในตำนาน มากกว่าจะแสดงข้อเท็จจริงทางประวัติ เนื้อหาจึงมักเป็นไปในเชิงนิทานหรือตำนาน[5]

แม้เรียกว่า "สามราชา" แต่บุคคลที่เอกสารต่าง ๆ ระบุว่า เป็นสามราชา มีถึงสิบเอ็ดคน คือ ก้งกง (共工), จักรพรรดิเหลือง (黄帝), จู้หรง (祝融), เฉินหนง (神農), ซุ่ยเหริน (燧人), ตี้หฺวัง (地皇; "เจ้าโลก"), เทียนหฺวัง (天皇; "เจ้าฟ้า"), ไท่หฺวัง (泰皇; "เจ้าใหญ่"), นฺหวี่วา (女媧), ฝูซี (伏羲), และเหรินหฺวัง (人皇; "เจ้าคน")

ส่วนที่เรียกว่า "ห้าจักรพรรดิ" มีแปดคน คือ คู่ (嚳), จักรพรรดิเหลือง (黄帝), จฺวันซฺวี (顓頊), เฉ่าเฮ่า (少昊), ชุ่น (舜), ไท่เฮ่า (太昊), หยาน (炎), และเหยา (堯)

เอกสาร สามราชา ห้าจักรพรรดิ
ฉื่อจี้ (史記) ของซือหม่า เชียน (司馬遷)[4]
ตี้หวังชื่อซี่ (帝王世系)[4]
ชื่อเปิ่น (世本)[4]
ไป๋หู่ทงอี้ (白虎通義)[4]
เฟิงสูทงอี้ (風俗通義)[4]
อี้เหวินเล่ย์จฺวี่ (藝文類聚)[4]
ทงเจี้ยนไว่จี้ (通鑑外紀)
ชุนชิว-ยฺวิ่นโต้วชู (春秋運斗樞)
ชุนชิว-ยฺเหวียนมิ่งเปา (春秋元命苞)
ช่างชูต้าฉวน (尚書大傳)
ตี้หวังชื่อจี้ (帝王世紀)
อี้จิง (易經)[4]
เฉียนฟูลุ่น (潛夫論)[6]
จือจื้อทงเจี้ยนไว่จี้ (資治通鑒外紀)[6]

แผนผังการสืบสกุลของห้าจักรพรรดิ

[แก้]
แผนผัง
(1)
จักรพรรดิเหลือง
(黄帝)[7]
(2)
เฉ่าเฮ่า
(少昊)
ชางอี้
(昌意)
เจี่ยวจี๋
(蟜極)
(3)
จฺวันซฺวี
(顓頊)
(4)
คู่
(嚳)
ฉฺยงฉาน
(窮蟬)
กู่แห่งฉู่
(古蜀王)
เชิง
(称)
เถาอู้
(梼杌)
หวังเหลี่ยง
(魍魉)
(5)
จื้อ
(挚)
เซี่ย
(契)
(6)
เหยา
(堯)
โฮ่วจี้
(后稷)
จิ้ง
(敬康)
เหล่าถง
(老童)
ตันจู
(丹朱)
จฺวี้ว่าง
(句望)
จู้หรง
(祝融)
อู๋หุย
(吳回)
เฉียวหนิว
(橋牛)
กุ่น
(鯀)
กู๋โส่ว
(瞽叟)
(8)
อวี่
(禹)
ลู่จง
(陸終)
เอ๋อหฺวัง
(娥皇)
(7)
ชุ่น
นฺหวี่อิง
(女英)
คุนอู๋
(昆吾)
เชินหู
(參胡)
เผิงจู่
(彭祖)
ฮุ่ยเหริน
(會人)
จี้เหลียน
(季連)
?เฉา
(?曹)
ชางจฺวิน
(商均)

รูป

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hucker, Charles (1995). China's Imperial Past: An Introduction to Chinese History and Culture. Stanford University Press. p. 22. ISBN 9780804723534.
  2. Eliade, Mircea; Adams, Charles J., บ.ก. (1987). The Encyclopedia of religion. Vol. 9, Liu–Mith. Macmillan. p. 133. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. 3.0 3.1 Morton, W. Scott; Lewis, Charlton M. (2005). China: its history and culture. McGraw-Hill. p. 14. ISBN 978-0-07-141279-7.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 劉煒 (2002). 中华文明传真 [Chinese civilization in a new light]. Commercial press publishing. p. 142. ISBN 962-07-5314-3.
  5. Soothill, William Edward; Hosie, Dorothea Lady; Hudson, G. F. (2002). The Hall of Light: A Study of Early Chinese Kingship. James Clarke & Co. pp. 146–. ISBN 978-0-227-17123-3.
  6. 6.0 6.1 Ulrich Theobald. "Sanhuang wudi 三皇五帝, the Three Augusts and Five Emperors". ChinaKnowledge.de.
  7. Sima Qian, Records of the Grand Historian

อ่านเพิ่ม

[แก้]