ข้ามไปเนื้อหา

ทิศตะวันตกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทิศหรดี)
วงกลมแสดงทิศ (compass rose ) ระบุทิศหลักและทิศรอง โดยทิศตะวันตกเฉียงใต้ (SW) อยู่ทางมุมซ้าย

ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ทิศหรดี, เนรดี เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ขวามือของทิศตะวันตก และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ด้านมุมซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมขวาของแผนที่ดาว

คำแปลตามพจนานุกรม

[แก้]

ทิศหรดี [หอระดี] ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้นิยามคำว่า ทิศหรดีไว้แปลว่า ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (บาลี สันสกฤตว่า ไนรฺฤติ) ซึ่งเป็นหนึ่งในทิศทั้งแปด

ความเชื่อมโยงตามวรรณคดีไทย

[แก้]

ช้างเผือกประจำทิศหรดี คือ ช้างกระมุทอยู่ทิศหรดี เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศหรดี ให้บังเกิดเป็นช้างชื่อกระมุท มีลักษณะ ๕ ประการ สีดังดอกกระมุท ตัวสูงโสตรยาวกลมหูอ่อน เสียงดุจเสียงแตรงอน งางอนขึ้นขวาดังพระจันทร์ เมื่อขึ้น ๓ ค่ำ พร้อมด้วยลักษณะ ตามตำรา คชศาสตร์

คตินิยมและความเชื่อ

[แก้]

ตามคติความเชื่อของคนไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนานั้น เชื่อกันว่าในสรรพสิ่งทั้งหลายมีเทวดาอยู่รายรอบตัวเรา ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือในกฎหมายตราสามดวงที่มักกล่าวถึงเทวดาไว้ในพระไอยการต่าง ๆ เช่น ในลักษณภญาณมีกล่าวไว้ว่า “...แลปางนี้ฃอเทพยุดาเจ้าทังหลาย คือพระอินท พระพรหม พระยมราช แลท้าวจาตุโลกบาล พระจันท พระอาทิตย์ ภูมอารักษอากาศเทพยุดาผู้รักษาพระพุทธศาสนา แลเทพยุดาอันรักษาซึ่งขอขันธเสมาแลพระมหาบวรเสวตรฉัตรจงเสดจ์มาประชุมให้พร้อมกันในสถานที่นี้ ฟังซึ่งคำคนผู้จะเปนสักขิพญาณแก่กัน...”

ตามตำราพรหมชาติมีความเชื่อว่าพืชมงคลประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้คือ พิกุล ราชพฤกษ์ ขนุน และ สะเดา

ส่วนเทวดาประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้คือพระเสาร์ เสาร์ ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗

ส่วนมหาเทพประจำทิศคือ พระนิรฤดี ซึ่งคือที่มาของคำว่า หรดี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]