ข้ามไปเนื้อหา

ช้างตระกูลอิศวรพงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ช้างตระกูลอิศวรพงศ์ เป็นหนึ่งช้างเผือกสี่ตระกูลซึ่งสร้างโดยมหาเทพ พระอิศวรในวิชาไตรเทพของศาสนาพราหมณ์ โดยตำราพระคชศาสตร์ และตำรานารายณ์ประทมสินธุ์ ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคลว่า พระนารายณ์บรรทมบนเกษียรสมุทร บังเกิดดอกบัวจากพระอุทรมี 8 กลีบ 173 เกสร จึงนำไปถวายพระอิศวร ที่เขาไกรลาศ พระอิศวรแบ่งเกสรดอกบัวนั้นประทานแก่พระองค์เอง พระอิศวร รับเกสรไว้ 8 เกสร ประทานแก่ พระพรหม จำนวน 24 เกสร ประทานแก่ พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ จำนวน 8 เกสร และประทานแก่พระอัคคีหรือพระเพลิง จำนวน 135 เกสร

ความเชื่อที่เล่ามาจากอดีต

[แก้]

พระอิศวร พระพรหม พระวิษณุ และพระเพลิง มหาเทพทั้ง 4 ต่างสร้างช้างเผือกตระกูลต่าง ๆ 4 ตระกูล จากเกสรดอกบัวนั้นดอกบัวให้เป็นโลก พระพรหม พระอิศวร พระวิษณุและพระอัคนี มหาเทพทั้ง 4 ทรงเนรมิตช้างจากกลีบและเกสรบัว ที่พระนารายณ์ประทาน และสามารถแบ่งช้างมงคลเป็น 4 ตระกูล ตามนามแห่งเทพผู้ให้กำเนิด คือ

บังเกิดช้างตระกูลอิศวรพงศ์

[แก้]

ช้างตระกูลอิศวรพงศ์ สร้างขึ้นโดย พระอิศวร อันพระอิศวรให้บังเกิดด้วยเกสรประทุมชาติ์ ช้างตระกูลนี้ พระอิศวรเป็นเจ้าให้บังเกิดชาติ์กระษัตริย์ ชื่อว่าอิศวรพงศ์สมบูรณ์ด้วยลักษณะ เนื้อดำสนิทผิวเนื้อละเอียดเกลี้ยง งาทั้ง 2 งาใหญ่ขึ้นเสมอกัน เท้าใหญ่ น้ำเต้ากลม โขมดสูง งวงเรียวเป็นต้นปลาย ปากดุจพวยสังข์ คอกลม เมื่อเดินนั้นยกคอ หลังเป็นคันธนู ท้ายเป็นสุกร ผนฎท้องตามวงหลัง อกใหญ่ หน้าสูงกว่าท้าย เท้าหน้าทั้ง 2 อ่อน เท้าหน้าหลังเรียวรัดฝักบัวกลม หางเป็นข้อห่วง สนับงาเป็น 2 ชั้น ขนับเสมอมิได้พร่อง หูใหญ่ช่อม่วงยาวข้างขวามีใบหูอ่อนนุ่มมีขนมากกว่าข้างซ้าย หน้าใหญ่ สรรพงามพร้อมต้องด้วยลักษณะช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่าง ๆ พระอิศวรได้สร้าง

ช้างชนิดต่าง ๆ ที่พระอิศวร ทรงสร้าง

[แก้]

อัฐคชาธาร อันพระอิศวรเป็นเจ้าให้บังเกิดด้วยเกสรประทุมชาติ์หรือด้วยเกสรดอกบัวทั้ง 8 เกสร บังเกิดช้างทั้ง 8 คือ เกสรที่

  • 1. อ้อมจักรวาฬ เกสรหนึ่งทิ้งออกไปให้บังเกิดเป็นช้างหนึ่งชื่อว่า อ้อมจักรวาฬ งาซ้ายเสมอหน้างวง งาขวากอดงวงทับบนงาซ้ายหนิดหนึ่ง
  • 2. คชกรรณหัษดี เกสรหนึ่งทิ้งออกไปให้บังเกิดช้างหนึ่งชื่อว่า คชกรรณหัษดี งาขวาโอบงวงบน งาซ้ายอ้อมขึ้นไพรปาก งาซ้ายโอบงวงไปใต้งาขวา ปลายงาขึ้นไพรปากเสมอกัน ชนช้างดีมีอานุภาพมาก
  • 3. เอกทันต์ เกสรหนึ่งทิ้งออกไปให้บังเกิดเป็นช้างหนึ่งชื่อว่า เอกทันต์ งางอกแต่เพดาน งางอนขึ้นขวา ยกงวงช้างขวางงาอยู่ซ้าย ยกงวงไปซ้ายงาอยู่ขวา มีกำลังมาก พันช้างจึงจะสู้เอกทันต์ตัวเดียวได้ แทงเงาตาย เป็นพาหนะแห่งพระอินทร์ เทพคชนาคไปรักษาไว้ป่าพ้นคนเห็น
  • 4. กาฬทันต์หัษดี เกสรหนึ่งทิ้งออกทิ้งไปให้บังเกิดเป็นช้างหนึ่งชื่อว่า กาฬทันต์หัษดี มีกาย งา เล็บ ตา ดำทั่วสารพางค์
  • 5. จัตุศก เกสรหนึ่งทิ้งออกไปให้บังเกิดเป็นช้างหนึ่งชื่อว่า จัตุศก โขมดสูงงาทั้ง 2 ช้าง แต่ละข้างนั้น ต้นกลมกล่อมดีปลายเป็น 2 งาทั้งซ้าย ขวา เป็น 4 งา
  • 6. โรมทันต์ เกสรหนึ่งทิ้งออกไปให้บังเกิดเป็นช้างหนึ่งชื่อว่า โรมทันต์ ต้นงาขวาทับต้นงาซ้าย มีกำลังมาก ถ้าพระยาองค์ใดได้ขี่ปราบศัตรู ๆ แลเห็นก็พ่ายแพ้
  • 7. สิงหชงฆ์ เกสรหนึ่งทิ้งออกไปให้บังเกิดเป็นช้างหนึ่งชื่อว่า สิงหชงฆ์ เท้าหลังดำดุจสิงหราช
  • 8. จุมปราสาท เกสรหนึ่งทิ้งออกไปให้บังเกิดเป็นช้างหนึ่งชื่อว่า จุมปราสาท ปลายงามีรัศมีอันแดง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]