ข้ามไปเนื้อหา

ช่องรูปกลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่องรูปกลม
(Round window)
หูชั้นกลาง ช่องรูปกลมอยู่ด้านขวา
ด้านในของกระดูกหูชั้นใน (osseous labyrinth) ข้างขวา ช่องรูปกลมติดป้ายว่า cochlear fenestra ที่ด้านล่างตรงกลาง
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินFenestra cochleae, fenestra rotunda
MeSHD012405
TA98A15.3.02.015
TA26904
FMA56932
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ช่องรูปกลม[1] (อังกฤษ: Round window) เป็นช่องหนึ่งในสองช่องจากหูชั้นกลางเข้าไปยังหูชั้นใน ปิดโดยเยื่อที่เรียกว่า secondary tympanic membrane หรือ round window membrane ซึ่งสั่นตามเฟสตรงกันข้ามของแรงสั่นที่เข้ามาในหูชั้นในผ่านช่องรูปไข่ (oval window) ซึ่งช่วยให้น้ำในคอเคลียสามารถเคลื่อนได้ แล้วทำให้เซลล์ขนบนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ได้รับแรงเร้าและทำให้ได้ยินได้

โครงสร้าง

[แก้]

ช่องรูปกลมอยู่ใต้และหลังช่องรูปไข่เล็กน้อย โดยมีเนินกลมสูงที่แบ่งช่องทั้งสอง มันอยู่ที่ก้นของหลุมรูปกรวย (ซึ่งเรียกว่า round window niche) ซึ่งเปิดเข้าไปในคอเคลียของหูชั้นใน ในสภาพปกติ ช่องจะปิดด้วยเยื่อที่เรียกว่า secondary tympanic membrane หรือ round window membrane ซึ่งมีรูปร่างซับซ้อนเหมือนอานม้า ส่วนตรงกลางที่มองเห็นได้บุ๋มเข้าไปทางด้านช่องแก้วหู และนูนออกทางด้านคอเคลีย แต่ที่ริม ๆ ซึ่งซ่อนอยู่ใน round window niche มันจะโค้งไปอีกทางหนึ่ง เยื่อนี้มี 3 ชั้น คือ

  • ด้านนอกคอเคลีย เป็นเมือกคล้ายกับที่บุช่องแก้วหู
  • ด้านใน เป็นเยื่อบุของคอเคลีย
  • ตรงกลาง เป็นชั้นที่มีลักษณะเป็นใย (fibrous)

ทั้งช่องรูปไข่และช่องรูปกลมมีเนื้อที่ประมาณเท่ากัน คือ 2.5 มม2 แต่ว่า ทางเข้า round window niche บ่อยครั้งเล็กกว่านี้มาก

หน้าที่

[แก้]

กระดูกโกลนเป็นตัวส่งแรงสั่นเสียงไปให้ช่องรูปไข่ เมื่อฐานของกระดูกขยับเข้าไปยังช่องรูปไข่ เยื่อที่ช่องรูปกลมก็จะนูนออก การเคลื่อนไหวเช่นนี้ทำให้น้ำในคอเคลียสามารถเคลื่อนได้ แล้วทำให้เซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ของคอเคลียเคลื่อนได้ และดังนั้น จึงจะสามารถได้ยินได้ ถ้าช่องรูปกลมไม่มีหรือว่าแข็งทื่อ (ซึ่งสามารถเกิดได้จากความผิดปกติแต่กำเนิด) ฐานกระดูกโกลนก็เท่ากับดันน้ำที่บีบอัดไม่ได้กับกำแพงของคอเคลียซึ่งเป็นกระดูกขยับไม่ได้ และดังนั้น ก็จะไม่เคลื่อนน้ำมากพอ ทำให้สูญการได้ยินประมาณ 60 เดซิเบล ซึ่งคล้ายกับอาการที่ตัวกระดูกโกลนเองเคลื่อนไม่ได้ คือ otosclerosis

ความสำคัญทางคลินิก

[แก้]

ช่องรูปกลมบางครั้งมีพัฒนาการผิดพลาดทำให้เสียการได้ยินดังที่กล่าวแล้วด้านบน แต่ความพิการเยี่ยงนี้บ่อยครั้งเกิดขึ้นพร้อมกับความพิการของหูอย่างอื่น ๆ จึงทำให้เสียการได้ยินยิ่งกว่านั้นอีก เคยมีการผ่าตัดหูบางชนิด (ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยทำแล้ว) ที่เปิดช่องรูปกลมให้ต่อกับโลกภายนอก ในขณะที่ปิดช่องรูปไข่ไว้ ดังนั้น แรงเสียงก็จะกระทบกับช่องรูปกลม โดยที่ไม่กระทบช่องรูปไข่ แล้วคลื่นเสียงก็จะวิ่ง "กลับทาง" แต่ก็ยังสามารถให้ได้ยินเสียงเป็นบางส่วนเพราะว่าขนของเซลล์ขนก็ยังจะเบนในลักษณะเหมือนกัน

ช่องรูปกลมบ่อยครั้งใช้เป็นช่องเพื่อผ่าตัดใส่คอเคลียเทียม (cochlear implant) และเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งใช้เพื่อใส่ตัวแปรสัญญาณ (transducer) เสียงในหูชั้นกลาง ดังที่พบในงานศึกษาปี 2549[2]

รูปภาพอื่น ๆ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "window, round", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ช่องรูปกลม
  2. Colletti, V; Soli, SD; Carner, M; Colletti, L (2006). "Treatment of mixed hearing losses via implantation of a vibratory transducer on the round window". International journal of audiology. 45 (10): 600–8. doi:10.1080/14992020600840903. PMID 17062502.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]