ข้ามไปเนื้อหา

พันธมิตรชานม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance)
ชื่อย่อพันธมิตรชานม MTA
ก่อตั้ง10 เมษายน พ.ศ. 2563 (4 ปี)[1]
วัตถุประสงค์
สังกัด
ธง "พันธมิตรชานม" ที่ชาวเน็ตสร้างขึ้น สีของธงที่หันไปทางซ้ายหมายถึงชานมไทยชานมฮ่องกงและชานมไต้หวัน[7]

พันธมิตรชานม (อังกฤษ: Milk Tea Alliance) เป็นขบวนการในโลกออนไลน์เพื่อความเป็นปึกแผ่นทางประชาธิปไตย ประกอบด้วย ชาวเน็ตฮ่องกง ไต้หวัน และไทย เดิมทีเริ่มต้นจากอินเทอร์เน็ตมีมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบโต้เกรียนและผู้ออกความเห็นแนวชาตินิยมชาวจีนที่ออกมาตอบโต้ในกรณีที่ไทยบอกว่าใต้หวันเป็นประเทศซึ่งมีการตอบโต้กันไปมาอย่างดุเดือด[8] และพัฒนาไปสู่ขบวนการประท้วงที่มีพลวัตและมีลักษณะข้ามชาติเพื่อผลักดันประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เบื้องหลัง

[แก้]
ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก
image icon พันธมิตรชานม Milk Tea Alliance memes published จากเพจเฟซบุ๊ค "奶茶通俗學 Milktealogy"[7]

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ในไต้หวันและฮ่องกงได้เข้าร่วมกับผู้ใช้ชาวไทยและสื่อสารกันในข้อความลักษณะ “ช่วงเวลาแห่งความเป็นปึกแผ่นในระดับภูมิภาคที่หาได้ยาก"[9] Pallabi Munsi เขียนใน OZY สื่อต่างประเทศ อธิบายว่าพันธมิตรชานมได้พูดถึง 50 Cent Party หรือเปรียบเป็นพรรค 50 เซ็นต์ (สกุลเงิน) ที่อ้างว่ามาจากการจ้างจากทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อพยายามบิดเบือนความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประโยชน์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และ Little Pink ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายกลุ่มวัยรุ่นจีนที่คลั่งไคล้อินเทอร์เน็ตว่าในฐานะ "กองทัพอาสาสมัครของเอเชียที่ลุกขึ้นต่อสู้กับกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีน"[10]

ชื่อ

[แก้]

ชานมได้รับการมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการผนึกกำลังต่อต้านจีน เนื่องจากหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการบริโภคชาร่วมกับนม และชาประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในทั้งสามประเทศ ในขณะที่ประเทศจีนไม่นิยมบริโภค[11] ชาไข่มุกไต้หวัน ชานมฮ่องกง และชาไทย ล้วนเป็นชานมท้องถิ่นที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]

ในเดือนต่อมากลุ่มพันธมิตรชานมได้พัฒนาจากการต่อต้านชาวปักกิ่งเป็น "ขบวนการประท้วงที่ไม่มีผู้นำที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”[12]

  • หลังการเกิดเหตุการณ์การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563 อินเดียยังถูกรวมอยู่ในกลุ่มพันธมิตรนี้ โดยมีมสาลาจาย ชาใส่เครื่องเทศที่มีชาและนมเป็นส่วนประกอบ เป็นสัญลักษณ์เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรชานมที่หลากหลาย[13] [14]
  • หลังจากที่ออสเตรเลียเรียกร้องให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการจัดการโควิด-19 ที่ไม่เรียบร้อยขององค์การอนามัยโลก จีนขู่คว่ำบาตรผู้บริโภคหากออสเตรเลียไม่ยอมถอยจากข้อเรียกร้องในการไต่สวน จากนั้นชาวอินเทร์เน็ตได้รวมออสเตรเลียเป็นสมาชิกของพันธมิตรชานม แต่ความสัมพันธ์กับชานมนั้นมีความสำคัญเพียงเล็กน้อยกับผลิตภัณฑ์นม Aptamil ที่ยืนอยู่ในชานมที่อยู่ในภาพแห่งความหลายหลาย[15]
  • ในเดือนสิงหาคม 2563 ได้มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทยอีกครั้งซึ่งเป็นการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยได้รับการสนับสนุนและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากชาวไต้หวันและฮ่องกง เช่น โจชัว หว่อง และมีการใช้แฮชแท็ก #MilkTeaAlliance โดยผู้ประท้วง[16] ด้านชาวไทยโพสต์ข้อความพร้อมติดแฮชแท็ก #MilkTeaAlliance และ #save12hkyouths ในเวลา 16.00 น. เพื่อกดดันรัฐบาลจีนและฮ่องกงปล่อยตัวเยาวชน 12 คนที่จีนจับตัวอยู่ให้กลับฮ่องกงโดยสวัสดิภาพ[17]
  • การประท้วงในประเทศเบลารุส พ.ศ. 2563 เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมหลังจากฝ่ายค้านและหน่วยตรวจสอบระหว่างประเทศกล่าวว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีในประเทศนี้ไม่ใช่การเลือกตั้งที่ยุติธรรม นักเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตบางคนจากเอเชียรวม Ryazhenka ซึ่งเป็นเครื่องดื่มนมหมักแบบดั้งเดิมของเบลารุส,รัสเซียและยูเครน เป็นสัญลักษณ์อยู่ในกลุ่มพันธมิตรชานม เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับชาวเบลารุสในการต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค[18] ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสหภาพระหว่างรัสเซียและเบลารุส
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หลังเกิดรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 ผู้ประท้วงในพม่าและไทยเริ่มรับพันธมิตรชานมมาใช้แสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว โดยมีการแชร์ภาพถุงชาตรา "รอยัลเมียนมาที" ไปหลายพันครั้ง[19] ภาพที่ สินา วิทยวิโรจน์ ศิลปินชาวไทย วาดขึ้น ซึ่งแสดงถึงชานมไทย ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย และพม่า โดยมีพาดหัวว่า "พันธมิตรชานม" นั้น กลายเป็นกระแส[19] และผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารได้ผนวกกำลังกันเป็นขบวนการประท้วงทางออนไลน์อย่างแข็งขัน[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน”
  2. ชานมข้นกว่าเลือด : ประจักษ์ ก้องกีรติ มอง พันธมิตรชานม ปะทะ “สลิ่มจีน” ใน “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน”
  3. ‘พันธมิตรชานม’ สงครามตัวแทนการเมืองไทยบนทวิตภพ
  4. ‘พันธมิตรชานม’ฮ่องกงแรงบันดาลใจผู้ชุมนุมไทย
  5. 5.0 5.1 5.2 ชานมข้นกว่าเลือด : ประจักษ์ ก้องกีรติ มอง พันธมิตรชานม ปะทะ “สลิ่มจีน” ใน “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน”
  6. เพื่อประชาธิปไตย! อินเดียเข้าร่วมพันธมิตรชานมไทย-ไต้หวัน”
  7. 7.0 7.1 "【我們信靠奶茶】「泰幽默」擊退「小粉紅」 泰港台三地網民籲組「奶茶聯盟」齊抗中國網軍". 立場新聞. 2020-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-20. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
  8. Lau, Jessie. "Why the Taiwanese are thinking more about their identity". www.newstatesman.com. New Statesman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2020. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
  9. Smith, Nicola (3 May 2020). "#MilkTeaAlliance: New Asian youth movement battles Chinese trolls". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  10. Munsi, Pallabi (2020-07-15). "The Asian Volunteer Army Rising Against China's Internet Trolls". OZY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.
  11. Deol, Taran. "'We conquer, we kill': Taiwan cartoon showing Lord Rama slay Chinese dragon goes viral". theprint.in. The Print. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2020. สืบค้นเมื่อ 18 June 2020.
  12. Chen, Heather. "Milk Tea Alliance: How A Meme Brought Activists From Taiwan, Hong Kong, and Thailand Together". www.vice.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  13. Deol, Taran. "'We conquer, we kill': Taiwan cartoon showing Lord Rama slay Chinese dragon goes viral". theprint.in. The Print. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2020. สืบค้นเมื่อ 18 June 2020.
  14. เพื่อประชาธิปไตย! อินเดียเข้าร่วมพันธมิตรชานมไทย-ไต้หวัน 14 ตุลาคม 2563.ค้นหาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563
  15. Everington, Keoni. "Photo of the Day: Australia joins Milk Tea Alliance with Taiwan". www.taiwannews.com.tw. Taiwan News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
  16. Patpicha, Tanakasempipat; Chow, Yanni. "Pro-Democracy Milk Tea Alliance Brews in Asia". www.usnews.com. US News and World Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  17. พันธมิตรชานม ติดแท็ก #save12hkyouths กดดัน จีน ปล่อยเยาวชนฮ่องกง. 19 ตุลาคม 2563.สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563
  18. Chachavalpongpun, Pavin (2020). "CONSTITUTIONALIZING THE MONARCHY: UNCOMPROMISING DEMANDS OF THAI PROTESTERS". Journal of International Affairs. 73 (2): 163–172. doi:10.2307/26939972. ISSN 0022-197X.
  19. 19.0 19.1 "#MilkTeaAlliance has a new target brewing: Myanmar's military". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
  20. Lau, Jessie. "Myanmar's Protest Movement Finds Friends in the Milk Tea Alliance". thediplomat.com. The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 12 February 2021.