ข้ามไปเนื้อหา

ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มกราคม พ.ศ. 2567
(1 ปี 70 วัน)
ก่อนหน้าสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
(ลาออก)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 เมษายน พ.ศ. 2532 (35 ปี)
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2564–ปัจจุบัน)

ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ (เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2532) ชื่อเล่น หนุ่ม[1] เป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

[แก้]

ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ เกิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2532 ที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรชายของ นาย เกษม รุ่งธนเกียรติ[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์หลายสมัย สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) และปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] พร้อมทั้งจบปริญญาโท2 ใบ ได้แก่ ปริญญาโทวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (MRE) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทใบที่ 2 International Master of Public Administation (IMPA) ที่ Tsinghua University

การทำงาน

[แก้]

ชนินทร์ เป็นนักธุรกิจผู้มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ สำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรม บริษัท ทิศทางสตูดิโอ จำกัด ในปี พ.ศ. 2555 และ ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท คอนทัวร์ จำกัด[3] ต่อมาภายหลังการจบการศึกษาในระดับปริญญาโทในปี พ.ศ. 2557 ได้ทำงานพัฒนาธุรกิจกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในประเทศไทยหลายบริษัท อาทิ บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน), บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัท อีสเทิร์นสตาร์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

งานการเมือง

[แก้]

ชนินทร์ เข้าทำงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564[4]พร้อมทั้งเคยดำรงตำแหน่ง เป็นกรรมาธิการ และโฆษก คณะกรรมาธิการวิสามัญ ในสภาผู้แทนราษฎร พิจารณากฎหมาย พระราชบัญญัติสถาปนิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2566

- ชนินทร์ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 34 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566และได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566[5]

- ชนินทร์เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง(นายภูมิธรรม เวชยชัย)[6] และได้รับมอบหมายในภารกิจการศึกษาการแก้ไขความเห็นต่างเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

- เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 ชนินทร์ได้รับการเลื่อนลำดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แทนสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ [7]

-เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 สภาผู้แทนราษฎรมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 โดยชนินทร์ได้รับการเสนอชื่อและรับรองให้อยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในการประชุมครั้งแรกได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง "โฆษกกรรมาธิการวิสามัญยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 14/2559"[8]

-เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ชนินทร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "กรรมการ" ในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) [9] เพื่อดําเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ สภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาให้เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนการประสานงาน กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ด้านนิติบัญญัติให้ดําเนินการไปอย่างราบรื่น

-เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 ชนินทร์ได้รับการเสนอชื่อและรับรองให้ดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการและที่ปรึกษา ในคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26

-เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 สภาผู้แทนราษฎรมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....โดยชนินทร์ได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในการประชุมครั้งแรกได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมาธิการฯ คนที่ 1 [10]

-เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 สภาผู้แทนราษฎรมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... โดยชนินทร์ได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในการประชุมครั้งแรกได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง "โฆษกประจำคณะกรรมาธิการ" [11]

-เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 ชนินทร์ได้รับการเสนอชื่อและรับรองให้ดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการและที่ปรึกษา ในคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26[12]

- เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2567 สภาผู้แทนราษฎรมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่...) พ.ศ. .... โดยชนินทร์ได้รับการเสนอชื่อและรับรองให้อยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในการประชุมครั้งแรกได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง "ประธานประจำคณะกรรมาธิการ"[13]

- เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568 สภาผู้แทนราษฎรมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมโดยชนินทร์ได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และในการประชุมครั้งแรกได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง "รองประธานประจำคณะกรรมาธิการคนที่สอง"[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เลือดใหม่". www.thairath.co.th. 2021-12-03.
  2. "แม้วเนื้อหอม "ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ" ดาวรุ่งเจอจอมเก๋าเสื้อแดง". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-02-24.
  3. 3.0 3.1 การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โครงการ โฮมออฟฟิซ บนถนนสุขุมวิท 105 หน้าที่ 140 นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. "เปิดตัว ทีมโฆษกเพื่อไทย ย้ำ "พรุ่งนี้เพื่อไทย" ทุกด้านต้องดีกว่าเดิม". www.thairath.co.th. 2021-11-01.
  5. https://www.prachachat.net/politics/news-1425252
  6. เสาเวียง, อภิวรรณ. "เช็กที่นี่ ครม.แต่งตั้งขรก.การเมืองลอตใหญ่". เดลินิวส์.
  7. "2 สส.ใหม่รายงานตัวกลางสภา เลื่อนแทน "ศักดิ์สยาม-สุริยะ"". Thai PBS.
  8. https://www.matichon.co.th/politics/news_4448456
  9. https://www.dailynews.co.th/news/3206418/
  10. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=122198&filename=index02
  11. https://cdc.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=125577&filename=welcome2019
  12. https://www.naewna.com/politic/831293
  13. https://www.parliament.go.th/view/428/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/TH-TH
  14. https://www.parliament.go.th/view/468/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/TH-TH
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์