ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม
ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 (54 ปี) โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2531–2534) ความหวังใหม่ (2534–2536) พลังธรรม (2536–2537) ชาติไทย (2537–2542) ประชากรไทย (2542–2547) มหาชน (2547–2548) ไทยรักไทย (2548–2550) เพื่อแผ่นดิน (2550–2552) มาตุภูมิ (2552–2561) พลังประชารัฐ (2561–2566) |
คู่สมรส | นันทิดา แก้วบัวสาย เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์ (2556–2557) |
บุตร | ชนม์ทิดา อัศวเหม |
ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2566) เป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เป็นอดีตประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ประวัติ
[แก้]ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 เป็นบุตรของ วัฒนา อัศวเหม กับ จันทร์แรม อัศวเหม (โทณวนิก) มีพี่ชาย 2 คน คือ พิบูลย์ อัศวเหม และ พูลผล อัศวเหม เรียนชั้นประถมปีที่ 1 - มัธยมปีที่ 3 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล -มัธยมปีที่ 4-6 ที่มัธยมสาธิตประสานมิตร จบปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชนม์สวัสดิ์ สมรสครั้งแรกกับ นันทิดา แก้วบัวสาย นักร้องชาวไทย แต่เขาก็ยังมีข่าวความสัมพันธ์กับนักแสดงหญิงหลายคน อาทิ ใหม่ เจริญปุระ เมทินี กิ่งโพยม ชลลดา เมฆราตรี ยศวดี หัสดีวิจิตร และต่อมาเมื่อหย่าขาดจากนันทิดาแล้ว ก็ได้สมรสอีกครั้งกับ เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ[1] แต่ก็ยังปรากฏภาพความสัมพันธ์ในครอบครัวของชนม์สวัสดิ์ นันทิดา และบุตรสาว[2][3] รวมทั้งในปี 2563 เขายังสนับสนุนให้ นันทิดา แก้วบัวสาย ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ อีกด้วย[4]ในปี 2564 นายต่อศักดิ์ อัศวเหม ลูกพี่ลูกน้อง นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การทำงาน
[แก้]ชนม์สวัสดิ์ เป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านธุรกิจการเกษตร และด้านน้ำมันเชื้อเพลิง[5] เคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ[6] และเขาเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ[7] ต่อมาถูกสั่งปลดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558[8]
ชนม์สวัสดิ์ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคมหาชน[9] เป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในปี 2551 และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ[10]
ชนม์สวัสดิ์ เคยถูกจำคุกในคดีทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ ปี 2542 ซึ่งศาลฎีกาตัดสินเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558[11] ต่อมาเขาได้รับการพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 8 (3) ของพระราชทานอภัยโทษพระราชกฤษฎีพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งได้ลดวันต้องโทษ 1 ใน 4 ของโทษที่เหลือ เมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2559[12]
การเสียชีวิต
[แก้]ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เสียชีวิตวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 เมื่อเวลา 01.15 น. ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์จากโรคลมแดดขณะซ้อมแข่งรถ[13][14][15][16][17]ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีสวดพระอภิธรรม โดยมีผู้เข้าร่วม อาทิ สันติ พร้อมพัฒน์ ตรีนุช เทียนทอง ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ไพบูลย์ นิติตะวัน ปรียานุช ปานประดับ
ในวันที่ 4 เมษายน 2566 สุนทร ปานแสงทอง ชวน หลีกภัย อนุทิน ชาญวีรกูล ศุภมิตร ชิณศรี เข้าร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[19]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รู้จักคาสโนว่า"ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม"
- ↑ "เอ๋-ชนม์สวัสดิ์"คืนดี"ตู่" ภาพครอบครัวหลังรับอิสรภาพ
- ↑ หลักสูตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ หลักสูตรการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ
- ↑ “ชนม์สวัสดิ์” รับเตรียมส่ง “ตู่ นันทิดา” ชิงนายก อบจ.ปากน้ำ เชื่อสานงานต่อได้
- ↑ เปิดประวัติ เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม
- ↑ “เอ๋ ชนม์สวัสดิ์” ผงาดขึ้นนั่งบอร์ดบริหารหอการค้าเมืองปากน้ำ สมัยที่สอง
- ↑ "ชนม์สวัสดิ์ชนะเลือกตั้งอบจ.ปากน้ำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28.
- ↑ หน.คสช.ใช้ม.44 เด้ง 71 ขรก.ประจำ-ท้องถิ่น ปลัดทท.-อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน-เลขาฯสปสช.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคราษฎร พ.ศ. 2541 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542) และคณะกรรมการบริหารพรรคราษฎร
- ↑ กกต.ยกคำร้อง ‘ชนม์สวัสดิ์’ ใช้อิทธิพลชี้นำ ‘รัชนี’ รอด หัวคะแนนโดนแทน
- ↑ สิ้นลาย"ลูกเจ้าพ่อปากน้ำ" คุกเอ๋1.6ปี/ไม่รอลงอาญา... อ่านต่อที่ : dailynews
- ↑ ปล่อยตัว “ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม” นักการเมืองคนดังปากน้ำ จากเรือนจำแล้ว
- ↑ "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ เสียชีวิตแล้ว หลังหมดสติด้วยอาการฮีทสโตรก ขณะซ้อมแข่งรถ". sanook. 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
- ↑ "ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เสียชีวิต อายุ 55 ปี หลังซ้อมแข่งรถที่บุรีรัมย์". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
- ↑ "'เอ๋-ชนม์สวัสดิ์' เสียชีวิตแล้ว หลังหมดสติด้วยภาวะ 'ฮีทโตรก'". ไทยโพสต์. 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
- ↑ ""เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม" เสียชีวิตแล้ว". ช่อง 8. 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
- ↑ "อาลัย! เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ เสียชีวิตในวัย 55 ปีหลังเกิดภาวะ 'ฮีตสโตรก'". มติชนออนไลน์. 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
- ↑ ""ชวน-อนุทิน" ข้าราชการ ประชาชนนับพันคนเข้าร่วมงานศพคืน 3 เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ เต็มบ้านขาว". Praknnews. 2023-04-05. สืบค้นเมื่อ 2023-04-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2511
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566
- สกุลอัศวเหม
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- พรรคมหาชน
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- นักโทษของประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ประธานสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย