ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่ม 16

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลุ่ม 16 เป็นกลุ่มของนักการเมืองไทยที่มีบทบาททางการเมืองชัดเจน 2 ครั้ง คือ กลุ่ม 16 ในปี พ.ศ. 2535 และกลุ่ม 16 ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน

กลุ่ม 16 พ.ศ. 2535

[แก้]

กลุ่ม 16 เป็นชื่อกลุ่มการเมืองที่เกิดจากการรวมกันของ ส.ส.รุ่นใหม่[1] ในปี พ.ศ. 2535 โดยส่วนใหญ่เป็น ส.ส.พรรคชาติไทย และ พรรคชาติพัฒนา ก่อตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 โดยมี เนวิน ชิดชอบ ส.ส.บุรีรัมย์ ร่วมกับ ว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี, จำลอง ครุฑขุนทด ส.ส.นครราชสีมา, ธานี ยี่สาร ส.ส.เพชรบุรี, วราเทพ รัตนากร ส.ส.กำแพงเพชร เป็นแกนนำ และมี สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคชาติพัฒนา เป็นหัวหน้ากลุ่ม

ผลงานสำคัญในขณะนั้นของกลุ่ม 16 คือ กรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กรณี สปก.4-01 จน สุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น ต้องลาออกจากตำแหน่ง และกลายเป็นตัวเร่งให้ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นต้องประกาศยุบสภา[2]

แต่ทว่า กลุ่ม 16 ก็มีความเกี่ยวข้องกับกรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ และราเกซ สักเสนา เจ้าของฉายา "พ่อมดทางการเงิน" และที่ปรึกษาของธนาคารฯ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นเกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างแกนนำกลุ่มคนหนึ่ง กับหญิงสาวชาวพม่ารายหนึ่ง ซึ่งถือหุ้นอยู่ในบริษัทเอกชนร่วมกับผู้บริหารธนาคารฯ แต่มีวิธีการที่ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้น ซึ่งสามารถสร้างส่วนต่างเป็นกำไรถึงกว่า 300 ล้านบาท โดยที่ซื้อมาไม่ถึงปี และในช่วงเวลาเพียงปีเศษ ธนาคารดังกล่าวได้ปล่อยสินเชื่อให้กับคนของกลุ่ม 16 ใช้ในการเข้าครอบครองบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งสิ้น 21 ครั้ง เป็นวงเงินสูงถึง 36,000 ล้านบาท โดยราเกซในฐานะที่ปรึกษาธนาคารฯ เป็นคนที่คอยให้ชื่อบริษัทที่ควรจะเข้าครอบครอง

แต่พฤติการณ์ดังกล่าวก็ถูกขยายให้เป็นประเด็นการเมืองระดับชาติ เมื่อพรรคประชาธิปัตย์หยิบข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งได้ทำการเปิดโปงกลุ่ม 16 มาเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ไปใช้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของ บรรหาร ศิลปอาชา ในปี พ.ศ. 2539 ผลที่ตามมาจากการอภิปรายครั้งนั้นคือ ประชาชนต่างไปถอนเงินธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ถึงวันละ 2 พันล้านบาท จนธนาคารแห่งประเทศไทยต้องรีบสั่งให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เริ่มเพิ่มทุนในธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การฯ 5.4 พันล้านบาท เพื่อเข้าควบคุมกิจการ[3]


รายชื่อสมาชิก สส.กลุ่ม 16

[แก้]

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม 16 (พรรคที่สังกัดที่ขณะนั้น)

  1. สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ สส.เชียงใหม่ (หัวหน้ากลุ่ม 16)
  2. จำลอง ครุฑขุนทด สส.นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา
  3. ประวัฒน์ อุตตะโมต สส.จันทบุรี
  4. พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ สส.นครราชสีมา
  1. เนวิน ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์
  2. สุชาติ ตันเจริญ สส.ฉะเชิงเทรา
  3. ว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี สส.นครราชสีมา (เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
  4. สนธยา คุณปลื้ม สส.ชลบุรี
  5. วิทยา คุณปลื้ม สส.ชลบุรี
  6. ธานี ยี่สาร สส.เพชรบุรี
  7. สรอรรถ กลิ่นประทุม สส.ราชบุรี
  8. ชูชาติ หาญสวัสดิ์ สส.ปทุมธานี
  9. วราเทพ รัตนากร สส.กำแพงเพชร
  10. ยงยศ อรุณเวสสะเศรษฐ สส.ระยอง (เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
  11. ทรงศักดิ์ ทองศรี สส.บุรีรัมย์
  12. บรรจง โฆษิตจิรนันท์ สส.ร้อยเอ็ด
  13. เกษม รุ่งธนเกียรติ สส.สุรินทร์
  14. เสริมศักดิ์ การุญ สส.ระยอง
  1. อุดมเดช รัตนเสถียร สส.นนทบุรี
เข้าร่วมกับกลุ่ม 16 ในภายหลัง
[แก้]
  1. อิทธิ ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา พรรคชาติพัฒนา
  2. เฉลิมชัย อุฬารกุล สส.สกลนคร พรรคความหวังใหม่
  3. ร้อยตรีหญิง พนิดา เกษมมงคล สส.ฉะเชิงเทรา พรรคเสรีธรรม

กลุ่ม 16 พ.ศ. 2565

[แก้]

เป็นกลุ่มการเมืองที่ถูกกล่าวถึงโดย มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ สส.บัญชรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ และมี พิเชษฐ์ สถิรชวาล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (เดิมสังกัดพรรคประชาธรรมไทย) เป็นหัวหน้ากลุ่ม[4] มีบทบาทในช่วงกลางปี 2565 ในการประสานรวบรวมเสียงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปิดตำนานกลุ่ม 16 เช็คชื่อใครเป็นใคร?
  2. Ltd.Thailand, VOICE TV (2019-04-18). "นิทัศน์การเมืองไทย ฉบับ พรรคการเมือง EP.1 - ชาติพัฒนา เพื่อพัฒนาชาติ(ชาย)". VoiceTV.
  3. "20 ปีวิกฤตต้มยำกุ้ง: "แผลเป็น" ของนักการเมือง "กลุ่ม 16"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-01-04.
  4. "กลุ่ม 16" พรรคเล็ก เทียบ"ตำนาน" ย้อนผลงาน โบว์แดง-โบว์ดำ