ฉบับร่าง:สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Natt1985 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 51 วันก่อน (ล้างแคช) |
National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
สำนักงานก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
บุคลากร | 275 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 309,418,000 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงาน |
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (อังกฤษ: National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards ACFS) หรือย่อว่า มกอช. เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ตรวจสอบรับรองควบคุม และส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค ตลอดจนการเจรจาแก้ไขปัญหาทางการค้าเชิงเทคนิค เพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อให้มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
ประวัติ
[แก้]นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งร่วมกับประเทศอื่นๆ อีก 80 ประเทศ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มีการบังคับใช้ข้อตกลงด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มีกำหนดกติกาให้ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการด้านมาตรฐานและความปลอดภัยอาหาร ควบคุมการส่งออกนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตระหนักถึงความสำคัญในการแข่งขันการทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารในต่างประเทศที่จะทวีความรุนแรงขึ้น
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยในปี พ.ศ. 2540 ได้จัดตั้ง สำนักงานมาตรฐานและตรวจสอบสินค้าเกษตร (สมก.) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรของประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งการบริการแบบเบ็ดเสร็จในการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร
จนกระทั่งพระราชบัญญัติปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2545 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จึงได้รับการจัดตั้งในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 8 ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 เป็นหน่วยงานระดับกรมภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์[3]
อำนาจและหน้าที่
[แก้]สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้[4]
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- เสนอแนะนโยบาย แนวทาง และมาตรการในการกำหนด การตรวจสอบรับรอง การควบคุม การวิจัย การพัฒนา การประเมินความเสี่ยง การถ่ายทอด การส่งเสริม และการพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ
- กำหนดยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งกำกับดูแล เฝ้าระวังและเตือนภัย
- ประสานงาน กำหนดท่าที่ และร่วมเจรจาแก้ไขปัญหาทางเทคนิค ด้านมาตรการที่มิใช่ภาษี และด้านการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร
- เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานกับองค์กสนมาตรฐานระหว่างประเทศด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งการดำเนินการภายใต้ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร ภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
- เป็นหน่วยรับรองในระบบงานของหน่วยตรวจสอบรับรองและหน่วยรับรองผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานด้านสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ
- เป็นศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศด้านมาตรฐานด้านสินค้าเกษตรและอาหาร
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]โครงสร้างและหน่วยงานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ดังนี้[5]
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานประจำปี 2566 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ประวัติความเป็นมา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
- ↑ อำนาจตามกฎกระทรวง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
- ↑ โครงสร้าง สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ