ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:วัดพรหมสุรินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพรหมสุรินทร์
ชื่อสามัญวัดพรหมสุรินทร์
ที่ตั้งตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท / มหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธทักษิณณรงค์
เจ้าอาวาสพระราชสุตาลังการ (ฉัตต์ สจฺจวโร)
จุดสนใจพระพุทธทักษิณณรงค์
กิจกรรมเข้าวัดฟังธรรมะ ให้ทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนา
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดพรหมสุรินทร์[1]มีชื่อเดิมว่า วัดทักษิณณรงค์ เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก ภาค 11 ได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี 2538 และได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2542

ประวัติความเป็นมา

[แก้]

วัดพรหมสุรินทร์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง วัดหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นประมาณ 300-500 ปี มาแล้ว ชื่อเดิม วัดทักษิณณรงค์ เป็นวัดที่มีกำแพงเมืองเก่าอยู่ด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และสวยงามอยู่ในอุโบสถเป็นคำบอกเล่าของคนแก่โบราณ อนึ่ง ในระยะเวลาที่ท่านพระครูบวรวิชาญาณ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์ในขณะนั้น ท่านได้พิจารณาว่าสถานที่ตั้งวัดยังคับแคบไม่สะดวกและไม่เพียงพอต่อการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านถาวรวัตถุและด้านการศึกษาของพระภิกษุสามเณร จึงได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัวซื้อที่ดินเพิ่มจำนวน 3 แปลง และเสียสละที่ดินส่วนตัวจำนวน 1 แปลง นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ผู้เสียสละและได้ทำคุณประโยชน์แก่วัดพรหมสุรินทร์และพุทธศาสนาอย่างมากมาย

แหล่งศิลปะกรรมโบราณที่สำคัญของวัดพรหมสุรินทร์

[แก้]

พระประธานในอุโบสถวัดพรหมสุรินทร์ พระพุทธทักษิณณรงค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 35 นิ้ว สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ลักษณะแบบสมัยโบราณ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเรียบ รอบฐานมีจารึกอักษรขอม 1 บรรทัด พระพักตร์เป็นสี่หลี่ยม มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็กเป็นหนามขนุน พระรัศมีเป็นรูปดอกบัว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์ยิ้ม พระกรรณยาว ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวปลายตัดตรง นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน พระหัตถ์ขวาวางคว่ำอยู่กึ่งกลางพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ ศิลปวัตถุของชาติ

เหตุการณ์สำคัญวัดพรหมสุรินทร์

[แก้]
  • วันที่ 30 เมษายน 2512 โดยพลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธาน วางศิลาฤกษ์อุโบสถ

การพัฒนาด้านการศึกษา

[แก้]

การส่งเสริมกิจกรรมของชุมชน

[แก้]

รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดพรหมสุรินทร์". ปักหมุดเมืองไทย. 2020-03-18.
  2. มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 09/2550 มติที่ 223/2550 เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดตั้งโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๐ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดตั้งโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เรียน ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนศึกษา ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๐ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า จังหวัดสุรินทร์ได้มีหนังสือ ที่ สร ๐๐๓๐/ ๓๐๗๒ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ แจ้งว่า ได้ส่งแบบคำขอความเห็นชอบการจัดตั้งโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาของ วัดพรหมสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในปีการศึกษา ๒๕๕๐ จะเปิดสอนระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียน ๑๒๐ คน ครู ๑๐ รูป/คน โดยมี พระครูปริยัติธรรมประยุต (ฉัตต์ สจฺจวโร) เป็นเจ้าอาวาส และมีความประสงค์ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ การขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาของวัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๓๒ ข้อ ๕ ว่า “การจัดตั้งโรงเรียน ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา ๒ ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบ และให้ดำเนินการได้ทันลที โดยไม่ต้องรอรับรองรายการการประชุม จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการต่อไป (นายกนก แสนประเสริฐ) ผู้อำนวยการส่วนคุ้มครองพระพุทธศาสนา รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
  3. "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]