ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:รายชื่อนักแข่งรถฟอร์มูลาวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟอร์มูลาวัน หรือ รถสูตรหนึ่ง หรือเรียกชื่อย่อว่า เอฟวัน เป็นการแข่งรถประเภทล้อเปิดระดับสูงสุดที่กำหนดโดยสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ (เอฟไอเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกีฬาท้าความเร็วระดับโลก[1] คำว่า "ฟอร์มูลา" หรือ "สูตร" ในชื่อนั้นหมายถึงกฎกติกาที่ผู้เข้าแข่งขันและรถทุกคันต้องปฏิบัติตาม[2] ฤดูกาลแข่งขันชิงแชมป์โลกของฟอร์มูลาวัน ประกอบด้วยการแข่งขันหลายครั้งเป็นชุดหรือที่เรียกว่ากรังด์ปรีซ์ โดยจะจัดขึ้นที่สนามแข่งที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันโดยเฉพาะ และบางกรณีจะจัดขึ้นโดยปิดถนนสาธารณะในเมือง[3] นักขับจะได้รับคะแนนตามอันดับที่แต่ละคนจบในแต่ละการแข่งขัน และนักขับที่สะสมคะแนนได้มากที่สุดในแต่ละการชิงแชมป์โลกจะได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับของฤดูกาลนั้น[4] จนถึงการแข่งขันล่าสุด ณ อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024 มีนักแข่งรถฟอร์มูลาวันทั้งสิ้น 778 คน จากสัญชาติต่างกันไป 41 สัญชาติ ที่ออกตัวแล้วอย่างน้อยหนึ่งการแข่งขันจากทั้งหมด 1,125 การแข่งขันชิงแชมป์โลกเอฟไอเอ[5][6][7] ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่การจัดครั้งแรกนั่นคือการแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ 1950[8]

แชมป์โลกเจ็ดสมัย มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ และลูวิส แฮมิลตัน ครองสถิติผู้ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับมากที่สุด[9][10] แฮมิลตันยังครองสถิติผู้ได้รับชัยชนะมากที่สุด 105 ครั้ง[11] ได้ตำแหน่งโพลมากที่สุด 104 ครั้ง[12] สะสมคะแนนมากที่สุด 4862.5 ครั้ง[13] และมีอันดับบนโพเดียมมากที่สุด 202 ครั้ง[14] เฟร์นันโด อาลอนโซ เข้าร่วมการแข่งขันกรังด์ปรีซ์มากกว่านักขับคนอื่น ๆ (404 ครั้ง) และครองสถิติผู้ที่มีจำนวนออกตัวมากที่สุดในการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ (401 ครั้ง)[15] สหราชอาณาจักรมีนักขับเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันฟอร์มูลาวันมากที่สุด ด้วยนักขับจำนวนทั้งสิ้น 163 คน[16] ในขณะที่สิบประเทศมีนักขับเป็นตัวแทนเพียงหนึ่งคน[5] จีนเป็นประเทศล่าสุดที่มีนักขับเข้าแข่งขันเป็นตัวแทนประเทศ หลังจาก โจว กว้านยฺหวี่ เข้าแข่งขันฟอร์มูลาวันครั้งแรกของเขาที่บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ 2022 โดยขับให้กับอัลฟาโรเมโอ[17] ส่วนนักขับที่เข้าแข่งขันฟอร์มูลาวันเป็นครั้งแรกคนล่าสุดคือ แจ็ก ดูฮาน โดยเข้าแข่งขันครั้งแรกที่อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024[18]

รายชื่อนี้รวมนักขับทั้งหมดที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก รวมถึงนักขับที่เข้าร่วมอินเดียแนโพลิส 500 ระหว่างฤดูกาล 1950 และ 1960 ขณะที่การแข่งขันยังเป็นส่วนหนึ่งของการชิงแชมป์โลก (แม้ว่าการแข่งขันจะไม่ได้ดำเนินการตามกติกาฟอร์มูลาวันหรือได้รับการรับรองโดยเอฟไอเอ)

นักขับ

[แก้]
ประเทศที่มีนักขับเข้าแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก (เยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีตะวันตก จะนับรวมเป็นหนึ่งประเทศคือเยอรมนีในปัจจุบัน ส่วนซิมบับเวในปัจจุบันจะแสดงในฐานะตัวแทนของโรดีเชีย)
  ประเทศที่มีนักขับเป็นแชมป์โลกฟอร์มูลาวันประเภทนักขับ
  ประเทศที่มีนักขับเป็นผู้ชนะเลิศฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์
  ประเทศที่มีนักขับเข้าแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก
คำสำคัญ
สัญลักษณ์ ความหมาย
~ นักขับที่เข้าแข่งขันในฤดูกาล 2024 และเคยได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ
* นักขับที่เข้าแข่งขันในฤดูกาล 2024 และไม่เคยได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ
^ นักขับที่เคยได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ และไม่ได้เข้าแข่งขันในฤดูกาล 2024

รายชื่อต่อไปนี้ปรับให้เป็นปัจจุบัน ณ การแข่งขันอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024 นักขับที่เข้าร่วมเพียงรอบฝึกซ้อมวันศุกร์ และนักขับที่ไม่ได้เข้าแข่งขันอย่างแท้จริงจะไม่แสดงอยู่ในรายชื่อนี้

แบ่งตามประเทศ

[แก้]

นักขับจากทั้งหมด 41 ประเทศ ได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีนักขับเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันมากที่สุดถึง 163 คน[ap] อันดับสองคือสหรัฐอเมริกาด้วยนักขับ 160 คน โดยรวมนักขับที่เข้าแข่งขันระหว่างฤดูกาล 1950 และ 1960 ในการแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 ขณะที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการชิงแชมป์โลก ซึ่งในเวลานั้นนักแข่งจากนอกสหรัฐอเมริกายังไม่ค่อยเข้าร่วม (ทว่าการแข่งขันไม่ได้รับการรับรองโดยเอฟไอเอ แต่ได้รับการรับรองแทนไม่ว่าจะโดยสมาคมรถยนต์แห่งอเมริกาหรือทริปเปิลเอ ในฤดูกาล 1950–1955 หรือสโมสรรถยนต์สหรัฐอเมริกาหรือยูเอสเอซี ในฤดูกาล 1956–1960) ทั้งนี้นักขับชาวอเมริกาทั้งสิ้น 36 คน เริ่มแข่งขันในการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่ได้รับการรับรองโดยเอฟไอเอ อันดับสามคืออิตาลีด้วยนักขับ 99 คน เก้าประเทศจากทั้งหมด (ได้แก่ ไทย เบลเยียม ฝรั่งเศส โมนาโก สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร อาร์เจนตินา อิตาลี และไอร์แลนด์) มีนักขับเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันที่บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950 ซึ่งเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นครั้งแรก ส่วนจีนเป็นประเทศล่าสุดที่มีนักขับเป็นตัวแทนเข้าแข่งขัน กับโจว กว้านยฺหวี่ ที่เข้าแข่งขันครั้งแรกที่บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ 2022 สถิติทั้งหมดนี้ปรับให้เป็นปัจจุบัน ณ การแข่งขันอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024

รายชื่อนักแข่งรถฟอร์มูลาวันแบ่งตามประเทศ
ประเทศ นักขับ
ทั้งหมด
แชมป์โลก สมัยแชมป์โลก การแข่งขันที่ชนะ นักขับคนแรก นักขับคนล่าสุด/
นักขับคนปัจจุบัน
 แคนาดา 15 1
(ฌัก วีลเนิฟว์)
1
(1997)
17
(ฌีล วีลเนิฟว์ [6], ฌัก วีลเนิฟว์ [11])
ปีเตอร์ ไรอัน
(ยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์ 1961)
แลนซ์ สโตรลล์
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 โคลอมเบีย 3 0 0 7
(มอนโตยา [7])
ริการ์โด ลอนดอญโญ
(บราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์ 1981)
ฆวน ปาโบล มอนโตยา
(ยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์ 2006)
 จีน 1 0 0 0 โจว กว้านยฺหวี่
(บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ 2022)
โจว กว้านยฺหวี่
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 ชิลี 1 0 0 0 เอลิเซโอ ซาลาซาร์
(ยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์เวสต์ 1981)
เอลิเซโอ ซาลาซาร์
(เบลเจียนกรังด์ปรีซ์ 1983)
 เช็กเกีย 1 0 0 0 โตมาช เอ็งเก
(อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 2001)
โตมาช เอ็งเก
(เจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ 2001)
 ญี่ปุ่น 21 0 0 0 ฮิโรชิ ฟูชิดะ
(ดัตช์กรังด์ปรีซ์ 1975)
ยูกิ สึโนดะ
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 เดนมาร์ก 5 0 0 0 ทอม เบ็ลเซอ
(สวีดิชกรังด์ปรีซ์ 1973)
เควิน เมานุสเซิน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 ไทย 2 0 0 0 พีรพงศ์ภาณุเดช
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
อเล็กซานเดอร์ อัลบอน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 นิวซีแลนด์ 10 1
(ฮูล์ม)
1
(1967)
12
(แมกลาเรน [4], ฮูล์ม [8])
บรูซ แมกลาเรน
(เยอรมันกรังด์ปรีซ์ 1958)
เลียม ลอว์สัน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 เนเธอร์แลนด์ 17 1
(แฟร์สตัปเปิน [4])
4
(2021, 2022, 2023, 2024)
63
(แฟร์สตัปเปิน [63])
ยัน ฟลินเตอร์มัน, ดรีส ฟัน เดอร์ ลอฟ
(ดัตช์กรังด์ปรีซ์ 1952)
มักซ์ แฟร์สตัปเปิน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 บราซิล 32 3
(ฟิตชีเปาจี [2], ปีเก [3], เซนนา [3])
8
(1972, 1974, 1981, 1983, 1987, 1988, 1990, 1991)
101
(ฟิตชีเปาจี [14], ปัตชี [1], ปีเก [23], เซนนา [41], บาร์รีแกลู [11], มัสซา [11])
ชีกู ลังจี
(เยอรมันกรังด์ปรีซ์ 1951)
ปีเอทรู ฟิตชีเปาจี
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2020)
 เบลเยียม 25 0 0 11
(อิกซ์ [8], บุตแซน [3])
จอห์นนี เคลส
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
สตอฟเฟิล ฟันโดเริน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2018)
 โปรตุเกส 5 0 0 0 มารียู ดี อาราอูฌู กาบรัล
(โปรตุกีสกรังด์ปรีซ์ 1959)
ตีอากู มงเตย์รู
(บราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์ 2006)
 โปแลนด์ 1 0 0 1
(กูบิตซา [1])
รอแบร์ต กูบิตซา
(ฮังกาเรียนกรังด์ปรีซ์ 2006)
รอแบร์ต กูบิตซา
(อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 2021)
 ฝรั่งเศส 74 1
(พร็อสต์ [4])
4
(1985, 1986, 1989, 1993)
81
(แทร็งตีญง [2], เซแวร์ [1], แบลตวซ [2], เดอปาเย [2], ฌารีเย [2], ปีโรนี [3], ต็องแบ [2], ลาฟิต [6], อาร์นู [7], พร็อสต์ [51], อาแลซี [1], ปานิส [1], กัสลี [1], ออกง [1])
อีฟว์ ฌีโร-กาบ็องตู, เออแฌน มาร์แต็ง, ลูย โรซีเย, ฟีลิป เอต็องเซอแล็ง
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
ปีแยร์ กัสลี, แอ็สเตบาน ออกง
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 ฟินแลนด์ 9 3
(รูสแบริ, แฮกกิเนน [2], ไรโคเนน)
4
(1982, 1998, 1999, 2007)
57
(รูสแบริ [5], แฮกกิเนน [20], โกวาไลเนน [1], ไรโคเนน [21], โบตตัส [10])
เลโอ กินนุเนน
(เบลเจียนกรังด์ปรีซ์ 1974)
วัลต์เตริ โบตตัส
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 มาเลเซีย 1 0 0 0 อเล็กซ์ ยูง
(อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 2001)
อเล็กซ์ ยูง
(เจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ 2002)
 เม็กซิโก 6 0 0 8
(โรดริเกซ [2], เปเรซ [6])
ริการ์โด โรดริเกซ
(อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1961)
เซร์ฆิโอ เปเรซ
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 โมนาโก 5 0 0 8
(เลอแกลร์ [8])
ลูย ชีรง
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
ชาร์ล เลอแกลร์
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 โมร็อกโก 1 0 0 0 รอแบร์ ลา กาซ
(โมร็อกกันกรังด์ปรีซ์ 1958)
รอแบร์ ลา กาซ
(โมร็อกกันกรังด์ปรีซ์ 1958)
 เยอรมนี / เยอรมนีตะวันตก 54 3
(มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ [7], เฟ็ทเทิล [4], ร็อสแบร์ค)
12
(1994, 1995, 2000, 2001, 2002, 2003, 2004, 2010, 2011, 2012, 2013, 2016)
179
(ฟ็อน ทริพส์ [2], มาส [1], มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ [91], เฟรนท์เซิน [3], รัล์ฟ ชูมัคเคอร์ [6], ร็อสแบร์ค [23], เฟ็ทเทิล [53])
เพาล์ พีทช์
(อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1950)
นีโค ฮึลเคินแบร์ค
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 เยอรมนีตะวันออก 4 0 0 0 รูด็อล์ฟ เคราเซอ, แอ็นสท์ โคลทวิช
(เยอรมันกรังด์ปรีซ์ 1952)
รูด็อล์ฟ เคราเซอ, แอ็นสท์ โคลทวิช, เอทการ์ บาร์ท, เทโอ ฟิทเซา
(เยอรมันกรังด์ปรีซ์ 1953)
 รัสเซีย / สหพันธ์รถยนต์แห่งรัสเซีย[ab] 4 0 0 0 วีตาลี เปตรอฟ
(บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ 2010)
นีคีตา มาเซปิน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2021)
โรดีเชีย 6 0 0 0 จอห์น เลิฟ
(เซาท์แอฟริกันกรังด์ปรีซ์ 1962)
จอห์น เลิฟ
(เซาท์แอฟริกันกรังด์ปรีซ์ 1972)
 ลีชเทินชไตน์ 1 0 0 0 ริคคี ฟ็อน โอเพิน
(เฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 1973)
ริคคี ฟ็อน โอเพิน
(เฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 1974)
 เวเนซุเอลา 3 0 0 1
(มัลโดนาโด [1])
เอตโตเร กีเมรี
(อาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1960)
ปัสตอร์ มัลโดนาโด
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2015)
 สเปน 15 1
(อาลอนโซ [2])
2
(2005, 2006)
36
(อาลอนโซ [32], ไซนซ์ [4])
ปาโก โกเดีย, ฆวน โฆเบร์
(สเปนิชกรังด์ปรีซ์ 1951)
การ์โลส ไซนซ์ ยูนิออร์, เฟร์นันโด อาลอนโซ
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
  สวิตเซอร์แลนด์ 29 0 0 7
(ซีแฟร์ [2], เรกัซโซนี [5])
แอมานุแอล เดอ กราแฟนรีด
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
เซบัสเตียง บุเยมี
(บราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์ 2011)
 สวีเดน 11 0 0 12
(บ็อนเนียร์ [1], เพ็ตเตอช็อน [10], นิลส์ซ็อน [1])
เอริก ลุนด์เกรียน
(เยอรมันกรังด์ปรีซ์ 1951)
มาร์กุส เอียริกซ็อน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2018)
 สหรัฐอเมริกา 58
(+104 ที่เข้าแข่งขันเพียงแค่อินเดียแนโพลิส 500 ระหว่างฤดูกาล 1950 และ 1960)
2
(ฟิล ฮิลล์, อันเดรตตี)
2
(1961, 1978)
33
(พาร์สันส์ [1], วอลลาร์ด [1], รัตต์แมน [1], วูโควิช [2], สไวเกิร์ต [1], แฟลเฮอร์ตี [1], แฮงส์ [1], ไบรอัน [1], วอร์ด [1], แรทแมนน์ [1], ฟิล ฮิลล์ [3], เกอร์นีย์ [4], กินเทอร์ [1], เรฟสัน [2], อันเดรตตี [12])
แฮร์รี เชลล์
(โมนาโกกรังด์ปรีซ์ 1950)
โลแกน ซาร์เจนต์
(ดัตช์กรังด์ปรีซ์ 2024)
 สหราชอาณาจักร 163[ap] 10
(ฮอว์ทอร์น, เกรอัม ฮิลล์ [2], คลาร์ก [2], เซอร์ทีส์, สจวร์ต [3], ฮันต์, แมนเซลล์, เดมอน ฮิลล์, แฮมิลตัน [7], บัตทัน)
20
(1958, 1962, 1963, 1964, 1965, 1968, 1969, 1971, 1973, 1976, 1992, 1996, 2008, 2009, 2014, 2015, 2017, 2018, 2019, 2020)
316
(มอสส์ [16], คอลลินส์ [3], ฮอว์ทอร์น [3], ไอร์แลนด์ [1], บรุกส์ [6], คลาร์ก [25], เซอร์ทีส์ [6], เกรอัม ฮิลล์ [14], สจวร์ต [27], เก็ททิน [1], ฮันต์ [10], วอตสัน [5], แมนเซลล์ [31], เดมอน ฮิลล์ [22], เฮอร์เบิร์ต [3], เออร์ไวน์ [4], คูลทาร์ด [13], บัตทัน [15], แฮมิลตัน [105], รัสเซลล์ [3], นอร์ริส [4])
เจฟฟรีย์ ครอสลีย์, เลสลี จอห์นสัน, บ็อบ เจราร์ด, เรจ พาร์เนลล์, โจ ฟราย, เดวิด เมอร์รีย์, ปีเตอร์ วอล์กเกอร์, เดวิด แฮมป์เชอร์, คัท แฮร์ริสัน
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
แลนโด นอร์ริส, โอลิเวอร์ แบร์แมน, จอร์จ รัสเซลล์, ลูวิส แฮมิลตัน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 ออสเตรเลีย 18 2
(แบร็บบัม [3], โจนส์)
4
(1959, 1960, 1966, 1980)
45
(แบร็บบัม [14], โจนส์ [12], เวบเบอร์ [9], ริคาร์โด [8], พิแอสทรี [2])
โทนี เกซ
(เบลเจียนกรังด์ปรีซ์ 1952)
แจ็ก ดูฮาน, ออสการ์ พิแอสทรี
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 ออสเตรีย 16 2
(รินดท์, เลาดา [3])
4
(1970, 1975, 1977, 1984)
41
(รินดท์ [6], เลาดา [25], แบร์เกอร์ [10])
ย็อคเคิน รินดท์
(ออสเตรียนกรังด์ปรีซ์ 1964)
คริสทีอัน คลีน
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2010)
 อาร์เจนตินา 26 1
(ฟังฆิโอ [5])
5
(1951, 1954, 1955, 1956, 1957)
38
(ฟังฆิโอ [24], กอนซาเลซ [2], เรวเตมัน [12])
ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
ฟรันโก โกลาปินโต
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2024)
 อิตาลี 99 2
(ฟารีนา, อัสการี [2])
3
(1950, 1952, 1953)
43
(ฟารีนา [5], อัสการี [13], ฟาโจลี [1], มุสโซ [1], ตารุฟฟี [1], บรันกาเตลลี [1], บันดีนี [1], สการ์ฟีออตตี [1], บรัมบิลลา [1], เด อันเจลิส [2], ปาเตรเซ [6], นันนีนี [1], อัลโบเรโต [5], ฟีซีเกลลา [3], ตรุลลี [1])
ลุยจี ฟาโจลี, จูเซปเป ฟารีนา
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
อันโตนีโอ โจวีนัซซี
(อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2021)
 อินเดีย 2 0 0 0 นารายัณ การติเกยัน
(ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ 2005)
นารายัณ การติเกยัน
(บราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์ 2012)
 อินโดนีเซีย 1 0 0 0 รีโย ฮารียันโต
(ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ 2016)
รีโย ฮารียันโต
(เยอรมันกรังด์ปรีซ์ 2016)
 อุรุกวัย 4 0 0 0 ไอเตล กันโตนิ
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1952)
อัสดรูบัล ฟอนเตส บายาร์โด
(เฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 1959)
 แอฟริกาใต้ 23 1
(เชกเตอร์)
1
(1979)
10
(เชกเตอร์ [10])
โทนี แมกส์
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1961)
โจดี เชกเตอร์
(ยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์ 1980)
 ไอร์แลนด์ 5 0 0 0 โจ เคลลี
(บริติชกรังด์ปรีซ์ 1950)
ราล์ฟ เฟอร์แมน
(เจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ 2003)
 ฮังการี 1 0 0 0 โฌลต์ เบาม์กอร์ตแนร์
(ฮังกาเรียนกรังด์ปรีซ์ 2003)
โฌลต์ เบาม์กอร์ตแนร์
(บราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์ 2004)
ประเทศ นักขับ
ทั้งหมด
แชมป์โลก สมัยแชมป์โลก การแข่งขันที่ชนะ นักขับคนแรก นักขับคนล่าสุด/
นักขับคนปัจจุบัน

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 จำนวนคะแนนที่มอบให้แต่ละอันดับที่จบการแข่งขันนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละฤดูกาล นอกจากนี้ตั้งแต่ฤดูกาลแรกจนถึง 1990 คะแนนสะสมที่นักขับทำได้ทั้งหมดนั้นไม่ได้นำมารวมเป็นคะแนนสุดท้ายสำหรับการชิงแชมป์โลกของแต่ละคน ตัวเลขที่ไม่มีวงเล็บกำกับคือคะแนนที่นับรวมเพื่อชิงแชมป์โลก ส่วนตัวเลขในวงเล็บคือคะแนนสะสมทั้งหมด[19]
  2. 2.000 2.001 2.002 2.003 2.004 2.005 2.006 2.007 2.008 2.009 2.010 2.011 2.012 2.013 2.014 2.015 2.016 2.017 2.018 2.019 2.020 2.021 2.022 2.023 2.024 2.025 2.026 2.027 2.028 2.029 2.030 2.031 2.032 2.033 2.034 2.035 2.036 2.037 2.038 2.039 2.040 2.041 2.042 2.043 2.044 2.045 2.046 2.047 2.048 2.049 2.050 2.051 2.052 2.053 2.054 2.055 2.056 2.057 2.058 2.059 2.060 2.061 2.062 2.063 2.064 2.065 2.066 2.067 2.068 2.069 2.070 2.071 2.072 2.073 2.074 2.075 2.076 2.077 2.078 2.079 2.080 2.081 2.082 2.083 2.084 2.085 2.086 2.087 2.088 2.089 2.090 2.091 2.092 2.093 2.094 2.095 2.096 2.097 2.098 2.099 2.100 2.101 2.102 2.103 นักขับเข้าร่วมเพียงแค่การแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 ซึ่งนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันชิงแชมป์โลกระหว่างฤดูกาล 1950 ถึง 1960[53]
  3. กอนซาเลซได้โพเดียมร่วมกับ อัลแบร์โต อัสการี (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันเฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 1951) ไมก์ ฮอว์ทอร์น (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันเยอรมันกรังด์ปรีซ์ 1954) จูเซปเป ฟารีนา/มอริส แทร็งตีญง (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันอาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1955 เฟลีเช โบเนตโต (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันดัตช์กรังด์ปรีซ์ 1953) และ อุมแบร์โต มัลโยลี (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1954)[20][21][22][23]
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 นักขับทั้งเจ็ดคน (ได้แก่ โฆเซ ฟรอยลัน กอนซาเลซ, ฌ็อง เบรา, ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ, สเตอร์ลิง มอสส์, โอโนเฟร มาริมอน, อัลแบร์โต อัสการี และ ไมก์ ฮอว์ทอร์น) มีบันทึกเวลารอบเร็วที่สุดเท่ากันในการแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ 1954 ซึ่งตามปกติแล้วนักขับจะได้รับ 1 คะแนนเพื่อชิงแชมป์โลกในขณะนั้น แต่ในการแข่งขันครั้งนั้นแต่ละคนได้รับคะแนนเท่ากับ 1/7 (~0.14) ถึงอย่างนั้นคะแนนส่วนนี้จะไม่แสดงในคะแนนสะสมทั้งหมดของฟังฆิโอ เนื่องจากไม่ได้เป็นคะแนนที่นำไปรวมเป็นคะแนนเพื่อชิงแชมป์โลกของเขา[19]
  5. เริ่มแรกกาโชเข้าแข่งขันภายใต้ธงชาติเบลเยียมตามที่ปรากฏบนซูเปอร์ไลเซนซ์ของเขา ถึงแม้ว่าเขาจะถือหนังสือเดินทางฝรั่งเศสก็ตาม[24] ตั้งแต่ฤดูกาล 1992 เป็นต้นมา เขาได้เปลี่ยนไปใช้ซูเปอร์ไลเซนซ์ฝรั่งเศส[25][26][27]
  6. คอลลินส์ได้โพเดียมร่วมกับ ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันโมนาโกกรังด์ปรีซ์ 1956 และอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1956) และ อัลฟอนโซ เด ปอร์ตาโก (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ 1956)[28][29][30]
  7. คาร์เตอร์ได้โพเดียมร่วมกับ แซม แฮงส์ (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 1953)[31]
  8. ชูมัคเคอร์ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันชิงแชมป์โลก ฤดูกาล 1997 ด้วยคะแนนสะสมทั้งสิ้น 78 คะแนน ซึ่งคะแนนนี้รวมอยู่ในคะแนนรวมตลอดอาชีพด้วย[32]
  9. เซราฟีนีได้โพเดียมร่วมกับ อัลแบร์โต อัสการี (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1950)[33]
  10. ชื่อของฌ็องปรากฏในรายชื่อผู้เข้าแข่งขันไม่ถูกต้องเป็น "ฌ็อง มักซ์" ทำให้ชื่อนี้มักจะปรากฏในบันทึกฉบับอื่นด้วย[34]
  11. โดเรินบอสเข้าแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก 2005 ภายใต้ธงชาติโมนาโก ตามที่ปรากฏบนซูเปอร์ไลเซนซ์ของเขาในขณะนั้น ก่อนที่เขาจะเปลี่ยนมาแข่งภายใต้ธงชาติเนเธอร์แลนด์ในฤดูกาลถัดมา[35][36]
  12. แทร็งตีญงได้โพเดียมร่วมกับ โฆเซ ฟรอยลัน กอนซาเลซ/จูเซปเป ฟารีนา (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันอาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1955) จูเซปเป ฟารีนา/อุมแบร์โต มัลโยลี (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1955) และ สเตอร์ลิง มอสส์ (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1960).[21][38]
  13. บรุกส์ชนะร่วมกับ สเตอร์ลิง มอสส์ (ณ การแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ 1957)[39]
  14. บาร์ทเข้าแข่งขันภายใต้ธงชาติเยอรมนีตะวันออกจนถึงฤดูกาล 1957 หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นเยอรมนีตะวันตก ทั้งนี้จะแสดงเพียงธงชาติเยอรมนีตะวันตกเท่านั้น เนื่องจากก่อน ค.ศ. 1959 ธงชาติเยอรมนีตะวันออกมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
  15. เบ็ชเชิมเข้าแข่งขันเยอรมันกรังด์ปรีซ์ 1952 ภายใต้นามแฝง แบร์นฮาร์ท นัคเคอ (Bernhard Nacke)[40]
  16. เบตเทนเฮาเซนได้โพเดียมร่วมกับ พอล รุสโซ (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 1955)[41]
  17. เบราได้โพเดียมร่วมกับ เชซาเร แปร์ดีซา (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันโมนาโกกรังด์ปรีซ์ 1955)[42]
  18. โบเนตโตได้โพเดียมร่วมกับ จูเซปเป ฟารีนา (อันดับสาม ณ การแข่งขันอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1951) และ โฆเซ ฟรอยลัน กอนซาเลซ (อันดับสาม ณ การแข่งขันดัตช์กรังด์ปรีซ์ 1953)[43][44]
  19. แปร์ดีซาได้โพเดียมร่วมกับ ฌ็อง เบรา (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันโมนาโกกรังด์ปรีซ์ 1955) และ สเตอร์ลิง มอสส์ (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันเบลเจียนกรังด์ปรีซ์ 1956)[42][45]
  20. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ยังทรงเข้าแข่งขันภายใต้พระนามแฝง พ. พีระ (B. Bira)[46]
  21. ฟังฆิโอชนะร่วมกับ ลุยจี ฟาโจลี (ณ การแข่งขันเฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 1951) และ ลุยจี มุสโซ (ณ การแข่งขันอาเจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1951)[20][47]
  22. ฟังฆิโอได้โพเดียมร่วมกับ ปีเตอร์ คอลลินส์ (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันโมนาโกกรังด์ปรีซ์ 1956 และอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1956)[28][29]
  23. ฟาโจลีชนะร่วมกับ ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ (ณ การแข่งขันเฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 1951)[20]
  24. ฟารีนาได้โพเดียมร่วมกับ โฆเซ ฟรอยลัน กอนซาเลซ/มอริส แทร็งตีญง (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันอาเจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1955) เฟลีเช โบเนตโต (อันดับสาม ณ การแข่งขันอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1951) และ มอริส แทร็งตีญง/อุมแบร์โต มัลโยลี (อันดับสาม ณ การแข่งขันอาเจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1955).[43][21]
  25. มอสส์ชนะร่วมกับ โทนี บรุกส์ (ณ การแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ 1957)[39]
  26. มอสส์ได้โพเดียมร่วมกับ เชซาเร แปร์ดีซา (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันเบลเจียนกรังด์ปรีซ์ 1956) และ มอริส แทร็งตีญง (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1960)[45][38]
  27. มัลโยลีได้โพเดียมร่วมกับ โฆเซ ฟรอยลัน กอนซาเลซ (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1954) และ จูเซปเป ฟารีนา/มอริส แทร็งตีญง (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1955)[21][23]
  28. 28.0 28.1 มาเซปินเป็นชาวรัสเซีย แต่เขาเข้าแข่งขันในฐานะผู้เข้าแข่งขันที่เป็นกลาง เนื่องจากศาลอนุญาโตตุลาการกีฬาประกาศห้ามรัสเซียแข่งขันในการแข่งขันชิงแชมป์โลก ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ที่ตอบสนองจากกรณีการใช้สารกระตุ้นกับนักกีฬาชาวรัสเซียซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐ[48]
  29. มุสโซชนะร่วมกับ ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ ณ การแข่งขันอาเจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1951)[47]
  30. แมกกราทได้โพเดียมกับ แมนนี อายูโล (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 1951)[49]
  31. ริชาร์ดสันผ่านเข้ารอบคัดเลือกในอันดับที่ 10 ณ การแข่งขันอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1951 แต่ไม่สามารถเข้าแข่งขันได้เนื่องจากเขาไม่มีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้อง[43]
  32. รุสโซได้โพเดียมร่วมกับ โทนี เบตเทนเฮาเซน (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 1955)[41]
  33. ลอมบาร์ดีเป็นนักแข่งรถฟอร์มูลาวันหญิงเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่สามารถทำคะแนนสะสมเพื่อชิงแชมป์โลก[50]
  34. 34.0 34.1 เริ่มแรกการแข่งขันเจแปนนีสกรังด์ปรีซ์ 1976 ได้ประกาศนักขับที่ทำรอบได้เร็วที่สุดว่าเป็น มาซาฮิโระ ฮาเซมิ ซึ่งเป็นผลที่มาจากข้อผิดพลาดในการวัดเวลา ด้วยเหตุนี้ทางสนามแข่งขันจึงออกแถลงการณ์ในหลายวันต่อมาให้แก้ไขผู้ทำรอบเร็วที่สุดของการแข่งขันเป็น ฌัก ลาฟิต[54] แถลงการณ์ได้เผยแพร่โดยทันทีในญี่ปุ่น และสหพันธ์รถยนต์แห่งญี่ปุ่น (เจเอเอฟ) และสื่อญี่ปุ่นต่างแก้ไขข้อมูลการแข่งขัน[55][56] แต่การแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นที่รับทราบอย่างกว้างขวางนอกญี่ปุ่น ทำให้ฮาเซมิยังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้ที่ทำรอบได้เร็วที่สุดของการแข่งขันในบันทึกอีกหลายฉบับ
  35. อ็อพพิทซ์เฮาเซอร์เข้าแข่งขันออสเตรียนกรังด์ปรีซ์ 1976 แต่กลับถูกปฏิเสธในการตรวจผ่านล่วงหน้าเพื่อเริ่มฝึกซ้อม เนื่องจากเขามีประสบการณ์การแข่งรถไม่เพียงพอ[52]
  36. อัสการีได้โพเดียมร่วมกับ โดรีโน เซราฟีนี (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ 1950) และ โฆเซ ฟรอยลัน กอนซาเลซ (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันเฟรนช์กรังด์ปรีซ์ 1951)[33][20]
  37. อายูโลได้โพเดียมร่วมกับ แจ็ก แมกกราท (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 1951)[49]
  38. ฮอว์ทอร์นได้โพเดียมร่วมกับ โฆเซ ฟรอยลัน กอนซาเลซ (อันดับที่สอง ณ การแข่งขันเยอรมันกรังด์ปรีซ์ 1954)[22]
  39. แฮงส์ได้โพเดียมร่วมกับ ดูแอน คาร์เตอร์ (อันดับที่สาม ณ การแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 1953)[31]
  40. แฮร์ริสเกิดที่เมืองมูฟูลีรา นอร์เทิร์นโรดีเชีย (ปัจจุบันคือแซมเบีย)[57] ในแต่ละบันทึกต่างระบุสัญชาติที่เขาถือเข้าแข่งขันแตกต่างกัน ระหว่างแอฟริกาใต้[57][58] และโรดีเชียและนยาซาแลนด์[59][60] โดยในรายชื่อนี้เลือกระบุเป็นแอฟริกาใต้
  41. ไฮเออร์ออกตัวอย่างผิดกฎกติกาในการแข่งขันเยอรมันกังด์ปรีซ์ 1977 เนื่องจากเขาไม่ผ่านรอบคัดเลือกก่อนหน้า[61]
  42. 42.0 42.1 นักขับสามคนต่อไปนี้เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลกในฐานะผู้เข้าแข่งขันฟอร์มูลาทูเพียงเท่านั้น: ทอม บริดเจอร์, ดิก กิบสัน และ ไบรอัน ฮาร์ต (บางแหล่งข้อมูลละเว้นนักขับดังกล่าวจากรายชื่อนักขับ[16]) พวกเขาจึงไม่มีสิทธิ์สะสมคะแนนเพื่อชิงแชมป์โลก

อ้างอิง

[แก้]
โดยรวม
  • Griffiths, Trevor R. (December 1997) [1992]. Grand Prix: The Complete Guide (3rd ed.). Enderby: Blitz Editions. ISBN 1-85605-391-1.
  • Small, Steve (1994). The Guinness Complete Grand Prix Who's Who. Enfield: Guinness Publishing. ISBN 0-85112-702-9.
  • "Grand Prix Encyclopedia – Drivers". GrandPrix.com. Inside F1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
  • "Race Results". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
เจาะจง
  1. "About FIA". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 24 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
  2. Williamson, Martin. "A brief history of Formula One". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
  3. Hughes, Mark; Tremayne, David (2002). The Concise Encyclopedia of Formula 1. Parragon. pp. 82–83. ISBN 0-75258-766-8.
  4. "2020 Formula One Sporting Regulations" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 7 April 2020. pp. 3–4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
  5. 5.0 5.1 "F1 Stats Zone – Results by Driver". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  6. "All-Time Calendar". ChicaneF1. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  7. "Statistics Drivers – Grands Prix – Number". StatsF1. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  8. "British GP is secure: Ecclestone". BBC Sport. 20 June 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2010.
  9. Diepraam, Mattijs (3 November 2019). "European & World Champions". 8W. Forix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2020. สืบค้นเมื่อ 18 September 2020.
  10. "Drivers' Championships". ChicaneF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
  11. Diepraam, Mattijs; Young, Rob (13 December 2020). "World Championship Grand Prix wins". 8W. Forix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2016. สืบค้นเมื่อ 10 February 2021.
  12. "Pole Positions By Number". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
  13. Diepraam, Mattijs; Fisher, Alan (13 December 2020). "Total World Championship points". 8W. Forix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2021. สืบค้นเมื่อ 10 February 2021.
  14. "Podiums By Number". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
  15. "Statistics Drivers – Grands Prix – Chronology of the record". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2020. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  16. 16.0 16.1 "United Kingdom – Drivers". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2017. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
  17. Takle, Abhishek (20 March 2022). Holmes, Sam (บ.ก.). "Motor racing-China's first F1 driver Zhou celebrates dream debut". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2022. สืบค้นเมื่อ 24 March 2022.
  18. "Grands Prix chronology". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2014. สืบค้นเมื่อ 16 October 2014.
  19. 19.0 19.1 Diepraam, Mattijs (18 January 2019). "World Championship points systems". 8W. Forix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 "1951 French Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 "1955 Argentine Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2009. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  22. 22.0 22.1 "1954 German Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  23. 23.0 23.1 "1954 Italian Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  24. Saward, Joe (1 October 1991). "Interview: Bertrand Gachot". Grandprix.com. Inside F1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2009. สืบค้นเมื่อ 10 July 2009.
  25. Henry, Nick (1992). "F1 Drivers' Statistics". Autocourse 1992-93. Hazleton Publishing. p. 248. ISBN 0-905138-96-1.
  26. Henry, Nick (1994). "1994 FIA World Championship". Autocourse 1994-95. Hazleton Publishing. p. 246. ISBN 1-874557-95-0.
  27. Henry, Nick (1995). "1995 FIA World Championship". Autocourse 1995-96. Hazleton Publishing. p. 232. ISBN 1-874557-36-5.
  28. 28.0 28.1 "1956 Monaco Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  29. 29.0 29.1 "1956 Italian Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  30. "1956 British Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  31. 31.0 31.1 "1953 Indianapolis 500". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2010. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  32. Lynch, Steven (16 March 2012). "New kids on the block". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2012. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
  33. 33.0 33.1 "1950 Italian Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  34. Small, Steve (2012). Autocourse Grand Prix Who's Who (4th ed.). Icon Publishing Limited. p. 401. ISBN 978-1905334-69-8.
  35. "FIA Formula One World Championship Season Guide 2005". Fédération Internationale de l'Automobile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2006. สืบค้นเมื่อ 22 July 2017.
  36. Bloemhof, Lennart (31 March 2015). "Max Verstappen: Belgisch of Nederlands?". de Volkskrant (ภาษาดัตช์). DPG Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2025.
  37. Twite, Mike (1974). "De Tomaso: Italian Precision with Brute Force". ใน Northey, Tom (บ.ก.). The World of Automobiles: An Illustrated Encyclopedia of the Motor Car. Vol. 5. London: Orbis. pp. 531–2. OCLC 1004805042.
  38. 38.0 38.1 "1960 Argentina Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  39. 39.0 39.1 "1957 British Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  40. "Gunther Bechem". Motor Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
  41. 41.0 41.1 "1955 Indianapolis 500". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2020. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  42. 42.0 42.1 "1955 Monaco Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  43. 43.0 43.1 43.2 "1951 Italian Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  44. "1953 Dutch Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  45. 45.0 45.1 "1956 Belgian Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  46. "B Bira". Motor Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2024. สืบค้นเมื่อ 9 January 2025.
  47. 47.0 47.1 "1956 Argentine Grand Prix". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  48. Smith, Luke (5 February 2021). "Mazepin set to race under neutral flag after CAS ruling extends to F1". Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2021. สืบค้นเมื่อ 5 February 2021.
  49. 49.0 49.1 "1951 Indianapolis 500". Formula One. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  50. "Coulthard backs women F1 drivers". BBC Sport. BBC. 3 May 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2006. สืบค้นเมื่อ 24 December 2009.
  51. "Robert la Caze". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2014. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  52. Lyons, Pete (1976). Kettlewell, Mike (บ.ก.). Autocourse 1976–1977. Richmond, Surrey: Hazleton Securities Ltd. p. 157. ISBN 0-905138-01-5.
  53. Jones, Bruce (2015). World Formula 1 Records 2016 (Fifth ed.). London, England: Sevenoaks. p. 68. ISBN 978-1-78177-268-3.
  54. i-dea archives (14 January 2006). "'76 F1イン・ジャパン" [1976 F1 World Championship in Japan]. AUTO SPORT Archives 日本の名レース100選 (The 100 Best races in Japan) (ภาษาญี่ปุ่น). San-eishobo Publishing Co., Ltd. p. 77. ISBN 978-4-7796-0007-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2010.
  55. "Motorsport competition results: 1976 F1 World Championship in Japan" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Automobile Federation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 17 December 2010.
  56. "Archive: 1976 F1 World Championship in Japan" (ภาษาญี่ปุ่น). Nikkan Sports News. 25 October 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2012. สืบค้นเมื่อ 17 December 2010.
  57. 57.0 57.1 "Mike Harris". Motor Sport Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2020.
  58. "Mike Harris". Old Racing Cars. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2021. สืบค้นเมื่อ 14 November 2021.
  59. "Mike Harris". Driver Database. สืบค้นเมื่อ 17 January 2025.
  60. "Mike Harris". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2014. สืบค้นเมื่อ 17 January 2025.
  61. Roebuck, Nigel; Hutchinson, Jeff (1977). Kettlewell, Mike (บ.ก.). Autocourse 1977–1978. Richmond, Surrey: Hazleton Securities Ltd. p. 137. ISBN 0-905138-03-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]