ฉบับร่าง:พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินฺตาอินฺโท)
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Sry85 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 3 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินดาอินทร์ , จินฺตาอินฺโท) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าคุณ |
ชื่ออื่น | หลวงพ่อใหญ่ , หลวงพ่อฉลอง , ท่านเจ้าคุณฉลอง |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2469 (84 ปี) |
มรณภาพ | 13 กันยายน พ.ศ. 2553 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - นักธรรมชั้นเอก - เปรียญธรรม 5 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี |
บรรพชา | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 |
อุปสมบท | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2489 |
พรรษา | 64 พรรษา |
ตำแหน่ง | - อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี - อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร - อดีตเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง - อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบัวบาน |
พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินฺตาอินฺโท) นิยมเรียกว่า “หลวงพ่อใหญ่” หรือ “หลวงพ่อฉลอง” และ "ท่านเจ้าคุณฉลอง" เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
[แก้]ชาติภูมิ
[แก้]ชื่อ ฉลอง นามสกุล จินดาอินทร์ ชาตะ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2469 (วันศุกร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล) ณ บ้านท้ายบ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี[1]
เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 9 คน ของนายผล กับ นางกวา นามสกุล จินดาอินทร์
บรรพชา
[แก้]วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 (วันจันทร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง) บรรพชา ณ วัดสองพี่น้อง ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดย พระครูอุภัยภาดารักษ์ (จ่าง ปุณฺณโชติ) วัดสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์[2]
อุปสมบท
[แก้]วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (วันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ) อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดย[2]
พระครูอุภัยภาดารักษ์ (จ่าง ปุณฺณโชติ) วัดสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์
เจ้าอธิการโกวิท (กู๋ ปริสุทฺโธ) วัดสองพี่น้อง (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูวุฒิธรรมรักษ์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระมหาเก็บ ภทฺทิโย วัดสองพี่น้อง (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็น พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า จินฺตาอินฺโท [จิน-ตา-อิน-โท]
วิทยฐานะ
[แก้]- พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 19 วัดดงมูลเหล็ก อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี
- พ.ศ. 2484 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2485 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2486 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2486 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2488 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2491 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สำนักเรียนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
- พ.ศ. 2493 สำเร็จการศึกษาบาลีเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2513 สำเร็จการศึกษาอบรม โรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนกลาง แผนกศึกษาอบรม รุ่นที่ 1
งานปกครอง
[แก้]- พ.ศ. 2494 เป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2495 เป็นพระกรรมวาจาจารย์
- พ.ศ. 2511 - 2514 เป็นเจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง
- พ.ศ. 2514 - 2527 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2514 - 2527 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2517 - 2553 เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2522 - 2527 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบัวบาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2527 - 2553 เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2527 - 2549 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2527 - 2542 เป็นประธานประชุมคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ เลขานุการ พระปริยัตินิเทศก์ พระจริยานิเทศก์ กรรมการศูนย์ครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา เป็นประจำทุกเดือน
- พ.ศ. 2527 - 2549 จัดประชุมพระสังฆาธิการระดับวัด เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด
- พ.ศ. 2537 - 2553 จัดฝึกซ้อมอบรมหรือสอบความรู้ในหน้าที่พระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2537 - 2553 จัดฝึกซ้อมอบรมหน้าที่พระกรรมวาจาจารย์ ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้ง
- พ.ศ. 2537 - 2553 จัดฝึกซ้อมอบรมผู้ที่ได้รับการเสนอขอแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้ง
- พ.ศ. 2549 - 2553 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
งานการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2486 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดสองพี่น้อง
- พ.ศ. 2494 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม วัดปราสาททอง
- พ.ศ. 2495 เป็นกรรมการตรวจข้อสอบประโยคธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2500 เป็นกรรมการอุปถัมภ์การจัดตั้งสำนักเรียนวัดดอนเจดีย์
- พ.ศ. 2506 เป็นผู้อุปการะสำนักเรียนวัดสองพี่น้อง
- พ.ศ. 2511 เป็นประธานดำเนินการสอบธรรมสนามหลวง อำเภอสองพี่น้อง
- พ.ศ. 2513 เป็นประธานดำเนินการเปิดโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2513 เป็นวิทยากรบรรยายวิชาการปกครองคณะสงฆ์และหน้าที่พระอุปัชฌาย์ ในโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค
- พ.ศ. 2527 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- พ.ศ. 2527 เป็นเจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2528 จัดตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2528 จัดงานสมโภชและมอบรางวัลแก่นักเรียนที่สอบได้ในสำนักเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี ในนามคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี ทุกปี
- พ.ศ. 2533 เป็นประธานศูนย์ครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา จังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2534 เป็นประธานอุปถัมภ์ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี
งานเผยแผ่
[แก้]- เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตจังหวัดสุพรรณบุรี
- เป็นประธานกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (อ.ป.จ.)
- จัดตั้งงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) จังหวัดสุพรรณบุรี
- ร่วมกับทางราชการ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ผนึกกำลังบ้าน วัด ราชการ (บ.ว.ร.)
- จัดพิมพ์หนังสือเผยแพร่ธรรมะ เช่น ศีลห้ากติกาสากล, เสียงพระ เสียงเพลง ภาค 2, ธรรมคีติ, เบญจศีล เบญจธรรม, อนุปุพพีกถา, พุทธมามกมนต์
งานพิเศษ
[แก้]- เป็นประธานอนุกรรมการบริหารมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 17
- เป็นกรรมการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดสุพรรณบุรี
- เป็นอนุกรรมการจัดหาทุนสร้างพุทธมณฑล
- เป็นผู้อำนวนการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- เป็นกรรมการอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2536 เป็นกรรมการดำเนินการและพัฒนาวัดเขาดีสลัก เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทโบราณ
- พ.ศ. 2538 เป็นอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2538 เป็นกรรมการศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2540 เป็นที่ปรึกษาโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ
- พ.ศ. 2540 เป็นคณะอนุกรรมการดำเนินการโครงการนำร่อง เพื่อสร้างกระแสพัฒนาคนและสังคม ระดับจุลภาค
- พ.ศ. 2540 เป็นคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม
- พ.ศ. 2541 จัดทำโครงการโรงทาน (โรงอาหารในวัด) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- จัดประกวดเพลงอีแซวพื้นบ้าน ระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษา ในงานประจำปีวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร (งานเดือน 5)
เกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2535 เป็นเจ้าอาวาสที่ได้รับพัดพัฒนา "วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2535"
- พ.ศ. 2537 เป็นเจ้าอาวาสที่มีผลงาน "สำนักเรียนดีเด่น (ตัวอย่าง) จังหวัดสุพรรณบุรี" และ "โรงเรียนพระปริยัติธรรมดีเด่น (กรมการศาสนา)"
- พ.ศ. 2542 ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2548 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ สำนักเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาดีเด่น ส่วนภูมิภาค อันดับที่ 2
- พ.ศ. 2549 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ สำนักเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาดีเด่น ส่วนภูมิภาค อันดับที่ 2
- พ.ศ. 2550 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ สำนักเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาดีเด่น ส่วนภูมิภาค อันดับที่ 2
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2504 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูศรีปทุมรักษ์[3]
- พ.ศ. 2514 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม[2]
- พ.ศ. 2516 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระสุวรรณโมลี[4]
- พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชสุพรรณาภรณ์ สุนทรวุฒิกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพสุวรรณโมลี ศรีพิพัฒโนดม วิกรมปริยัตยาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- พ.ศ. 2540 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมมหาวีรานุวัตร พิพัฒนกิจโกศล โสภณธรรมสุธีศรีปริยัติกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
อาพาธ และมรณภาพ
[แก้]พระธรรมมหาวีรานุวัตร อาพาธเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมาก และมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ พักรักษาตัว ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร กระทั่งถึงแก่มรณภาพวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553 (วันจันทร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล) เวลา 09.59 น. สิริอายุ 84 ปี 64 พรรษา[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ภมรพล). (2553). อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ จังหวัดสุพรรณบุรี อนุสรณ์พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินฺตาอินฺโท). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ภมรพล). (2553). ชีวิตและผลงาน พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินฺตาอินฺโท). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 78, ตอนที่ 104 ง, 15 ธันวาคม 2504, หน้า 8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 90, ตอนที่ 177 ง, 28 ธันวาคม 2516, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 104, ตอนที่ 253 ง, 5 ธันวาคม 2530, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 155 ง, 5 ธันวาคม 2535, หน้า 6 - 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะ และพระครู), เล่ม 114, ตอนที่ 26 ข, 2 ธันวาคม 2540, หน้า 3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินฺตาอินฺโท) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระวิบูลเมธาจารย์ (เก็บ ภทฺทิโย) | เจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง (พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2514) |
พระมหาสอิ้ง สิรินนฺโท | ||
พระครูอุทัยวุฒิคุณ (อรุณ ชยนฺโต) | เจ้าอาวาสวัดศรีบัวบาน (พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2527) |
พระครูสังฆรักษ์ชะโอน กนฺตสีโล | ||
พระมหาจุน สิริมงฺคโล
(รักษาการ) |
เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร (พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2553) |
พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินนฺโท)
| ||
พระเทพวุฒาจารย์ (เปลื้อง คงฺคสุวณฺโณ) | เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี (พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2549) |
พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินนฺโท)|} |
- บทความฉบับร่าง
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2469
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2553
- เจ้าอาวาส
- เจ้าคณะอำเภอ
- เจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะชั้นธรรม
- พระสงฆ์ชาวไทย
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- ภิกษุจากจังหวัดสุพรรณบุรี
- บุคคลจากอำเภอสองพี่น้อง
- บุคคลจากจังหวัดสุพรรณบุรี
- พระเถราจารย์สายสุพรรณบุรี
- ภิกษุจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- บุคคลจากคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- เปรียญธรรม 5 ประโยค