ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:ซีเอสอาร์ เอสดีเอ4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
CSR / CRRC Ziyang รุ่น SDA4
รถจักร CRRC Ziyang รุ่น SDA4 หมายเลข 70111 ขณะจอดพักที่สถานีปากช่อง
ประเภทและที่มา
ผู้สร้างCSR Ziyang
หมายเลขสั่งซื้อTPIPL: 70101-70112
ITD: 70201
โมเดลSDA4
จำนวนผลิตTPIPL: 12 คัน
ITD: 1 คัน
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • AARCo-Co
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ1.016 เมตร (3 ฟุต 4.0 นิ้ว)
ความยาว20.700 เมตร (67.91 ฟุต)
ความกว้าง2.800 เมตร (9 ฟุต 2.2 นิ้ว)
ความสูง3.950 เมตร (12.96 ฟุต)
ความจุเชื้อเพลิง4,500 ลิตร
ความจุน้ำมันหล่อลื่น360 ลิตร
อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน199 g/kW-h ที่ 1,500 รอบต่อนาที 2,760 แรงม้า
เครื่องยนต์Caterpillar 3516B HD
พิสัยรอบต่อนาที700 - 1500 รอบต่อนาที
ชนิดเครื่องยนต์4 จังหวะ V16 Diesel
Aspirationเทอร์โบชาร์จเจอร์
การกระจัด69 ลิตร
เครื่องปั่นไฟCDJF201P
มอเตอร์ลากจูงCDJD113B (469 แรงม้า) x 6
ขนาดลูกสูบ170mm x 190mm
ระบบส่งกำลังAC-DC-AC (Electric transmission)
ระบบเบรคทั้งหมดWabtec 26-LA (ลมอัด)
ไดนามิกเบรค
ระบบความปลอดภัยDeadman Vigilance
ค่าประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด100 km/h (62 mph)
กำลังขาออก2,760 hp (2,060 kW)
แรงฉุด:
 • เริ่มต้น380 kN (85,000 lbf)
 • ต่อเนื่อง305 kN (69,000 lbf) ที่ 19 km/h (12 mph)
แรงเบรกแบบไดนามิกสูงสุด200 kN (45,000 lbf) ที่ 30 km/h (19 mph)
การบริการ
การจัดการTPIPL: ประจำการ 12 คัน
ITD: ประจำการ 1 คัน
[1]
รถจักร CSR รุ่น SDA4 หมายเลข 70101 จอดรอเวลาออกจากสถานีเชียงรากน้อย ข.511

รถจักร CSR หรือ CRRC รุ่น SDA4 (CSR SDA4) หรือที่เรียกกันว่า น้องโดเรม่อน รถจักรรุ่นนี้มีเจ้าของ 2 บริษัทคือ ทีพีไอ โพลีน เพื่อใช้ในการขนส่งรถสินค้าประเภทปูนซีเมนส์บนเส้นทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย และ อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เพื่อใช้ในการขนส่งชิ้นส่วนสะพานและรถบรรทุกหิน สั่งซื้อจากบริษัท CRRC (CSR ในตอนนั้น) ประเทศจีน [2]

ของบริษัททีพีไอ โพลีน ทำการสั่งเข้ามา ล็อตแรกและล็อตที่สองเป็น CSR หมายเลข 70101-70102[3] และหมายเลข 70103-70108 (พฤษภาคม พ.ศ.2558) ล็อตที่สามเป็น CRRC หมายเลข 70109-70112 (พฤษภาคม พ.ศ.2560)[4] รวมแล้วทั้งสิ้น 12 คัน

ศูนย์ซ่อมบำรุงหลักของรถจักรนี้ตั้งอยู่ที่สถานีหินลับ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ที่สถานีแห่งนี้เป็นสถานีต้นทางของขบวนรถบรรทุกปูนซีเมนส์หลายๆขบวน เช่น ข.505/506 หินลับ - เปรง - หินลับ (ไปส่งปูนที่ ต.คลองเปรง อ.เมืองฯ จ.ฉะเชิงเทรา), ข.511/512 หินลับ - เชียงรากน้อย - หินลับ, ข.527/528 หินลับ - อุบลราชธานี - หินลับ และ ข.517/518 หินลับ - อุดรธานี

รถจักร CSR Ziyang รุ่น SDA4 หมายเลข 70201 ทำขบวนขนชิ้นส่วนประกอบสะพานเที่ยวเปล่ากลับ วิหารแดง
รถจักร CRRC รุ่น SDA4 หมายเลข 70201 ขณะจอด Unload ชิ้นส่วนสะพานของโครงการรถไฟความเร็วสูง

บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ทำการสั่งเข้ามาเพียงแค่ 1 คัน เมื่อประมาณเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 หมายเลข 70201 ปัจจุบันจอดอยู่ภายในบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)[5]

ศูนย์ซ่อมอยู่ที่สถานีรถไฟวิหารแดง โดยมีทางแยกเข้าโรงงานอิตาเลียนไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองทรวง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ซึ่งสถานีวิหารแดงแห่งนี้เป็นต้นทางของขบวนรถสินค้าบรรทุกชิ้นส่วนต่อสะพาน และบรรทุกหินโรยทางของบริษัทเช่น ข.2215/2216 (เที่ยวเย็น) และ ข.2251/2252 (เที่ยวเช้า) วิหารแดง - บ้านใหม่สำโรง - วิหารแดง (ปัจจุบันงดวิ่งแล้ว)

รถจักร CRRC รุ่น SDA4 หมายเลข 70201 จอดอยู่สถานีบ้านใหม่สำโรง
รถจักร CSR รุ่น SDA4 หมายเลข 70106 ทำ ข.517 ออกจากสถานีหินลับ

รถจักร CRRC หรือ CSR รุ่น SDA4 นี้ ใช้เป็นเครื่องยนต์ Caterpillar 3516B HD ให้กำลังอยู่ที่ 2,760 แรงม้าที่ 1,500 รอบต่อนาที เครึ่องยนต์นี้มีใช้ในรถจักร เอแอลเอส เอเอชเค เอแอลดี เอดีดี เป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ใช้น้ำมันดีเซล รูปแบบการจัดวางลูกสูบแบบ V จำนวน 16 สูบ สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 100 กม./ชม. ช่วงล่างของรถจักรมีจำนวน 2 แคร่ แต่ละแคร่มี 3 เพลา 6 ล้อ แต่ละเพลามีมอเตอร์ลากจูงหรือที่เรียกว่า Traction motor จำนวนทั้งหมด 6 ลูก แต่ละลูกมีแรงม้าอยู่ที่ 469 แรงม้า ซึ่งจะช่วยกันขับเคลื่อนหัวรถจักรให้สามารถลากจูงขบวนรถสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ[6]

รถจักร CSR รุ่น SDA4 หมายเลข 70102 ขณะจอดอยู่สถานีลพบุรี คู่กับรถจักร QSY หมายเลข 5205

อ้างอิง

[แก้]