ฉบับร่าง:กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ ศรีคำ002 (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 5 วันก่อน (ล้างแคช) |
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (อังกฤษ: Department of International Trade Promotion) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งออก ขยายตลาดสินค้าและธุรกิจการบริการของไทย พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม ของสินค้าและธุรกิจบริการส่งออก ให้บริการข้อมูลการค้า เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก เพื่อเพิ่มมูลค่าและปริมาณการส่งออกของประเทศไทย
Department of International Trade Promotion | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ |
|
บุคลากร | 468 คน (พ.ศ. 2567)[1] |
งบประมาณต่อปี | 3,063,689,300 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงพาณิชย์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
ประวัติ
[แก้]กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ก่อตั้งตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 พ.ศ. 2485 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ในชื่อ กรมส่งเสริมองค์การค้า
ต่อมาเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2493 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ได้ยุบกรมส่งเสริมองค์การค้าเข้ากับ กรมควบคุมการค้า และในเวลาต่อมากระทรวงพาณิชย์เปลี่ยนชื่อกลับไปเป็น กระทรวงเศรษฐการ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 กรมควบคุมการค้า เปลี่ยนชื่อเป็น กรมเศรษฐสัมพันธ์
ต่อมาเมื่อมีการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514 กระทรวงเศรษฐการเปลี่ยนชื่อกลับไปเป็น กระทรวงพาณิชย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 กรมเศรษฐสัมพันธ์ เปลี่ยนชื่อเป็น กรมพาณิชย์สัมพันธ์
และต่อมามีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 31) พ.ศ. 2533 และพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของสำนักงานประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ไปเป็นของกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ และโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมพาณิชย์สัมพันธ์ กระทรวงพาณิชย์ ไปเป็นของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2533 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ทำให้กรมพาณิชย์สัมพันธ์ เปลี่ยนชื่อเป็น กรมส่งเสริมการส่งออก
และมีการตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 ทำให้กรมส่งเสริมการส่งออก เปลี่ยนชื่อเป็น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จนถึงปัจจุบัน[3]
อำนาจหน้าที่
[แก้]กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่เสนอนโยบายและจัดทำเป้าหมายการส่งออกและแผนปฏิบัติการ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางและมาตรการด้านการค้าและการตลาด ดำเนินการเพื่อส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการส่งออกสินค้าและธุรกิจบริการของไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดทำและให้บริการข้อมูลการค้าและส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกแก่ผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย ผู้ประกอบธุรกิจบริการ และผู้นำเข้าในต่างประเทศ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าและธุรกิจบริการของไทยเพื่อส่งเสริมการส่งออก พัฒนาความรู้ความสามารถแก่ภาคเอกชนในด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสมรรถนะในการส่งออก ตลอดจนประสานงานและให้ความร่วมมือแก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และตราสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าไทยและให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ สนับสนุนและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการค้า[4]
หน่วยงานภายใน
[แก้]กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แบ่งส่วนราชการภายในประเทศออกเป็น 18 หน่วยงาน 1 กองทุน และ 1 กลุ่ม ดังต่อไปนี้[5]
หน่วยงานในประเทศ
[แก้]- สำนักบริหารกลาง
- ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
- สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ
- สำนักบริการส่งออก 1
- สำนักบริการส่งออก 2
- สำนักแผนพัฒนาส่งออก
- สำนักพัฒนาการตลาดต่างประเทศ
- สำนักยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ
- สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์
- สำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 1
- สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม
- สำนักสารสนเทศและการบริหารการค้าระหว่างประเทศ
- สำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
- สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า
- สำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2
- สำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ
- สำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล
- สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศ
- กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
หน่วยงานในต่างประเทศ
[แก้]กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีหน่วยงานในต่างประเทศ คือ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 56 แห่ง และสำนักงานตัวแทนการค้า จำนวน 3 แห่ง ดังต่อไปนี้[6]
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงไคโร
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงไนโรบี
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงอาบูจา
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพริทอเรีย
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเวียงจันทน์
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเฉิงตู
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ส่วนที่ 2
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากะ
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปราก
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปารีส
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงวอร์ซอ
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมอสโก
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงอังการา
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโทลอนโด
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลิส
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจนไน
- สำนักงานตัวแทนการค้า ณ เมืองฮิโรชิมา
- สำนักงานตัวแทนการค้า ณ เมืองปูซาน
- สำนักงานตัวแทนการค้า ณ จังหวัดเสียมราฐ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, โครงสร้างและอัตรากำลัง, สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2553, สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, โครงสร้างภายใน, สืงค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, สำนักงานส่งเสริมการค้าในประเทศ, สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567