ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:กรมการค้าต่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมการค้าต่างประเทศ (อังกฤษ: Department of Foreign Trade) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารการค้าระหว่างประเทศ โดยการกำกับดูแล ส่งเสริม และพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริม ปกป้อง รักษาผลประโยชน์ทางการค้าและบริหารการส่งออกและนำเข้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กรมการค้าต่างประเทศ
Department of Foreign Trade
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485; 82 ปีก่อน (2485-05-05)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณต่อปี396,855,500 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารกรม
  • อารดา เฟื่องทอง, อธิบดี
  • ดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย, รองอธิบดี
  • จิตติมา ศรีถาพร, รองอธิบดี
  • นพดล คันธมาศ, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงพาณิชย์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

ประวัติ

[แก้]

กรมการค้าต่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 โดยมีที่ทำการแรกอยู่ที่ชั้น 3 (ห้องกิติยากรวรลักษณ์) อาคารกระทรวงพาณิชย์ ถนนสนามไชย จังหวัดพระนคร

โดยเริ่มแรก กรมการค้าต่างประเทศ มีหน้าที่เป็นสื่อระหว่างรัฐบาลกับพ่อค้า เพื่อให้พ่อค้าได้ร่วมมือกับรัฐบาลดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะเป็นประโยชน์ในด้านการค้ากับต่างประเทศ ทำหน้าที่ให้ความรู้ และเรื่องราวข่าวสารในทางการค้ากับต่างประเทศแก่บรรดาพ่อค้าทั้งปวง ในปี พ.ศ. 2510 ย้ายที่ทำการอีกส่วนหนึ่งที่อาคารสำนักงานมาตรฐานสินค้า สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายที่ทำการไปที่จังหวัดนนทบุรี จนถึงปัจจุบัน

นับจากวันเริ่มก่อตั้ง กรมการค้าต่างประเทศได้มีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลายด้าน ทั้งในส่วนการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำการและปรับปรุงโครงสร้างและแบ่งส่วนราชการใหม่หลายครั้งเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงาน และมีความสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของประเทศและสังคมโลก[2]

อำนาจหน้าที่

[แก้]

กรมการค้าต่างประเทศ มีหน้าที่จัดระเบียบและบริหารการส่งออดและนำเข้าสินค้า ดำเนินมาตรการและตอบโต้ทางการค้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เสนอแนะและดำเนินการแก้ไขปัญหา อุปสรรค ข้อกีดกันที่มีผลกระทบต่อการส่งออกและการนำเข้า ดำเนินการส่งเสริมและกำกับดูแลด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าส่งออกและนำเข้าเพื่อประโยชน์ทางการค้า ดำเนินการพัฒนาการค้ารูปแบบใหม่เพื่อเสริมการค้าปกติ และทำการค้าตามนโยบายรัฐบาล และความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินการให้ไปมาและรักษาซึ่งสิทธิประโยชน์ทางการค้า รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนให้สิทธิประโยชน์ทางการค้า และดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงทางการค้า[3]

หน่วยงานภายใน

[แก้]

กรมการค้าต่างประเทศ แบ่งหน่วยงานออกเป็นส่วนกลาง 15 หน่วยงาน 2 กลุ่ม ส่วนภูมิภาคจำนวน 10 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้[4]

หน่วยงานในส่วนกลาง

[แก้]
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกฎหมาย
  • กองคลัง
  • กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน
  • กองบริหารการค้าข้าว
  • กองบริหารการค้าสินค้าทั่วไป
  • กองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด
  • กองบริหารสินค้าข้อตกลงและมาตรการการค้า
  • กองปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
  • กองมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก
  • กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักบริการการค้าต่างประเทศ
  • สำนักบริหารนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
  • สถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรม
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

หน่วยงานในส่วนภูมิภาค

[แก้]
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 2 จังหวัดสงขลา
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 3 จังหวัดชลบุรี
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 4 จังหวัดสระแก้ว
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 5 จังหวัดหนองคาย
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 6 จังหวัดเชียงราย
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 7 จังหวัดศรีสะเกษ
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 8 จังหวัดตาก
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 9 จังหวัดมุกดาหาร
  • สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 10 จังหวัดกาญจนบุรี

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. กรมการค้าต่างประเทศ, ประวัติกรมการค้าต่างประเทศ, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  3. กรมการค้าต่างประเทศ, ภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  4. กรมการค้าต่างประเทศ, โครงสร้างหน่วยงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]