ข้ามไปเนื้อหา

จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ที่ปรึกษาพรรคไทรวมพลัง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2564
(3 ปี 122 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ถัดไปวัชรพล โตมรศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 ตุลาคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
พรรคการเมืองเพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
ภูมิใจไทย (2554–2556, 2561–2564)
ชาติไทยพัฒนา (2556–2561)
ไทรวมพลัง (2564–ปัจจุบัน)
ชื่อเล่นกบ

จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล (เกิด 18 ตุลาคม พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น กบ เป็นที่ปรึกษาพรรคไทรวมพลัง[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตนายกเทศมนตรีตำบลเสิงสาง และผู้ก่อตั้งพรรคไทรวมพลัง

ประวัติ

[แก้]

จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล (สกุลเดิม จิตรพิทักษ์เลิศ) เกิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2509 มีพี่น้องเป็นนักการเมืองคือ ว่าที่ ร้อยตรี วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ เลขาธิการพรรคเพื่อไทรวมพลัง มนัสมนต์ จิตรพิทักษ์เลิศ และ ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นมารดาของ สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม[2]และเป็นภรรยา วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล

จิตรวรรณ สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เธอสมรสกับสมศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา

การทำงาน

[แก้]

จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล เคยได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปี พ.ศ. 2550 จากนั้นจึงได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ โดยได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาสมัยแรก ในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน พร้อมกับ ประนอม โพธิ์คำ

ในปี พ.ศ. 2564 เธอได้เริ่มก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "พรรคเพื่อไทรวมพลัง"[3] โดยมีพี่ชาย และหลานชายเป็นเลขาธิการพรรค และหัวหน้าพรรค จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทรวมพลัง ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2 ที่นั่ง ท่ามกลางการกล่าวถึงพรรคดังกล่าวว่าเป็นม้ามืดในการเลือกตั้งครั้งนี้[4]

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2567 จิตรวรรณลงสมัครรับเลือกตั้งในนามอิสระ โดยได้หมายเลข 3[5] ปรากฎว่าไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้คะแนนเป็นลำดับสอง[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รู้จัก 'เพื่อไทรวมพลัง' พรรคการเมืองม้ามืด คว้าส.ส. 2 เก้าอี้ ล้มช้างสะเทือนทั้งอุบลฯ
  2. เปิดตัวหลานเมีย "วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล" นำพรรคใหม่ นอมินีสีน้ำเงิน
  3. พลิกปูม “กำนันป้อ” วางมือ “ค่ายสีน้ำเงิน” จ่อซบ “พลังป้อม”
  4. พรรคเพื่อไทรวมพลัง มาจากไหน? ม้ามืดคว้า 2 ที่นั่ง ส.ส.อุบลราชธานี
  5. Patchsuti, Warapol. "สมัครชิงนายก อบจ.อุบลฯ 'กบ จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล'ชน 'กานต์' แชมป์เก่า". เดลินิวส์.
  6. ""มาดามกบ" ลั่นทำดีที่สุดแล้ว ยินดี "กานต์" ได้เป็น นายก อบจ.อุบลฯ อีกสมัย". www.thairath.co.th. 2024-12-22.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒