จลนศาสตร์ดาวฤกษ์
จลนศาสตร์ดาวฤกษ์ (อังกฤษ: Steller kinematics) คือการศึกษาการเคลื่อนที่ของกลุ่มดาวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่าการเคลื่อนที่นั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาพลศาสตร์ดาวฤกษ์ (stellar dynamics) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์เทียบกับดวงอาทิตย์นั้นให้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาจุดกำเนิดและอายุของดาวฤกษ์ รวมถึงโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาราจักรโดยรอบ
ในทางดาราศาสตร์ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ถือกำเนิดขึ้นในเมฆโมเลกุล ที่รู้จักในชื่อ แหล่งอนุบาลดาวฤกษ์ (stellar nurseries) ดาวฤกษ์ที่ก่อตัวในเมฆนี้เกิดเป็นกระจุกดาวเปิดที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์สมาชิกหลายพันดวง และจะกระจัดกระจายกันออกไปตามระยะเวลา ดาวฤกษ์ที่แยกตัวออกไปจากแกนกลางของกระจุกดาวจะเรียกชื่อรัหสว่าเป็นสมาชิกของ ชุมนุมดาว (stellar association) ถ้าส่วนที่เหลือของดาวเหล่านี้เคลื่อนที่ไปในดาราจักรด้วยความสัมพันธ์กัน ก็จะเรียกว่า กลุ่มเคลื่อนที่ (moving group)
ดาวฤกษ์ความเร็วสูง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กลุ่มดาวฤกษ์ทางจลน์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชุมนุมดาว
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กลุ่มเคลื่อนที่
[แก้]กลุ่มเคลื่อนที่ ในทางดาราศาสตร์ เป็นลักษณะการรวมตัวของดาวฤกษ์อย่างหลวม ๆ แบบหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าดาวฤกษ์จำนวนหนึ่งจะมีกำเนิดมาจากเมฆโมเลกุลแห่งเดียวกัน ซึ่งดาวฤกษ์เหล่านั้นจะรวมกลุ่มกันเป็นกระจุกดาวเปิดที่มีจำนวนสมาชิกตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพันดวง แต่การรวมตัวในลักษณะกระจุกดาวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา เมื่อเวลาผ่านไปดาวฤกษ์ในกระจุกเริ่มแยกห่างจากกันมากขึ้นจนกลายเป็นเพียง "ชุมนุมดาว" ถ้าดาวสมาชิกที่เหลืออยู่ในชุมนุมนี้ยังคงเคลื่อนที่ไปด้วยกันในดาราจักร จะเรียกดาวฤกษ์กลุ่มนี้ว่า "กลุ่มเคลื่อนที่"
กลุ่มเคลื่อนที่อาจมีอายุมากแล้ว เช่นกลุ่มเคลื่อนที่ HR 1614 ซึ่งมีอายุกว่า 2 พันล้านปี หรืออาจมีอายุน้อยเช่น กลุ่มเคลื่อนที่ AB Doradus ซึ่งมีอายุเพียง 50 ล้านปี
นักดาราศาสตร์สามารถบอกได้ว่าดาวฤกษ์ดวงหนึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเคลื่อนที่หรือชุมนุมดาวโดยอาศัยลักษณะร่วมกัน เช่น มีอายุเท่ากัน ค่าความเป็นโลหะคล้ายกัน และมีค่าทางจลน์เหมือนกัน (คือความเร็วแนวเล็งและการเคลื่อนที่เฉพาะ) เพราะดาวสมาชิกในกลุ่มเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลกลุ่มเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน แม้มันจะแยกห่างออกจากกันในภายหลังด้วยแรงน้ำขึ้นน้ำลง แต่ก็ยังมีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนกันอยู่[1]
หลักการของกลุ่มเคลื่อนที่ริเริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 โดย โอลิน เอกเกน[2] รายชื่อกลุ่มเคลื่อนที่อายุน้อยที่อยู่ใกล้ที่สุด et al ได้จัดทำขึ้นโดย López-Santiago[3] โดยกลุ่มที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดได้แก่ กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่ อันประกอบด้วยดาวส่วนใหญ่ในกลุ่มดาวเรียงเด่นก้านกระบวยใหญ่ ที่ 60° เหนือ ส่วนที่ไกลที่สุดคือกลุ่มเคลื่อนที่ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยมใต้ ที่ 70° ใต้
ธารดาวฤกษ์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Johnston, Kathryn V. (1995). "Fossil Signatures of Ancient Accretion Events in the Halo". Bulletin of the American Astronomical Society. 27: 1370. สืบค้นเมื่อ 2008-08-10.
- ↑ Eggen, O.J. Moving Groups of Stars. Galactic structure, ed. Adriaan Blaauw and Maarten Schmidt. University of Chicago Press, Chicago, p.111 (1965). (ADS entry [1])
- ↑ López-Santiago, J; Montes, D; Crespo-Chacón, I; Fernández-Figueroa, MJ (2006). The Astrophysical Journal. 643 (2): 1160–1165.
{{cite journal}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) (ADS entry[2])
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ESO press release about runaway stars เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Entry in the Encyclopedia of Astrobiology, Astronomy, and Spaceflight
- A Successful Targeted Search for Hypervelocity Stars
- Two Exiled Stars Are Leaving Our Galaxy Forever
- An Unbound Hypervelocity Main-Sequence B-Type Star[ลิงก์เสีย]
- Entry in the Encyclopedia of Astrobiology, Astronomy, and Spaceflight
- Hypervelocity stars. I. The spectroscopic survey information on HV 6 & HV 7
- Young stellar kinematic groups, David Montes, Departamento de Astrofísica, Universidad Complutense de Madrid.