ชุมนุมดาว
ชุมนุมดาว (อังกฤษ: stellar association) คือกระจุกดาวที่ดาวฤกษ์ที่สมาชิกในกลุ่มอยู่ด้วยกันอย่างหลวม ๆ ยิ่งกว่ากระจุกดาวเปิด หรือกระจุกดาวทรงกลม โดยมากมักมีดาวสมาชิกเป็นจำนวนประมาณ 10–100 ดวงหรือมากกว่านั้น ดาวในชุมนุมดาวเดียวกันมีแหล่งกำเนิดมาจากที่เดียวกันแต่สูญเสียแรงดึงดูดระหว่างกันไปเสีย ถึงกระนั้นก็ยังเคลื่อนที่ผ่านห้วงอวกาศไปด้วยกันอยู่ การระบุชุมนุมดาวในชั้นต้นบอกได้จากลักษณะทิศทางการเคลื่อนที่และอายุของดาวที่คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีเพื่อระบุดาวที่เป็นสมาชิกอยู่ในชุมนุม
ชื่อสามัญในการเรียกชุมนุมดาวมักใช้ชื่อย่อของกลุ่มดาว (หรือกลุ่มของกลุ่มดาว) ที่ชุมนุมดาวนั้นปรากฏอยู่ ตามด้วยประเภทของชุมนุม และบางครั้งก็มีการระบุตัวเลขตามด้วย
ผู้ค้นพบชุมนุมดาวเป็นครั้งแรกคือนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน วิกเตอร์ อัมบาร์ทสุเมียน ในปี ค.ศ. 1947 เขาจัดประเภทของดาวให้มันเป็นสองพวกคือ OB และ T ตามคุณสมบัติของดาวสมาชิก
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Stellar kinematic groups, Superclusters, Moving Groups - D. Montes, UCM
- New associations of young stars - D. Montes, UCM