คุยเรื่องแม่แบบ:รู้ไหมว่า/2024-11-28
เพิ่มหัวข้อหน้าตา
ความเห็นล่าสุด: 2 เดือนที่ผ่านมา โดย Wutkh
- ...หลังตรวจพบโรคหลอดเลือดสมองใน ค.ศ. 2013 อับดุลอะซีซ บูตัฟลีเกาะฮ์ แทบไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณชนตลอดทั้งวาระที่ 4 ของการเป็นประธานาธิบดีแอลจีเรีย (บทความโดย Jirapong CH / ทำเป็นสองเท่าโดย Waniosa Amedestir)--Waniosa Amedestir (คุย) 23:21, 29 กันยายน 2567 (+07)
- ...หลังตรวจพบโรคหลอดเลือดสมองใน ค.ศ. 2013 อับดุลอะซีซ บูตัฟลีเกาะฮ์ แทบไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณชนตลอดทั้งวาระที่ 4 (2014–2019) ของการเป็นประธานาธิบดีแอลจีเรีย / เสนอเพิ่มข้อมูลนิดหน่อยครับ --Tikmok (คุย) 06:43, 30 กันยายน 2567 (+07)
- ...Ideonella sakaiensis เป็นแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพลาสติกประเภทพอลิโอเลฟิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหามลพิษจากพลาสติกในสิ่งแวดล้อม -- Mia Kato (คุย) 23:33, 29 September 2024 (บทความใหม่โดย Mia Kato)
- @Mia Kato: Ideonella sakaiensis เป็นแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพลาสติก PET ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ PET เป็นทั้งแหล่งคาร์บอนและพลังงาน จึงสำคัญต่อการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
- ดูเหมือนโดยตรงจะใช้กับ PET โดยเฉพาะ ดูคร่าว ๆ PET ไม่น่าจะอยู่ในกลุ่ม พอลิโอเลฟิน ด้วยครับ
- --Tikmok (คุย) 10:39, 30 กันยายน 2567 (+07)
- แบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) ได้อย่างมีประสิทธิภาพเรียกว่า Ideonella sakaiensis ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ถูกค้นพบในปี 2016 โดยสามารถใช้ PET เป็นแหล่งคาร์บอนและพลังงานในการเจริญเติบโต กระบวนการนี้สำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหามลพิษพลาสติก เนื่องจาก PET เป็นหนึ่งในพลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตขวดน้ำและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
- อย่างไรก็ตาม PET นั้นแตกต่างจากพอลิโอเลฟิน (polyolefins) ซึ่งเป็นกลุ่มพลาสติกที่รวมถึงโพลีเอทิลีน (PE) และโพลิโพรพิลีน (PP) โดย PET จัดอยู่ในกลุ่มโพลีเอสเตอร์ (polyesters) ดังนั้นคุณจึงถูกต้องที่ PET ไม่ได้อยู่ในกลุ่มพอลิโอเลฟิน และแบคทีเรีย Ideonella sakaiensis ก็มีความสามารถในการย่อยสลายเฉพาะ PET เท่านั้น ไม่ได้ใช้กับพลาสติกชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มพอลิโอเลฟิน
- ช่วยหาบริบทหน่อยครับ Mia Kato (คุย) 13:17, 30 กันยายน 2567 (+07)
- Ideonella sakaiensis เป็นแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพลาสติก PET ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ PET เป็นทั้งแหล่งคาร์บอนและพลังงาน จึงสำคัญต่อการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
- ไม่ชอบอันนี้หรือครับ มันคล้าย ๆ ข้อเสนอดั้งเดิมที่คุณ Kato เสนอ
- ถ้าให้โฆษณา ก็จะบอกว่า "PET" เป็นคำที่เห็นทั่วไปอยู่แล้วเพราะเห็นได้ทุกขวด / จูงให้สนใจว่า ทำไมเป็นทั้งแหล่งคาร์บอนเป็นทั้งแหล่งพลังงานจึงสำคัญ
- เสนอด้วยว่าน่าจะหาทางเอาเนื้อความที่ยังไม่มีในบทความจากที่คุณเขียนข้างบน "เป็นแหล่งคาร์บอนและพลังงานในการ..." เข้าในบทความด้วยครับ
- --Tikmok (คุย) 13:35, 30 กันยายน 2567 (+07)
- Ideonella sakaiensis เป็นแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพลาสติก PET ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ PET เป็นทั้งแหล่งคาร์บอนและพลังงาน จึงสำคัญต่อการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
- @Mia Kato: Ideonella sakaiensis เป็นแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพลาสติก PET ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ PET เป็นทั้งแหล่งคาร์บอนและพลังงาน จึงสำคัญต่อการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
- ...ยูกิโอะ ฮาโตยามะเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกที่มาจากพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (บทความโดย DMS WIKI / เพิ่มเป็นสองเท่าโดย Waniosa Amedestir) --Waniosa Amedestir (คุย) 16:50, 2 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...โรงเรียนนายเรือมัวร์วิก (ในภาพ) เคยเป็นที่ตั้งของรัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค ในช่วงสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง --DMS WIKI (คุย) 15:06, 2 ตุลาคม 2567 (+07) (บทความใหม่โดย DMS WIKI)
- ...โรงเรียนนายเรือมัวร์วิก (ในภาพ) ในเมืองเฟล็นส์บวร์ค เคยเป็นที่ตั้งของรัฐบาลนาซีเยอรมนีในช่วงสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเรียกว่ารัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค / เสนอเพิ่มข้อมูลครับ / หรืออีกทางเลือก - ตัดวลีสุดท้ายตั้งแต่ "ซึ่ง" ออก --Tikmok (คุย) 06:51, 3 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...โรงเรียนนายเรือมัวร์วิก (ในภาพ) ในเมืองเฟล็นส์บวร์ค เคยเป็นที่ตั้งรัฐบาลของนาซีเยอรมนีในช่วงสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง / แบบนี้ได้ไหมครับ DMS WIKI (คุย) 05:39, 4 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...โรงเรียนนายเรือมัวร์วิก (ในภาพ) ในเมืองเฟล็นส์บวร์ค เคยเป็นที่ตั้งของรัฐบาลนาซีเยอรมนีในช่วงสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเรียกว่ารัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค / เสนอเพิ่มข้อมูลครับ / หรืออีกทางเลือก - ตัดวลีสุดท้ายตั้งแต่ "ซึ่ง" ออก --Tikmok (คุย) 06:51, 3 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...หลุยส์ บราวน์ ผู้เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายคนแรกของโลกมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ (บทความโดย Wutkh) --Wutkh (คุย) 13:29, 8 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...หญิงชาวอังกฤษ หลุยส์ บราวน์ ผู้เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายคนแรกของโลกมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติโดยท่อนำไข่ไม่ได้อุดตันเหมือนกับแม่ของตน / เสนอเพิ่มข้อมูลครับ --Tikmok (คุย) 16:22, 8 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...หญิงชาวอังกฤษ หลุยส์ บราวน์ ผู้เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายคนแรกของโลกเมื่อ พ.ศ. 2521 ต่อมาได้ตั้งครรภ์บุตรชายด้วยวิธีธรรมชาติเมื่อ พ.ศ. 2549 เนื่องจากท่อนำไข่มิได้อุดตันเหมือนกับแม่ของตน / เสนอเพิ่มข้อมูลครับ --Taweethaも (คุย) 17:51, 8 ตุลาคม 2567 (+07)
- เห็นด้วย ตามที่เสนอครับ ขอผู้ตรวจพิจารณาตามนี้ได้เลยครับ ขอบคุณครับ --Wutkh (คุย) 19:59, 8 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...หญิงชาวอังกฤษ หลุยส์ บราวน์ ผู้เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายคนแรกของโลกเมื่อ พ.ศ. 2521 ต่อมาได้ตั้งครรภ์บุตรชายด้วยวิธีธรรมชาติเมื่อ พ.ศ. 2549 เนื่องจากท่อนำไข่มิได้อุดตันเหมือนกับแม่ของตน / เสนอเพิ่มข้อมูลครับ --Taweethaも (คุย) 17:51, 8 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...หญิงชาวอังกฤษ หลุยส์ บราวน์ ผู้เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายคนแรกของโลกมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติโดยท่อนำไข่ไม่ได้อุดตันเหมือนกับแม่ของตน / เสนอเพิ่มข้อมูลครับ --Tikmok (คุย) 16:22, 8 ตุลาคม 2567 (+07)
- ...ในสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่ของนครคิตะกีวชูเดิมตกเป็นเป้าหมายแรกของการทิ้งระเบิดปรมาณูแฟตแมน แต่ได้เกิดหมอกควันหนาแน่นจากการทิ้งระเบิดก่อนหน้านี้ รวมถึงโรงงานถ่านหินและน้ำมันในบริเวณโดยรอบ จึงได้มีการเปลี่ยนเป้าหมายไปทิ้งระเบิดที่นางาซากิแทน --Sawasdeeee (คุย) 23:47, 7 ตุลาคม 2567 (+07) (บทความปรับปรุงโดย Sawasdeeee)
- ...ในสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นที่นครคิตะกีวชูเดิมเป็นเป้าหมายแรกของการทิ้งระเบิดปรมาณูแฟตแมน แต่ได้เกิดหมอกควันหนาแน่นจากการทิ้งระเบิดก่อนหน้านี้ รวมถึงการตั้งใจปล่อยควัน/ไอน้ำจากโรงงานถ่านหินและน้ำมันในบริเวณโดยรอบ จึงได้เปลี่ยนไปทิ้งระเบิดที่นางาซากิแทน / ขอเปลี่ยนย่อประโยคเล็กน้อยครับ --Tikmok (คุย) 04:29, 8 ตุลาคม 2567 (+07)