หลุยส์ บราวน์
หลุยส์ บราวน์ | |
---|---|
เกิด | หลุยส์ จอย บราวน์ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 โรงพยาบาลทั่วไปโอลด์ดัม เกรตเทอร์แมนเชสเตอร์ อังกฤษ |
มีชื่อเสียงจาก | บุคคลคนแรกที่เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกาย |
คู่สมรส | เวสลีย์ มัลลินเดอร์ (สมรส 2547) |
บุตร | 2 |
บิดามารดา | เลสลีย์ บราวน์ จอห์น บราวน์ |
ญาติ | นาทาลี บราวน์ (น้องสาว) |
หลุยส์ จอย บราวน์ (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2521) เป็นหญิงชาวอังกฤษซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกที่เกิดจากการทดลองการปฏิสนธินอกร่างกาย การเกิดของเธอซึ่งปฏิบัติตามขั้นตอนที่ริเริ่มในอังกฤษได้รับการยกว่าเป็นหนึ่งใน "ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่น่าทึ่งที่สุดในศตวรรษที่ 20"[1][2][3][4]
การเกิดและชีวิตช่วงต้น
[แก้]หลุยส์ จอย บราวน์เกิดที่โรงพยาบาลทั่วไปโอลด์ดัม ในแลงคาเชอร์ โดยการผ่าท้องทำคลอดตามที่วางแผนโดยแพทย์เฉพาะทางจอห์น เว็บสเตอร์[5] มีน้ำหนักแรกคลอด 5 ปอนด์ 12 ออนซ์ (2.608 กก.)[6] พ่อแม่ของเธอ เลสลีย์และจอห์น บราวน์ พยายามตั้งครรภ์ตามธรรมชาติมาเป็นเวลาเก้าปี แต่เลสลีย์พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากท่อนำไข่อุดตัน[6]
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 เลสลีย์ บราวน์ได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ต่อมารู้จักกันในชื่อการปฏิสนธินอกร่างกาย ที่พัฒนาโดยแพทริก สเทปโท , โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ และฌอง เพอร์ดี เพอร์ดีเป็นคนแรกที่เห็นเซลล์ตัวอ่อนของบราวน์แบ่งตัว[7] เอ็ดเวิร์ดส์ซึ่งเป็นเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่เข้ารับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ใน พ.ศ. 2553 จากผลงานนี้[8] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 มีการติดตั้งแผ่นป้ายที่โรงพยาบาลรอแยลโอล์ดดัมเพื่อบันทึกความสำคัญของผลงานจากมูเรียล แฮร์ริส และฌอน เพอร์ดี[9] แม้ว่าสื่อกล่าวถึงบราวน์ว่าเป็น "เด็กหลอดแก้ว"[10] แต่การปฏิสนธิของเธอเกิดขึ้นในจานเพาะเชื้อ ส่วนนาตาลี บราวน์ น้องสาวของเธอเกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายเช่นกันในสี่ปีต่อมา เป็นคนที่ 40 ของโลกที่เกิดจากการปฏิสนธิด้วยวิธีนี้ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 นาตาลีเป็นมนุษย์คนแรกที่เกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายที่ให้กำเนิดบุตรของตนตามธรรมชาติ
การงานและชีวิตครอบครัว
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2547 บราวน์แต่งงานกับเวสลีย์ มัลลินเดอร์ พนักงานเฝ้าประตูไนท์คลับ โดยเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมงานแต่งงานของพวกเขา ลูกชายคนแรกของพวกเขาเกิดจากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ[10]เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549[11][12]
พ่อของบราวน์เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2549[13] ส่วนแม่ของเธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ที่โรงพยาบาลรอยัลบริสตอลอินเฟอร์มรี่ ในวัย 64 ปี[14] จากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในถุงน้ำดี[13]
ประเด็นด้านจริยธรรมและศาสนา
[แก้]แม้ว่าครอบครัวบราวน์จะทราบว่ากระบวนการดังกล่าวยังเป็นการทดลอง แต่แพทย์ไม่ได้แจ้งว่ายังไม่มีทารกที่เกิดจากกระบวนการนี้ เรื่องนี้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับกระบวนการขอความยินยอม[15]
ในปี พ.ศ. 2521 เมื่อมีผู้ถามถึงปฏิกิริยาต่อการเกิดของบราวน์ พระคาดินัลคาร์ดินัลอัลบิโน ลูเชียนี อัครบิดรแห่งเวนิส (ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 1) แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่การผสมเทียมอาจทำให้ผู้หญิงถูกใช้เป็น "โรงงานผลิตเด็ก" แต่ปฏิเสธที่จะประณามพ่อแม่ของเด็ก[16] โดยระบุว่าพวกเขาเพียงแค่ต้องการมีบุตรเท่านั้น[17]
สิ่งตีพิมพ์
[แก้]- Brown, Louise; Powell, Martin (2015). Louise Brown: My Life As the World's First Test-Tube Baby (ภาษาอังกฤษ). Wraxall: Bristol Books CIC. ISBN 978-1-909446-08-3. OCLC 1023273709. Bristol Archives Bk/2552.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Walsh, Fergus (14 July 2008). "30th birthday for first IVF baby". BBC News. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.
- ↑ "Louise Brown and Her Parents | Encyclopedia.com". encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
- ↑ "Louise Brown: World's first IVF baby's family archive unveiled". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 24 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
- ↑ "'I was the world's first IVF baby, and this is my story'". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 25 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
- ↑ Hutchinson, Martin (24 July 2003). "I helped deliver Louise". BBC News. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.
- ↑ 6.0 6.1 "World's first IVF baby marks 30th birthday", เก็บถาวร 26 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Agence France-Presse, 23 July 2008. Retrieved 24 July 2008.
- ↑ Weule, Genelle (25 July 2018). "The first IVF baby was born 40 years ago today". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
- ↑ Wade, Nicholas (4 October 2010). "Pioneer of in Vitro Fertilisation Wins Nobel Prize". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 October 2010.
- ↑ "Unsung heroine who saved refugees from Nazis honoured in Leeds". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 8 March 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
- ↑ 10.0 10.1 Hall, Sarah (11 July 2006). "Louise Brown, first test tube baby, is pregnant". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.
- ↑ "Baby son joy for test-tube mother". BBC News. 14 January 2007.
- ↑ "The first IVF baby, Louise Brown, was born in 1978 in the United Kingdom". KrishnaIVF News. 14 January 2007.
- ↑ 13.0 13.1 Grady, Denise (23 June 2012). "Lesley Brown, Mother of World's First 'Test-Tube Baby,' Dies at 64", The New York Times. Retrieved 8 August 2020.
- ↑ "First test tube baby mother Lesley Brown dies". BBC News. 20 June 2012. สืบค้นเมื่อ 20 June 2012.
- ↑ Marantz Henig, Robin. Pandora's Baby, Houghton Mifflin, 2004, p 134
- ↑ Prospettive nel Mondo,1 August 1978; Luciani, Opera Omnia, vol. 8, pp. 571–72.
- ↑ Eley, Adam (23 July 2015). "How has IVF developed since the first 'test-tube baby'?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 9 August 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โพรไฟล์ของ Louise Brown จาก BBC (กรกฎาคม 2003)
- คอลเล็กชัน Lesley Brown ตั้งแต่ปี 1970 ถึงประมาณปี 2015 ที่ Bristol Archives