ข้ามไปเนื้อหา

คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสนอย้ายหัวข้อ "การเขียนคำทับศัพท์" และหัวข้อย่อย ไปที่วิกิพจนานุกรม

[แก้]

หัวข้อ "การเขียนคำทับศัพท์" ในปัจจุบัน มีเนื้อหาค่อนข้างไปในทางของพจนานุกรม (แหล่งอ้างอิงการใช้คำ) มากกว่าสารานุกรม (แหล่งอ้างอิงความรู้) เลยอยากถามความเห็นชาววิกิหน่อยครับว่าควรย้ายหัวข้อนี้ ตลอดจนหัวข้อย่อย ๆ ไปที่ วิกิพจนานุกรม จะดีกว่าหรือเปล่า ซึ่งชื่อหัวข้ออาจเป็น ภาคผนวก:การเขียนคำทับศัพท์ ก็น่าจะเหมาะสมดี หรือใครมีความเห็นอื่น ๆ ก็เสนอได้ครับ --Phisite 05:01, 4 ม.ค. 2005 (UTC)

คิดอยู่เหมือนกันครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะวางรูปแบบอย่างไรดี ถ้าเห็นเหมาะสมอย่างไรก็ดำเนินการได้เลยครับ -- PaePae 18:42, 4 ม.ค. 2005 (UTC)

รูปแบบของวิกิพจนานุกรม ผมเคยเปิดดู พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับล่าสุด) เห็นมีอธิบายรูปแบบการเขียนการเรียบเรียงอยู่ คิดว่าน่าจะนำมาใช้งานได้ แต่ว่าผมยังไม่มีเป็นของตัวเอง เลยไม่รู้ว่าจะไปหาข้อมูลมาจากไหนได้น่ะ -- PaePae 18:42, 4 ม.ค. 2005 (UTC)


I agree. I think "การเขียนคำทับศัพท์" should only contain guideline "how to?". Others might be more appropriate in วิกิพจนานุกรม. I think we can just include them in the dictionary, but with a different typeface (or as links to their corresponding foreign words.) That way we can put the ทับศัพท์ words into the right translation. The reason is that some words are not used to refer to the same thing in Thai and English, e.g. เกียร์"automatic(in Thai-sorry cannot type Thai, right now.)" --> automatic transmission , but to refer to actual เฟือง, people usually don't use เกียร์. :P ไร้สติ 22:44, 4 ม.ค. 2005 (UTC)

คำทับศัพท์จะว่าไปเป็นเรื่องที่พูดไม่มีวันจบ เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว หรือว่ากฎที่มีอยู่ก็ไม่ครอบคลุมทั้งหมด อย่างศัพท์หลายหลายคำที่มาจากภาษาอังกฤษ จากอเมริกาก็อ่านออกเสียงคนละอย่าง กับที่มีกล่าวไว้ในราชบัณฑิตฯ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า

  • Jewelry ประเทศอื่นนอกจากไทย อ่านว่า จูว์ล์รีย์ ไม่ได้อ่าน จิวเวอรี
  • Mayonnaise ก็ทับศัพท์ว่า มายองเนส แต่อ่านว่า เมย์เนส
  • Z ก็อ่านว่า แซด ไปแล้วครับ--Manop 04:53, 13 มิ.ย. 2005 (UTC)

แล้ว จริง ๆ Z ต้อง อ่าน ว่า ไง ครับ? "ซี"? แล้ว "แซด" นี่ เป็น แบบ อเมริกัน ปะ? -- Ans 11:13, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)

  • Z - บริติช: "เซด" ; อเมริกัน: "ซี"
  • H - บริติช: "เฮช" ; อเมริกน: "เอช"
  • มายองเนส เป็นคำไทยไปแล้ว ไม่ต้องสนใจ - คนญี่ปุ่นก็ไม่ได้เรียกประเทศตัวเองว่า ญี่ปุ่น อย่างคนไทยเรียก หรือว่า เจแปน (Japan) อย่างฝรั่งเรียก
  • คำบางคำ เราเห็นรูปคำ อาจจะนึกว่าเป็นคำภาษาอังกฤษ แต่จริง ๆ คำนั้นอาจจะเป็นคำภาษาอื่นมาก่อนก็ได้ (เช่น เป็นคำฝรั่งเศสก่อน แล้วค่อยเป็นคำอังกฤษ แล้วค่อยมาเป็นคำไทย); หรือบางคำ รูปคำที่เข้าเมืองไทยมาก่อน อาจจะไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษด้วยซ้ำ (ศัพท์จากภาษายุโรปที่พบในภาษาไทยยุคแรก ๆ น่าจะเป็นภาษาโปรตุเกส - ตามการติดต่อค้าขาย) — ดังนั้นก็ไม่แปลก ถ้าในภาษาไทยจะออกเสียงต่างจากภาษาอังกฤษ (ทับศัพท์ ไม่ใช่ "ทับเสียง")
  • คำว่า สบู่ ปิ่นโต กะละมัง กาละแม พวกนี้คำจากภาษาโปรตุเกสทั้งนั้น .. คนไทยก็อ่านไม่เหมือนใครในโลก มันเป็นคำไทยไปแล้ว

ประเทศอื่น ๆ ก็มีออกเสียงประหลาด ๆ ไม่ตรงกันเหมือนกัน เราไม่ได้ประหลาดอยู่ประเทศเดียว คนในประเทศเดียวกัน แต่อยู่คนละพื้นที่ ยังออกเสียงไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นเราไม่มีทาง "ถูก" ได้ (ถ้าเรา "ถูก" โดยอิงกะพื้นที่ไหน เราก็ "ผิด" ถ้าอิงกับพื้นที่ที่เหลือ); ตัวอย่างการทับศัพท์ส่วนใหญ่ที่ราชบัณฑิตฯ กำหนด/แนะ ไว้ ก็ดูไม่น่าเกลียด + เข้าใจได้ง่าย

  • ผมเห็นว่าควรยึดตามราชบัณฑิตครับ (ดีกว่าไม่มีอะไรให้ยึด)
  • เห็นด้วยกับคุณไร้สติว่า การเขียนคำทับศัพท์ น่าจะเป็นลักษณะ "ควรเขียนอย่างไร" + ตัวอย่างนิดหน่อย .. แต่ถ้าจะเอาเป็นรายการคำศัพท์ ก็ยกไปที่วิกิพจนานุกรมจะเหมาะกว่า (+ไม่ทำให้หน้า การเขียนคำทับศัพท์ ที่วิกิพีเดีย ยาวเย่อเย้อด้วย)

-- bact' 11:46, 14 มิ.ย. 2005 (UTC)

จาก en:H เขา ว่า บริติช อ่าน เอช, อเมริกัน อ่าน เอช, ไอริช อ่าน เฮช, ออสเตรเลีย อ่าน เฮช แหนะ. --Ans 09:08, 1 กันยายน 2005 (UTC)

ผมว่าสร้างไปเลยครับ แล้วเขียนให้เป็นข้อตกลงไปเลย น่าจะสะดวกกว่า สำหรับคนอื่นที่ใช้ และคนใหม่ที่มาใช้ด้วย --Manop 00:31, 19 มิ.ย. 2005 (UTC)

ผมเห็นว่า ราชบัณฑิตยสถาน เค้าก็พอจะมี หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ อยู่แล้วน่าจะเอามาอ้างอิงเป็นบรรทัดฐานได้นะครับ กรณีภาษาอื่น ๆ ก็น่าจะใช้ ความนิยมและการสะกดที่ถูกต้อง รวมถึง การถอดเสียง ในกรณีเป็นศัพท์ใหม่ ๆ ครับ -- Keng 16:08, 25 กรกฎาคม 2005 (UTC)

อีเมล์

[แก้]

ราชบัณฑิต ใช้ เมล์ นะครับ ลองเช็คดู --Manop 21:47, 29 กรกฎาคม 2005 (UTC)

  • ค้นหาใน http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ด้วยคำว่า e-mail จะได้คำว่า อีเมล นะครับ ส่วนลิงก์ที่ลงไว้ในบทความนั้น [1] ไม่สามารถเปิดดูได้ครับผม
และผมเห็นการใช้คำว่า อีเมล์ มากกว่า อีเมล นะ -- PaePae 12:30, 1 สิงหาคม 2005 (UTC)
ผมเห็นว่า อีเมล น่ะถูกแล้วครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ตรงกันจริง ๆ สงสัยจะได้ทำโพลเป็นครั้งแรก --Pi@k 12:52, 1 สิงหาคม 2005 (UTC)

คำภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นที่ใช้ตัวอักษรโรมัน

[แก้]
  • คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำ เขียนขึ้นตามภาษาเดิม ให้ใกล้เคียงกับเสียงของเจ้าของภาษาเช่น
  • คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำ ที่คำอ่าน ไม่ตรงหรือไม่ใกล้เคียงกับ คำที่คนไทยเรียกกันติดปาก เช่น
  • คำว่า Photo น่าจะใช้คำว่า โฟโต้ ซะส่วนใหญ่ เพราะคุ้นเคยกันมากกว่า คำว่า โฟโต

ดังนั้นพวกเราควรช่วยกันคิด ค้น หาข้อมูล และเขียนเพื่อหาข้อสรุป ว่าคำประเภทใดควรเขียนคำทับศัพท์อย่างไร

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

[แก้]

โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้ Google ในการอ้างอิงสักเท่าไหร่ เนื่องจาก Google ไม่มีระบบตัดคำภาษาไทย

ตอนนี้มีแล้วนะครับ -Manop
ตรวจสอบแล้ว ยังไม่มีนะครับ ที่เห็นว่าคำที่เขียนติดกันโดยไม่เว้นวรรคแล้วกูเกิลสามารถแยกแยะเป็นคนละคำกันได้ เป็นเพราะตัวภาษา HTML มีผลทำให้โปรแกรมของกูเกิลเข้าใจว่าเป็นคำคนละคำกัน ไม่ใช่ความสามารถของกูเกิลโดยตรงครับ -- PaePae 19:14, 31 สิงหาคม 2005 (UTC)

ทำให้จำนวนผลลัพธ์ที่ได้ไม่สะท้อนกับความเป็นจริง ปกติผมจะอ้างอิงตามนี้เป็นหลัก

ส่วนกรณีที่มีหลายตัวเลือก ก็ต้องพิจารณาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมตามสมควร ส่วน Google ผมจะใช้เป็นตัวเลือกหลัง ๆ เลย กรณีที่ไม่มีอะไรอ้างอิงจริง ๆ

และตัวเลือกที่สะกดผิดหลักภาษา (เช่น วรรณยุกต์) ผมจะตัดทิ้งออกไปก่อนเลย ถือว่าไม่สมควรนำมาใช้งาน (ภาษาวิบัติ) -- PaePae 21:18, 15 กรกฎาคม 2005 (UTC)

เห็นด้วยเรื่องไม่สมควร ถ้าแค่สะกดยังสะกดผิด ไม่มีการตรวจสอบ นับประสาอะไรกับเนื้อหาของบทความ -Manop

เห็นด้วยว่าไม่ควรใช้ Google หรือเสิร์ชเอนจิ้นใด ๆ มาเป็นตัว "อ้างอิง" ควรใช้สำหรับ "สำรวจ" เท่านั้น

  1. ไม่มีระบบตัดคำไทย
  2. เอกสารภาษาไทยทุกชิ้น ไม่ได้อยู่บนอินเทอร์เน็ต (ที่ Google จะไปหาได้)
  3. เอกสารบนอินเทอร์เน็ต มีความโน้มเอียงที่จะสะกดผิดมากกว่าสิ่งพิมพ์ทั่วไป (ซึ่งมีการพิสูจน์อักษรก่อนตีพิมพ์)

-- bact' 21:31, 1 สิงหาคม 2005 (UTC)

ภาษาครับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ถ้าเราเชื่อมั่นในรูปแบบของสังคมมากกว่าหลักเกณฑ์ ภาษาคือสิ่งของมนุษย์ และสังคมมนุษย์ :)

ส่วนเรื่อง Google ไม่ได้เรียนคอมมา เถียงยาก เอาเป็นว่า ไ่่ม่ใช่เอาไว้ยึดถือครับ แต่แค่แสดงให้เห็นว่า คนใน Internet ใช้กันเยอะแค่ไหน เท่านั้นละครับ อย่าคิดมาก คิดมากกันจัง ถ้าจะอ้างอิงก็คงต้องอ้างอิงตามระบบอยู่แล้ว ไม่งั้นเดี๋ยวจะผิดหรือถูกเปล่าๆ ตอนเขียนเปเปอร์ก็ โดนอาจารย์บังคับหลายตัว กว่าจะเขียนเสร็จให้ถูก(ใจอาจารย์) นี่ก็นานเหลือเกิน เขียนไปเขียนมา ไม่มีคำทับศัพท์กลับกลายเป็นว่า เป็นภาษาไทยแขก ซะส่วนใหญ่ แล้วดันอ่านกันไม่เข้าใจ ไอ้เราก็คิดว่าเขียนคำทับศัพท์มันจะเข้าใจกันง่ายกว่าหรือเปล่า มัวแต่นั่งแปลไปแปลมา ให้ยุ่งยากให้ถูกตาม(ผู้)หลัก(ผู้ใหญ่) --Manop 23:11, 2 สิงหาคม 2005 (UTC)

ที่ว่ายึดเฉพาะในอินเทอร์เน็ตไม่ได้ เพราะว่าความรู้ทุกอย่างไม่ได้อยู่ในอินเทอร์เน็ตน่ะครับ และวิกิพีเดีย ก็ไม่ได้มีไว้เฉพาะให้คนในอินเทอร์เน็ตใช้ (มีฉบับซีดีด้วย และมีโครงการจะจัดพิมพ์เป็นเล่ม).

การศึกษาภาษา หรือ ภาษาศาสตร์ (linguistics) มีการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มีเหตุผลและที่มาที่ไป (เช่น ทฤษฎีไวยากรณ์ ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล) ควบคู่กับการศึกษาที่เป็นศิลปะครับ. แม้แต่การศึกษาสังคมมนุษย์ที่ว่า ในทางสังคมวิทยาก็ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาครับ ทุกอย่างต้องมีกรอบอ้างอิงในการศึกษา ไม่เช่นนั้นก็ประเมินผลไม่ได้ครับ.

เวลาเขียน ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็ตาม (ที่ไม่ใช่ไดอารี่) เขียนให้คนอื่นอ่านเป็นหลัก ไม่ได้เขียนให้ตัวเองอ่านครับ.

-- bact' คุย 02:20, 3 สิงหาคม 2005 (UTC)


แล้วทฤษฎีอยู่ไหนหรือครับ? ถ้ามีก็ช่วยเอามาลงด้วยครับ ส่วนถ้าไม่มีหรือว่าหาไม่เจอก็อย่าบอกว่า

 "ความรู้ทุกอย่างไม่ได้อยู่ในอินเทอร์เน็ตน่ะครับ" bact' said

ไม่งั้นจะมีวิกิพีเดียไว้ทำ...ครับ

มีหรือไม่มีก็ขอให้กระจ่าง --Manop 21:56, 15 สิงหาคม 2005 (UTC)

ทฤษฎีมีอยู่ครับ หาได้ตามห้องวิจัยด้านภาษาศาสตร์ ไม่ว่าจะในสายของสังคมศาสตร์ หรือในสายภาษาธรรมชาติของคอมพิวเตอร์
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการที่จะ "ท้า" ให้นำมาลง เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะหาข้อมูลนั้น ๆ ได้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะสะดวกไปค้นหาข้อมูลนั้น ๆ มาได้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจข้อมูลนั้น ๆ มากพอจนจะนำมาลง ณ ที่นี้ได้ และไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งที่จะต้องนำข้อมูลนั้น ๆ มาลง วิกิพีเดียเกิดขึ้นจากการเสียสละเวลาและแรงงานส่วนตัว เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์สารานุกรมเสรีแห่งนี้ขึ้นมาครับ -- PaePae 19:14, 31 สิงหาคม 2005 (UTC)

ลืมบอกไปว่า

   วิกิพีเดีย ก็ไม่ได้มีไว้เฉพาะให้คนในอินเทอร์เน็ตใช้ (มีฉบับซีดีด้วย และมีโครงการจะจัดพิมพ์เป็นเล่ม)

ถ้าลองคิดในทางกลับกันก็คงเป็นไปได้ยาก ถ้าพิจารณาหลายๆ ด้าน ถึงเรื่อง การเข้าถึง(กลุ่มไหน) การใช้งาน(ใครใช้) การจัดทำ(องค์กรไหน) ความน่าเชื่อถือ(เทียบกับสารานุกรมทั่วไป) ลองดูข้อดีและข้อเสียของวิกิพีเดียในมุมกว้างดูนะครับ อย่าคิดมาก

  • ลองหาดูนะครับ ว่าตอนนี้มีผู้ใช้กี่คนต่อวัน (ถ้าจะอ้างอิง)

--Manop 22:12, 15 สิงหาคม 2005 (UTC)

โครงการจัดทำวิกิพีเดียในสื่อประเภทอื่น ๆ เป็นเรื่องที่ทางวิกิมีเดียมีความตั้งใจจะทำเช่นนั้นครับ ซึ่งจะสำเร็จได้ก็ด้วยความลงมือลงแรงของชาววิกิพีเดียทุกคน ในการจัดทำ, ตรวจสอบ และดูแลเนื้อหาต่าง ๆ ให้มีคุณภาพควรค่าแก่การจัดทำสื่อถาวรเหล่านั้น
และผมเพิ่งสังเกตเห็นว่า ข้อความนี้มีข้อความซ่อนอยู่ ซึ่งผมถือว่าเป็นการซ่อนความที่ไม่เหมาะสมเลยนะครับ -- PaePae 19:14, 31 สิงหาคม 2005 (UTC)

การสะกดและทับศัพท์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีผลต่อ

  • การลิงก์
  • การค้นหา

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าทำไว้เป็นแนวทางเดียวกันตั้งแต่ต้น จะได้ไม่มีปัญหาตามไล่แก้กันทีหลัง สำหรับการทับศัพท์ จริงๆ แล้วใส่วรรณยุกต์ตามเสียงก็ได้ แต่เราจะทราบได้อย่างไร ว่าคนเขียน จะใส่หรือไม่ใส่ ผมว่า ไม่ใส่ดีกว่า จะได้ค้นหาง่ายหน่อย ไม่งั้นอีกหน่อยคงจะมี "คอมพิ้วเต้อ" เสิร์ชยังไงก็หาไม่เจอ ถ้าค้นด้วย "คอมพิวเตอร์" แบบปกติ

ถ้าได้แนวทางที่แน่นอนแล้ว ต้องมี guide ที่จะบอกสั้นๆ ให้ทุกคนที่เขียน ลิงก์ไปอ่านการทับศัพท์ หรือการสะกดฯลฯ อะไรก็ตาม ที่ทำให้เขียนเป็นแบบแผนเดียวกันได้ มันจะสะดวก

อันนี้พูดอย่างวัตถุเลยนะครับ ไม่ใช่หลักภาษาศาสตร์หรือเรื่องของไวยากรณ์ เอาแค่ตัวสะกดการันต์นี่แหละ ไม่อย่างนั้นก็คงจะเหมือนชักเย่อ คนหนึ่งแก้เป็นแบบ ก. อีกคนแก้เป็นแบบ ข. กลับไปกลับมา

สำหรับการสะกดคำไทย ควรยึดพจนานุกรมฉบับราชฯ แต่ถ้าต้องการสะกดแบบอื่น ก็ redirect เอา

สำหรับการทับศัพท์ น่าจะทับตามราชบัณฑิตยฯ อีกนั่นแหละ เพราะเป็นแบบแผนเดียวกัน ถ้าต้องการสะกดแบบอื่น ก็ควรจะ redirect มา ผมไม่เห็นด้วยหลายคำกับราชบัณฑิตยฯ แต่ก็ยอมใช้ตามนั้น เพราะเราไม่รู้ว่าคนอื่นเขาใช้อย่างไร อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ท่านก็ไม่เห็นด้วยหลายคำ แต่ท่านใช้ตามนั้น ผมว่าพอจะช่วยเรื่องการกำหนดมาตรฐานได้นะครับ

เรื่องการออกเสียง มีปัญหา ถ้าไม่มีหลัก เพราะแต่ละภาษาก็ออกเสียงไม่เหมือนกัน ยุโรปก็มีตั้งหลายภาษา

สำหรับหน้าค้นหา น่าจะมีข้อความระบุ (ว่าถ้าหาไม่เจอ ให้เปลี่ยน "คำสำคัญ" หรือให้ค้นจากหมวดหมู่ (อย่าง yahoo)

อนึ่ง (อิๆ) หลักทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ของราชบัณฑิตยฯ ท่านเขียนละเอียดมาก สำหรับภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาอื่น ไม่มีรายละเอียดอะไรเลย ดูแล้วก็แปลกๆ เอ.. เราคุยเรื่องเดียวกันหรือเปล่า??? -- --ธวัชชัย 01:21, 16 สิงหาคม 2005 (UTC)


Calm down! Have a beer! ข้อความเริ่มยาวแทรกกันไปมาเริ่มสับสน -_-" สรุปกันหรือยังนี่? ไร้สติ 19:40, 31 สิงหาคม 2005 (UTC)

ที่ว่าจะร่างเกณฑ์ทับศัพท์ ไม่ทราบว่าจะเริ่มกันเมื่อไหร่ครับ? -- --ธวัชชัย 00:41, 1 กันยายน 2005 (UTC)

ข้อความจากหน้าโครงการ

[แก้]

ผมย้ายข้อความจากหน้าโครงการ ที่ค่อนข้างจะยืดยาว (ที่ผมเขียน ^_^) มารวมไว้ในหน้านี้ ส่วนหน้าหลัก เอาไว้เขียน หลักการ, แหล่งอ้างอิง, วิธีทำ, และอื่นๆที่จำเป็นสำหรับโครงการ ที่สามารถนำไปช่วยในการเขียนโครงการ

ข้อความเก่ามีดังนี้นะครับ

[แก้]

กรุณา ค้นหาและศึกษา ก่อนการบัญญัติการสะกดใด ๆ เอง โดย หากสงสัย ให้ปรึกษาชาววิกิพีเดียคนอื่น ๆ (ปรึกษาโดย___) เพื่อขอความเห็นก่อน

เนื่องจากคำทับศัพท์มีการกล่าวถึงหลายครั้ง จากการที่แปลภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน มาเป็นภาษาไทย การสะกดคำ ตัวสะกด วรรณยุกต์ สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ โครงการคำทับศัพท์นี้อยากให้ทุกคนช่วยออกความเห็นและช่วยกันเขียนและแก้ไขวิธีการในบทความนี้

ตัวอย่างที่เห็นได้จากการใช้คำทับศัพท์ที่สะกดต่างกัน

[แก้]

ผลจากการใช้ที่เห็นไม่สามารถกำหนด หรืออ้างอิงการใช้งานได้โดยสรุปได้ดังนี้:

  1. การสะกดที่เป็นที่นิยม อาจจะเป็นรูปการสะกดที่ผิดหลักภาษาก็ได้
  2. เครื่องมือค้นหาที่ใช้ ไม่สนับสนุนภาษาไทยอย่างสมบูรณ์ อาจทำให้เกินความคลาดเคลื่อนในการค้นหา
  3. เอกสารภาษาไทยทุกชิ้น ไม่ได้อยู่บนอินเทอร์เน็ต (ที่เครื่องมือค้นหาจะทำการค้นหาได้)
  4. เอกสารบนอินเทอร์เน็ต มีความโน้มเอียงที่จะสะกดผิดมากกว่าสิ่งพิมพ์ทั่วไป (ซึ่งมีการพิสูจน์อักษรก่อนตีพิมพ์)

ผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาสามารถใช้ในการ:

  1. เป็นแนวทางในการทำหน้าเปลี่ยนทาง (redirect) เพื่อโอนชื่อหัวข้อที่สะกดผิด ไปยังชื่อหัวข้อที่สะกดถูก
  2. เป็นแนวทางในการค้นหาคำที่สะกดผิดในเนื้อบทความ และแก้ไขเพื่อปรับปรุงคุณภาพบทความ

ตัวอย่างของการใช้งานคำทับศัพท์จาก Google ของคำทับศัพท์บางคำ เพื่อสำรวจคร่าว ๆ ถึงการสะกด


This page วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย was intended for the same purpose but it doesn't seem to fly. When you create a new page, let me know I'll delete that page.  ;) ไร้สติ 04:46, 1 กันยายน 2005 (UTC)
Project page will include the problems and solutions. I'm sorry that I didn't read that talk page before. Do you want me to merge into วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย ?--Manop 04:54, 1 กันยายน 2005 (UTC)