สตาเดีย
อุปกรณ์มือถือที่กำลังเปิดเกม มอร์ทัลคอมแบต 11 บนสตาเดียพร้อมตัวควบคุมอย่างเป็นทางการ | |
ผู้พัฒนา | กูเกิล |
---|---|
ชนิด | เกมคลาวด์ |
วันที่เปิดตัว | 19 พฤศจิกายน 2019 |
ปิดบริการ | 18 มกราคม 2023 |
ระบบปฏิบัติการ | ข้ามแพลตฟอร์ม |
เว็บไซต์ | stadia |
สตาเดีย (อังกฤษ: Stadia) คือระบบเกมที่เล่นผ่านเกมคลาวด์ พัฒนาโดยกูเกิล ไม่มีเครื่องเล่นเกมเฉพาะ โดยผู้เล่นจะเล่นผ่านเซิฟเวอร์ของกูเกิลโดยตรง[1] ระบบเกมเป็นที่รู้จักในระหว่างการพัฒนาในชื่อโปรเจ็กต์สตรีม บริการนี้เปิดตัวผ่านเบต้าแบบปิดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 และเปิดตัวต่อสาธารณะในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 บริการนี้มีไว้เพื่อแข่งขันกับการสตรีมบนคลาวด์อย่างเพลย์สเตชันพลัสของโซนี่, จีฟอร์ซนาวของอินวิเดีย, ลูนาของแอมะซอน และเอกซ์บอกซ์คลาวด์เกมมิงของไมโครซอฟท์ ในช่วงแรก สตาเดียได้รับกระแสตอบรับผสมกันจากนักวิจารณ์ โดยคำวิจารณ์ส่วนใหญ่มุ่งไปที่คลังเกมที่มีอยู่อย่างจำกัดและการขาดฟีเจอร์ที่สัญญาไว้ ในตอนแรก กูเกิลตั้งใจที่จะพัฒนาเกมภายในองค์กรนอกเหนือจากการโฮสต์เกมที่ผลิตโดยบริษัทบุคคลที่สาม แต่ยกเลิกแผนนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และปิดสตูดิโอ บริการยังคงขายเกมของบริษัทบุคคลที่สามต่อไป และกูเกิลได้นำเสนอเทคโนโลยีการสตรีมเกมเป็นผลิตภัณฑ์ไวท์เลเบล กูเกิลประกาศในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ว่าจะปิดสตาเดีย บริการยุติการให้บริการอย่างถาวรในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 23:59 น. ตามเวลาแปซิฟิก[2]
สตาเดียสามารถเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์โครมแคสอัลตราและแอนดรอยด์ทีวีบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านเว็บเบราว์เซอร์กูเกิลโครม และเบราว์เซอร์อื่น ๆ ที่ใช้ โครเมียม, โครมบุ๊ค และแท็บเล็ตที่ใช้โครมโอเอส และแอปมือถือสตาเดียบนอุปกรณ์แอนดรอยด์ที่รองรับ ตราบเท่าที่เวอร์ชันล่าสุดของเบราว์เซอร์โครมและแอปสตาเดียเวอร์ชันล่าสุดได้รับการติดตั้งแล้ว[3] นอกจากนี้ยังมีโหมดทดลองที่รองรับอุปกรณ์แอนดรอยด์ทั้งหมดที่สามารถติดตั้งแอปมือถือสตาเดียได้[4] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 กูเกิลได้เปิดตัวเว็บแอปพลิเคชันแบบโปรเกรสซีฟบนเบราว์เซอร์ไอโอเอสสำหรับสตาเดียทำให้สามารถเล่นเกมในเบราว์เซอร์ซาฟารีได้[5]
สตาเดียสามารถสตรีมวิดีโอเกมไปยังผู้เล่นจากศูนย์ข้อมูลจำนวนมากของบริษัทที่ความละเอียดสูงสุด 4K และ 60 เฟรมต่อวินาที พร้อมรองรับวิดีโอช่วงไดนามิกสูง (HDR) ให้ตัวเลือกในการซื้อเกมจากร้านค้าพร้อมกับเกมที่เล่นฟรีให้เลือกมากมาย[6] แม้ว่าบริการพื้นฐานจะให้บริการฟรีและอนุญาตให้ผู้ใช้สตรีมด้วยความละเอียดสูงสุดที่ 1080p การสมัครสมาชิกรายเดือนของสตาเดียโปรอนุญาตให้ผู้ใช้สตรีมความละเอียดสูงสุดที่ 4K, เสียงเซอร์ราวด์ 5.1, HDR และเสนอคอลเลกชั่นเกมฟรีที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อกดรับแล้วจะยังคงอยู่ในห้องสมุดของผู้ใช้ทุกครั้งที่มีการสมัครสมาชิกรายเดือน ทั้งสองระดับช่วยให้ผู้ใช้สามารถเล่นเกมออนไลน์แบบผู้เล่นหลายคนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สตาเดียถูกรวมเข้ากับยูทูบและฟีเจอร์ "การแชร์สถานะ" ทำให้ผู้เล่นสามารถเปิดเกมที่รองรับจากสถานะการบันทึกที่แบ่งปันโดยผู้เล่นอื่นผ่านลิงก์ถาวร บริการนี้รองรับคอนโทรลเลอร์เกมสตาเดียที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกูเกิลรวมถึงคอนโทรลเลอร์ที่ไม่ใช่ของสตาเดียต่าง ๆ ผ่านการเชื่อมต่อยูเอสบีและบลูทูธ[7]
คุณสมบัติ
[แก้]สตาเดียคือระบบเกมที่มีฐานอยู่บนเซิฟเวอร์ของกูเกิล[8] และไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมใด ๆ เพียงแค่อุปกรณ์นั้นมีอินเทอร์เน็ตและรองรับกูเกิล โครมเท่านั้น
สตาเดียสามารถทำงานได้ดีในการถ่ายทอดสดการเล่นเกมผ่านยูทูป ตามที่ ฟิลล์ แฮริสัน ของกูเกิลได้กล่าวถึงชื่อของ"Stadia" ว่าชื่อนี้คือชื่อพหูพจน์ของคำว่า "Stadium" (สนามกีฬา) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ามันจะเป็นแหล่งรวมความบันเทิง โดยที่ผู้ชมสามารถเลือกที่จะนั่งดูหรือมีส่วนร่วมไปกับเกมก็ได้[9]
ด้วยการที่กูเกิลมีศูนย์เก็บข้อมูลกระจายตัวอยู่มากมายหลายพันที่ทั่วโลก ทางบริษัทจึงเชื่อว่าสตาเดียจะอยู่ในลำดับที่ดีกว่าสำหรับการเล่นเกมบนคลาวด์เมื่อเทียบกับบริการอื่น ๆ ที่ผ่านมา เช่น OnLive, PlayStation Now และ Gaikai เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้กับสถานที่ตั้งของศูนย์ข้อมูลมากกว่าบริการเหล่านี้ สตาเดีย รองรับการถ่ายทอดสดเกมในระบบHDR โดยมีความเร็วภาพที่ 60 เฟรมเรทด้วยความคมชัดแบบ4K และในอนาคตอาจมีความเร็วภาพถึง 120 เฟรมเรท และรองรับความคมชัดระดับ8K[9] เมื่อสมัครบริการแล้วผู้เล่นสามารถเริ่มเกมได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดเนื้อหาใหม่ไปยังอุปกรณ์ส่วนตัว ผู้เล่นสามารถบันทึกการเล่นหรือถ่ายทอดสดการเล่นของพวกเขาได้ในยูทูป ผู้ชมการถ่ายทอดสดดังกล่าวที่สมัครใช้บริการสามารถเปิดเกมโดยตรงจากสตรีมด้วยสถานะการบันทึกเดียวกับที่พวกเขาดู[9] กูเกิลได้พัฒนาคอนโทรลเลอร์ของตนเองซึ่งเชื่อมต่อผ่านไวไฟโดยตรงไปยังกูเกิล[9] จากงานเปิดตัว ของกูเกิลที่ใช้ชื่อ GDC 2019 keynote กูเกิลยืนยังว่าคุณสมบัติกูเกิล แอสสิสแทนต์ จะมีอยู่ในแผงควบคุม ซึ่งจะค้นหาวิดีโอที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเกมที่พวกเขากำลังเล่นอยู่โดยอัตโนมัติเมื่อกดปุ่ม[10]
พัฒนาการ
[แก้]Project Stream เป็นสัญญาณแรกที่กูเกิลได้ประกาศให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์วิดีโอเกม ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทเคยมีข่าวลือว่ากำลังทำโครงการเยติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 Google ได้ว่าจ้างผู้บริหารอุตสาหกรรมเกมฟิลล์ แฮริสัน และได้รับการว่าจ้างจากผู้พัฒนาระหว่างกิจกรรมอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2561[11] ความแตกต่างหลักของ Project Stream จากบริการที่ผ่านมาเช่น OnLive, GeForce Now และ PlayStation Now คือความสามารถในการทำงานในเบราว์เซอร์ Chrome บนเดสก์ท็อปใด ๆ [1] The service uses AMD Radeon graphics hardware.[12]
กูเกิลประกาศให้บริการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561[13] ต่อมาไม่นานได้เปิดคำเชิญไปยังผู้ทดสอบเบต้าด้วยการเข้าถึง Assassin's Creed Odyssey ผู้เล่นสามารถสมัครเพื่อเข้าถึงการทดสอบและผู้ที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตขั้นต่ำสามารถเล่นเกมได้ในเบราว์เซอร์โครม[14] ผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับสำเนาของเกมฟรีเมื่อเบต้าหมดอายุ[15]
สตาเดียได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการระหว่างคำปาศรัยสำคัญของกูเกิลในปี พ.ศ. 2562 ที่งาน Game Developers Conference เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562[16]โดยที่ เจดย์ เรย์มอนด์ เป็นหัวหน้าผู้พัฒนา[17]
เกม
[แก้]การรับรอง
[แก้]ก่อนวางจำหน่าย
[แก้]ในช่วงเบต้าบริการได้รับการตอบรับในด้านบวกจากผู้ที่ร่วมการทดสอบอย่างเกินความคาดหมาย|Verge preview|Polygon preview|Ars T preview}} และทำให้การสตรีมเกมเป็นทางเลือกที่ใช้แทนเกมพีซีได้[14][13] ผู้ตรวจสอบรายงานว่าบริการสตรีมมิ่งมีความล่าช้าต่ำและให้ความรู้สึกราวกับว่ากำลังเล่นเกมในเครื่อง[14][13] ทั้งนี้ ผลที่ได้รับย่อมขึ้นอยู่กับความเร็วของไวไฟและความละเอียดของหน้าจอ[14] จากการทดสอบโดยThe Verge หากใช้อินเทอร์เน็ตแบบมีสาย จะไม่มีปัญหาในเรื่องความลื่นไหลในการเล่นเกมเลย แต่จะมีการกระตุกบ้างหากใช้อินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้มาก[14] อย่างไรก็ตามแม้จะใช้การเชื่อมต่อผ่านสาย แต่สตรีมก็ไม่ได้มีความละเอียด 4K และบางครั้งก็ขาดหายบ้างเมื่อใช้การบีบอัดข้อมูล ผู้ร่วมทดสอบรายงานว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดหากใช้โครมบุ้ค พิเซล ของ กูเกิลเอง[14] Polygon พบการบีบอัดเสียงของบริการที่เห็นได้ชัดเจน[13]
Ars Technica ตั้งข้อสังเกตว่าลำดับการลงชื่อเข้าใช้ของ Project Stream นั้นง่ายกว่าบริการอื่น ๆ [1]
อ้างอิง
[แก้]บันทึกย่อ
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Machkovech, Sam (ตุลาคม 9, 2018). "Google's Project Stream: That's really a full Assassin's Creed in my browser". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 11, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
- ↑ Tassi, Paul (January 11, 2023). "Here's Google Stadia's Exact Date And Time Of Death". Forbes.
- ↑ "Stadia – Cloud Gaming from Google". IONOS Digitalguide (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-19.
- ↑ "Stadia Savepoint: June updates". The Keyword. Google. June 30, 2020. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
- ↑ Wilde, Damien (2020-12-16). "Google Stadia was now fully playable on iOS w/ web app". 9to5Google (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ "Free games on Stadia". Stadia Help. สืบค้นเมื่อ January 12, 2022.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcompatible gamepads screens
- ↑ Techno, Highly. "Google's Stadia Gaming Platform". HighlyTechno. Shubham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Leadbetter, Richard (March 19, 2019). "The big interview: Phil Harrison and Majd Bakar on Google Stadia (อังกฤษ)". ยูโรเกมเมอร์. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.
- ↑ Bowers, Quintlyn (March 19, 2019). "Stadia's Wi-Fi Controller Looks Familiar, But Features Google Assistant (อังกฤษ)". GameSkinny. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.
- ↑ Amadeo, Ron (ตุลาคม 1, 2018). "Google announces 'Project Stream'—a 'test' of game streaming in Chrome". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 25, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
- ↑ Takahashi, Dean (มกราคม 9, 2019). "Google's Project Stream cloud gaming will use AMD Radeon Graphics (อังกฤษ)". VentureBeat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ มกราคม 13, 2019.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Goslin, Austen (ตุลาคม 8, 2018). "Streaming Assassin's Creed Odyssey in Google Chrome is surprisingly great". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 17, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 Etienne, Stefan (ตุลาคม 8, 2018). "Google's Project Stream is a working preview of the future of game streaming". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 26, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
- ↑ Good, Owen S. (ธันวาคม 15, 2018). "Get free Assassin's Creed Odyssey on PC for testing Google's Project Stream (อังกฤษ)". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 23, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
- ↑ Wilde, Tyler (March 19, 2019). "Google announces Stadia, a game streaming service 'for everyone' (อังกฤษ)". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.
- ↑ Chalk, Andy (March 19, 2019). "Jade Raymond is heading Google's first-party game studio". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.
ดูเพิ่ม
[แก้]- McLaughlin, Kevin; Efrati, Amir (กุมภาพันธ์ 7, 2018). "Google May Step Into Gaming With 'Yeti' Streaming Service (อังกฤษ)". The Information. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 22, 2019.
- Statt, Nick (มีนาคม 16, 2019). "Everything we think we know about Google's mystery gaming announcement (อังกฤษ)". The Verge. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 16, 2019.