คุยเรื่องวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ/กรุ 3
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 1 | กรุ 2 | กรุ 3 | กรุ 4 |
1, 2, 3, 4 |
ถามความเห็น เรื่องยศพระขุนนางสงฆ์
พระสงฆ์ไทย (เถรวาท)
เรื่องชื่อนำหน้าพระสงฆ์เพิ่มเติมครับ
ในบทความพระสงฆ์ทั่วไปที่ไม่มีสมณศักดิ์ เห็นโดยส่วนใหญ่จะใช้คำต่างกัน เช่น หลวงพ่อ หลวงปู่ พระอาจารย์ นำหน้าชื่อ-ฉายา. ซึ่งชื่อและฉายา อาจมีซ้ำกันได้ครับ อยากให้ลงนามสกุลและคำนำหน้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกันครับ
ผมคิดว่าพระสงฆ์ถือได้ว่าอยู่ในฐานะที่ควรได้รับการยกย่องในระดับหนึ่ง อยู่ในฐานะที่แตกต่างจากฆราวาสสามัญ ซึ่งจะใช้ ชื่อ นามสกุล (เช่น ทักษิณ ชินวัตร) เท่านั้นในการตั้งบทความ (ยกเว้นราชทินนนาม)
จึงมีเรื่องอยากให้ช่วยพิจารณาหน่อยครับ (เพิ่ม พระ นำหน้าชื่อ)
เช่น
พระ วิกิ ฉายา วิกิปญฺโญ นามสกุล แก้ววิกิ
ควรใช้เป็น พระวิกิ วิกิปญฺโญ (แก้ววิกิ) แทนที่จะเป็น พระวิกิ วิกิปญฺโญ หรือ วิกิ วิกิปญฺโญ หรือ หลวงปู่วิกิ วิกิปญฺโญ (อันนี้ยังต้องพูดคุยกันก่อนว่าจะเอายังไง เพราะมีปัญหาอื่น ๆ ด้วย เช่น ชื่อที่นิยมเรียกกันทั่วไป หากมาใช้เช่นนี้ ชาวบ้านจะสับสนไหม มีวิธีแก้ยังไง)
พระ วิกิ ฉายา วิกิปญฺโญ นามสกุล แก้ววิกิ เป็นฐานาหรือเปรียญ เช่นเป็น พระมหา หรือ พระสมุห์ (ถือเป็นสมณศักดิ์ชนิดหนึ่ง)
ควรใช้เป็น พระมหาวิกิ วิกิปญฺโญ (แก้ววิกิ) (อันนี้ยังต้องพูดคุยกันก่อนว่าจะเอายังไง)
พระ วิกิ ฉายา วิกิปญฺโญ นามสกุล แก้ววิกิ เป็นพระสมณศักดิ์ เช่น ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นInwที่ พระเทพวิกิปัญโญภาส
ควรใช้เป็น พระเทพวิกิปัญโญภาส (วิกิ วิกิปญฺโญ) (อันนี้ไม่มีปัญหาเพราะตกลงกันได้แล้ว)
-- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 19:28, 31 พฤษภาคม 2552 (ICT)
อ่านแล้วงงนิดหน่อย สรุปให้ฟังใหม่ดังนี้ครับครับ
- นโยบายปัจจุบัน พระที่มีสมศักดิ์ จะได้ใช้ ชื่อสมณศักดิ์ และมีวงเล็บ ชื่อ/ฉายา ประกอบ เช่น พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
- ปัญหาคือ ถ้าพระท่านดังกล่าวไม่มีสมณศักดิ์ นโยบายปัจจุบันไม่ได้อนุญาตไว้ ชื่อ บทความก็จะกลายเป็น ชื่อ-นามสกุล หรือ ชื่อ-ฉายา เฉยๆ ไม่มีคำนำหน้าใดๆ แม้แต้คำว่าพระนำหน้า เช่น
ฟังดูแล้วอาจไม่คุ้นเคยและไม่ทราบว่าเป็นพระ
แนวทางแก้ไขที่เสนอข้างต้นคือ เติมคำว่า พระ หรือ (พระมหา/พระสมุห์) นำหน้าไป แต่อาจติดขัดตรงที่ว่า หากผู้อ่านคุ้นติดกับคำนำหน้าอื่นแล้ว จะรู้สึกฟังดูไม่คุ้นเคยกับคำนำหน้าที่เดิมให้ เช่น
- มั่น ภูริทัตโต อาจฟังดูไม่ถนัดหูสำหรับบางคน
- พระมั่น ภูริทัตโต ฟังดูแปลกขึ้นไปอีก
- พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หรือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นชื่อได้ยินกันอย่างคุ้นเคย แต่ไม่สอดคล้องกับหลักการตั้งชื่อในปัจจุบัน
นอกจากตัวชื่อแล้ว การกล่าวถึงในบทความก็ยังเป็นจุดที่เป็นปัญหาอีก จะให้กล่าวถึงโดยใช้คำว่า มั่น พระมั่น พระอาจารย์มั่น หรือ หลวงปู่มั่น ก็เป็นที่สับสน
จึงเสนอมาเป็นสองปัญหาที่รบกวนความเห็นชาววิกิพีเดียครับ
- ส่วนของชื่อบทความ
- ส่วนของการกล่าวถึงในบทความ
ว่าควรจะใช้ำคำพูดอย่างไร ให้เหมาะสม เป็นกลาง และได้รับการยอมรับจากผู้อ่าน --taweethaも 20:21, 31 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ขอบพระคุณมากครับที่ช่วยสรุปให้ รบกวนขอความเห็นด้วยครับ -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 00:12, 1 มิถุนายน 2552 (ICT)
ผมได้ไปแสดงความคิดความเห็นไว้ที่เรื่อง พิพิธภัณฑ์ กับ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไว้หลายรูปแบบ แต่ตรงนี้ยังคิดไม่ออกครับ ขอคิดดังๆ ว่าอย่างนี้
- สำหรับชื่อบทความ
- มีอย่างนึงที่คิดว่าใช้ไม่ได้แน่นอนคือ ชื่อ ฉายา (พระ/ยศตำแหน่ง) เช่น วิกิ วิกิปญฺโญ (พระมหา)
- คิดไปคิดมา การไปเติม พระ ข้างหน้าชื่อบทความ กลับจะตัดโอกาสความก้าวหน้าของพระท่านไหนไปหรือเปล่าครับ เพราะถ้าได้รับสมศักดิ์ภายหลังก็ต้องมาเปลี่ยนชื่อกันอีก
- เวลาพระท่านกล่าวถึงตัวเอง หรือเวลาลงชื่อ ก็มักไม่ใส่ พระ หรือ หลวงปู่ หลวงตา ก็เพียงแต่ลงนามเป็นชื่อ ฉายา ไม่เหมือน ทหารที่เวลาเซ็นชื่อ ยังต้องมียศอย่างนำหน้า
- ชื่อ + ฉายา ของพระท่านส่วนใหญ่ ก็มักจะบ่งบอกอยู่แล้วว่าเป็นพระ มีเพียงส่วนน้อยที่ฟังแล้วเหมือนคนธรรมดา
- อย่างที่กล่าวข้องบนว่า ถ้าตัดหลวงปู่ หลวงตาออก แล้วเติม "พระ" นำหน้าไป จะยิ่งฟังขัดหู ก็ไม่ควรเติม "พระ" ให้เสียศรัทธาผู้ชมกันไปใหญ่
- สำหรับการกล่าวถึงในบทความ
- ถ้าใช้หลักคิดอย่างเดียวกับชื่อบทความ ก็คือ ไม่ควรไปเติม "พระ" นำหน้าชื่อท่าน ถ้าคนทั่วไปไม่ได้เรียกท่านว่าพระ... แต่เรียกเป็นอย่างอื่นๆ ว่าหลวงปู่ หลวงตา ก็น่าจะเรียกไปตามนั้น เหมือนที่เรียกท่านจอมพล ในบทความตามที่นิยมเรียกกัน และเรียกนักการเมืองด้วยขื่อเฉยๆ ตามภาษาสื่อมวลชน ถ้ากลัวไม่เป็นกลาง ก็ใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 3 แทนว่า "ท่าน" เฉยๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ทั้งนี้ยังไม่เป็นข้อสรุปแต่อย่างไร รอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ --taweethaも 08:30, 1 มิถุนายน 2552 (ICT)
คือผมจะบอกว่าการตั้งชื่อบทความที่เกี่ยวกับพระสงฆ์นั้น ถ้าเป็นพระที่ไม่มีสมณศักดิ์ ก็ใช้คำนำหน้าว่าหลวงปู่หรือพระอาจารย์ดูจะเหมาะสมกว่า ถ้าเป็นพระที่มีสมณศักดิ์ ก็ใช้ยศ ราชทินนาม ตามด้วยชื่อจริงและฉายา ถ้าเป็นเปรียญก็ใช้คำนำหน้าว่าพระมหาครับ เหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยน
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 18:00, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
จะรู้ได้อย่างไรครับว่าเมื่อไหร่ใช้ หลวงปู่ หลวงตา พระอาจารย์ พระครู ... --taweethaも 18:06, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
ถ้าเป็นสายวิปัสสนาธุระหรือไม่ก็สายคันถธุระอาจจะเรียกว่าพระอาจารย์ หรือถ้าเป็นเคารพของคนทั่วไปก็เรียกหลวงปู่ หลวงตา หลวงพ่อ แล้วแต่กรณีปละความเหมาะสม
ส่วนพระครูนั้นเป็นสมณศักดิ์ประเภทหนึ่งครับ มีสองประเภทคือพระครูชั้นประทวนและพระครูสัญญาบัตร
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 18:24, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
ลองดูอันนี้นะครับ ผมลองใช้หูฟังดูว่าคุ้นไหม
- หลวงปู่มั่น พระอาจารย์มั่น กับ หลวงตามั่น หลวงพ่อมั่น
- หลวงพ่อทา กับ หลวงปู่ทา พระอาจารย์ทา หลวงตาทา
แล้วจะตัดสินยังไงถูกครับ เพราะการร่างหลักเกณฑ์ที่ดี คนอ่านแล้วต้องเข้าใจและปฏิบัติตามได้เหมือนกัน --taweethaも 18:35, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
จากที่ท่านเจ้าสำนักและท่านแก้วกล่าวมาข้างต้น ได้ความคิดว่า ถ้าจะให้ลงเป็นอันเดียว ไม่ลักลั่น พระภิกษุที่เป็นที่ยอมรับในสายวิปัสสนาทั้งปวงที่ไม่มีสมณศักดิ์นำหน้าน่าจะใช้คำว่า พระอาจารย์ เพราะไม่เช่นนั้นก็จะใช้หลวงพ่อหลวงตาหลวงปู่หลวงป๋า ปนไปกันหมด หาที่ยุติไม่ได้ อีกประการหนึ่ง พระอาจารย์ก็เป็นคำเรียกที่ใช้ในสำนักวิปัสสนาหรือวัดป่าเป็นปกติ ไม่เห็นแปลกอะไร ลองพิจารณาดูครับ -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 19:38, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
อันนี้ก็ฟังดูเข้าทีครับ แต่จะเป็นธรรมหรือเปล่าครับ ถ้าบางท่านเราให้ชื่อบทความเป็นพระอาจารย์ บางท่านไม่ให้อาจารย์ ให้พระเฉยๆ หรือไม่ให้ท่านเลย เดี๋ยวท่านน้อยใจ --taweethaも 19:51, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
เท่าที่ผมดู ไม่มีบทความที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ไทยบทความไหนเลย ที่ใช้คำนำหน้าว่าพระอย่างเดียว (ถ้าหากมีก็ช่วยบอกด้วยนะครับ)
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 19:59, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
มีไม่มีต้องพูดให้ชัดเจน โปรดดูที่นี่ประกอบครับ หมวดหมู่:พระสงฆ์ไทย
- ที่ชื่อบทความ ตอนนี้ไม่มีครับ แต่เสนออยู่ข้างบนตอนต้นไงครับ ว่าจะใส่พระให้ทั้วหน้าเสมอกัน
- การกล่าวถึงภายในบทความ ก็มีเต็มเลย ดูบทความที่ชื่อท่านไม่มีพระนำหน้าอย่าง ขาว อนาลโย เป็นต้นครับ ภายในกล่าวถึงพระขาว... หรือว่าพระยิ้มก็มีครับ ดูได้จากในหมวดหมู่ที่ว่าเลย
พอไปดูในหมวดหมู่แล้ว จะรู้ว่าเราอภิปรายกันบนพื้นฐานของบทความที่ไม่มากนัก แต่ก็คิดว่าเพื่อประโยชน์สำหรับบทความที่จะสร้างเพิ่มกันขึ้นมาอีกในอนาคตนะครับ --taweethaも 20:17, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 21:52, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
พระจีนหล่ะครับ (ดูที่ วิศวภัทร มณีปัทมเกตุ)
จากคุยกับผู้ใช้:Jutiphan มีคนไปบ่นไว้ในนั้นครับ ว่าหลวงจีน ก็ต้องมีหลวงจีนนำหน้า หยิบยกมาให้พิจารณาในคราวเดียวกันเลย --taweethaも 21:58, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
เช่นเดียวกับพระสงฆ์ไทย พระสงฆ์จีนนิกายหรืออนัมนิกาย สมควรมีคำนำหน้าว่า "หลวงจีน" ตามด้วยนามสกุล เช่น หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ แทนที่จะเป็นวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ ซึ่งเหมือนนามฆราวาส หรือแทนที่จะเป็นพระวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ (ซึ่งอันนี้จะทำให้สับสนกับพระสงฆ์ไทย) และการกล่าวในบทความว่า "นาย" เป็นการไม่สมควรครับ สำหรับเหตุผล คงไม่ต้องอธิบายเพิ่ม -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 22:14, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
- ไม่มีตรงไหนใช้นายเป็นคำนำหน้านะครับ เพราะขนาดคนธรรมดา ตามหลักการตั้งชื่อเรายังไม่ใช้นายนำหน้าเลยครับ ดูจากประวัติของบทความได้ ผู้ไปแจ้งในหน้าคุณ Jutiphan อาจดูคลาดเคลื่อนไป --taweethaも 22:26, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
- โอ๊ะ! ขออภัย พักตร์พินาศ เลยขอรับ TOT -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 23:09, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
- ไม่มีตรงไหนใช้นายเป็นคำนำหน้านะครับ เพราะขนาดคนธรรมดา ตามหลักการตั้งชื่อเรายังไม่ใช้นายนำหน้าเลยครับ ดูจากประวัติของบทความได้ ผู้ไปแจ้งในหน้าคุณ Jutiphan อาจดูคลาดเคลื่อนไป --taweethaも 22:26, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
ขอเสริมสักนิดนะครับ
ถ้าเป็นบรรพชิตจีนที่มีตำแหน่งคณานุกรม จะใช้คำนำหน้าว่าหลวงจีนเช่น หลวงจีนธรรมนันทประพันธ์ ส่วนบรรพชิตญวนก็เช่นเดียวกัน จะใช้คำนำหน้าว่าองครับ เช่น องสรภาณมธุรส ส่วนตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ รองเจ้าคณะนั้น ก็จะมีราชทินนาม เช่นฝ่ายบรรพชิตจีน:พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร ฝ่ายบรรชิตญวน:พระคณานัมธรรมวิธาจารย์ เป็นต้น
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 22:36, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
- ไม่ทราบว่าพระจีนพระญวนที่เป็นอนุจรสามัญ เขาเรียกคำนำหน้าว่ากระไรขอรับ ใช่ พระ หรือ อง หรือ หลวงจีน เฉย ๆ หรือปล่าวครับ -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 23:09, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
- ตามไปดูเว็บวัดจีน เห็นใช้คำว่าหลวงจีนนำหน้าพระที่ไม่มีสมณศักดิ์ [1] -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 21:21, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
แถมอีกประเด็น (สมณะโพธิรักษ์ และ วินัย ละอองสุวรรณ หรือ อดีตพระยันตระ อมโรภิขุ)
ไหนๆ จะพิจารณาแล้ว ต้องมองให้เห็นภาพรวมครับ จึงขอป้อนโจทย์เพิ่มให้อีก --taweethaも 22:41, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
สำหรับกลุ่มสันติอโศก ถือว่าเป็นกลุ่มนักบวชพุทธที่ไม่ได้รับการรับรองจากมหาเถรสมาคมและกรมการศาสนา (สำนักพุทธ?) จึงไม่ควรใช้นามฆราวาส (ในบัตรประชาชนท่านก็เป็นนามฆราวาส). ผมจึงคิดว่าสำหรับกลุ่มนักบวชสันติอโศก และพระสงฆ์ที่สึกแล้ว ควรใช้นามปัจจุบันครับ (ชื่อ+นามสกุล แบบฆราวาส).
ซึ่งถ้าทำเช่นนี้ย่อมกระทบต่อจำนวนผู้ชมแ่น่นอน เพราะชื่อเดิมหรือนามแฝงของท่านย่อมเป็นที่รู้จักมากกว่า อย่างที่เรารู้จักคำว่า พระยันตระ มากกว่าชื่อเดิมท่านคือ วินัย ละอองสุวรรณ หรือ สมณะโพธิรักษ์ มากกว่า รักษ์ รักษ์พงษ์,
แต่ผมคิดว่าอย่างไรเราก็สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ด้วยการสร้างหน้าเปลี่ยนทางมาที่หน้านั้น หรือกล่าวถึงชื่อที่เป็นที่รู้จักในวงกว้างของท่านผู้นั้นในหน้าบทความนั้น ๆ ได้อยู่แล้ว
-- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 23:20, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
สำหรับบรรพชิตจีน-ญวนที่ไม่มีสมณศักดิ์ ก็อาจจะเรียกว่าหลวงพ่อ หลวงตา เหมือนของเถรวาทก็ได้ครับ แล้วแต่ความคุ้นเคย
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 12:11, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
- จะดีไหมครับถ้าจะใช้หลวงจีน อง ฯลฯ แทน พระ เฉย ๆ เพื่อไม่ให้ปะปนกับพระไทย -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 15:18, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ว่าแต่ท่านผู้นั้นเกี่ยวอะไรด้วยครับ ผมงง
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 12:13, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
- อย่ามาทำงง -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 15:18, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ที่ผมงงก็คือ ท่านผู้นั้นอยู่ที่ไร้สาระนุกรม ทำไมมาเกี่ยวข้องกับวิกิล่ะครับ
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 16:34, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
- เล่นมุกไงขอรับ ไม่ขำเหรอ -_-" -- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 17:31, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
นิดนึงครับ ฮ่าๆๆๆๆ
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 19:24, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ข้อสรุป
สรุปประเด็นแรก (พระไทยเถรวาท)
จากที่ดูมาพระสมณศักดิ์ไม่มีปัญหา เพราะมีข้อสรุปเดิมที่ดีอยู่แล้ว. จะมามีปัญหาในส่วนของ พระสงฆ์ธรรมดา (รวมถึงพระฐานานุกรมเปรียญ ที่มีแค่คำสมณศักดิ์นำหน้าชื่อ) และ พระสงฆ์ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา (เกจิอาจารย์ที่ไม่มีสมณศักดิ์) .
- สำหรับพระสงฆ์ธรรมดา ควรจะยึดเอกสารของทางราชการเป็นหลัก จากที่ผมเห็นผ่านตามา ในเอกสารทางคณะสงฆ์ จะใช้คำนำหน้าพระสงฆ์ที่ไม่มีสมณศักดิ์ว่า พระ ตามด้วย ชื่อจริง และ ชื่อฉายา ตามที่ได้รับตอนอุปสมบท ไม่มีนามสกุล (ตย: พระแก้ว วิกิปญฺโญ). สำหรับพระสงฆ์ฐานานุกรมเปรียญ (ถือเป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์) ตามเอกสารคณะสงฆ์ (ตย.เอกสารของมหาเถรสมาคม[2]) จะใช้ตำแหน่งฐานาหรือเปรียญนำหน้า ฐานาเปรียญ+ชื่อจริง+ฉายา (ตย: พระมหาวิกิ วิกิปญฺโญ)
- สำหรับพระสงฆ์ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา (เกจิอาจารย์ชื่อดังที่ไม่มีสมณศักดิ์) การใช้ ชื่อ+ฉายา เฉย ๆ ไม่ถูกหลักเอกสารคณะสงฆ์อยู่แล้ว เช่นใช้ มั่น ภูริทตฺโต เฉย ๆ เป็นต้น จึงเห็นว่าไม่สมควรใช้. หรือหากจะใช้ตามแบบทางการที่ผมเสนอแนะไปในวรรคก่อนก็จะดูไม่เหมาะสมอีก เช่น พระมั่น ภูริทตฺโต ควรใช้ หลวงปู่ หรือ หลวงพ่อ นำหน้า ตามด้วย ชื่อ+ฉายา เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งจะใช้คำใดต้องมีแหล่งอ้างอิงถึงในบทความ โดยพิจารณาจากเอกสารอ้างอิง มากกว่าหนึ่งแหล่ง ใช้แหล่งล่าสุด และแหล่งที่มีคนอ่านมาก (หลวงเตี๋ยหลวงป๋า หรือหลวงเจ๊ -_-" ไม่ควรให้ใช้ เพราะเป็นคำเรียกโดยไม่ใช่คำยกย่อง จะมีปัญหาในภายหลังได้) เหตุที่อยากให้ใช้เช่นนี้เพื่อให้สอดคล้องกับคำสืบค้นส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ครับ
- สำหรับสามเณร ใช้คำนำหน้าว่า สามเณร+ชื่อจริง+นามสกุล (ตย: สามเณรวิกิ แก้ววิกิ)
สำหรับ ฉายา ควรมี พินทุ อฺ (จุดข้างล่าง ) นิคหิต อํ (จุดข้างบน) แบบบาลี เช่นใช้ สํวริตธมฺโม แทนที่จะเป็น สังวริตธัมโม เป็นต้น (อันนี้ช่วยตามแก้ในภายหลังให้ได้ครับ)
ใครมีความเห็นเป็นอย่างอื่น เชิญได้ครับ
-- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 16:17, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)
สรุปประเด็นที่สอง (พระในนิกายมหายาน)
- พระจีนนิกายที่มีสมณศักดิ์ของไทย ควรใช้ สมณศักดิ์ นำหน้า ตามด้วย (ชื่อ+สกุล) แบบบรรดาศักดิ์ไทย สมมุติเช่น พระคณาจารย์จีนกายกรรมภิวัฒน์ (ตั๊กม๊อ ศิษย์เส้าหลิน)
- พระญวนนิกายที่มีสมณศักดิ์ของไทย ควรใช้ สมณศักดิ์ นำหน้า ตามด้วย (ชื่อ+สกุล) แบบบรรดาศักดิ์ไทย สมมุติเช่น องกายกรรมภิวัฒน์ (เงียต ศิษย์เีถียงเวียต)
- พระจีนนิกายที่ไม่มีสมณศักดิ์ ควรใช้ หลวงจีน นำหน้า ตามด้วย ชื่อ+สกุล เช่น หลวงจีนตั๊กม้อ ศิษย์เส้าหลิน
- พระมหายานทั้งปวง (ยกเว้นพระจีนนิกาย) ควรใช้ พระภิกษุ นำหน้า เช่น พระภิกษุติช นัท ฮันห์ (เติม ภิกษุ เพื่อไม่ให้สับสนกับพระสงฆ์ในนิกายเถรวาท) แ้ม้จะมีสมณศักดิ์หรือคำนำหน้าในนิกายของท่านอย่างไรก็ตามก็ให้ใช้ พระภิกษุ นำหน้าเสมอ
- ตำแหน่ง หรือพระมหายานทั้งปวงที่มีตำแหน่ง ที่มีชื่อเป็นชื่อเฉพาะ และเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ให้ใช้คำทับศัพท์ เช่น ทะไลลามะ เป็นตำแหน่งประมุขนิกาย ๆ หนึ่ง เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ก็ควรใช้ทับศัพท์ ทะไลลามะ ไม่ใช่ พระสังฆราชทะไล ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านบทความสับสนได้
ใครมีความเห็นเป็นอย่างอื่น เชิญได้ครับ
-- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 16:54, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)
สรุปประเด็นที่สาม (พระนอกนิกาย-อดีตพระที่มีชื่อเสียง)
- พระนอกนิกายธรรมดา คำที่ใช้ในนักบวชนอกนิกาย (เช่นในสำนักอโศก) แม้จะมีคำเฉพาะ (สมณะ) สำหรับแทนคำว่า "พระ" แต่ควรใช้วิธีตั้งชื่อบทความของฆราวาส ชื่อ+ชื่อสกุล เช่น สันติ อโศก เพราะคำสมณะที่นำมาใช้ ไม่เป็นที่ยอมรับของราชการและคณะสงฆ์
- พระนอกนิกายดัง ถ้านักบวชนอกนิกาย (เช่นในสำนักอโศก) มีชื่อตั้งเองที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เช่น สมณะโพธิรักษ์ ก็ควรยกเว้นให้ใช้คำที่เป็นที่รู้จักในวงกว้างได้ แทนที่จะใช้ ชื่อ+ชื่อสกุล แบบฆราวาส แต่ทั้งนี้ต้องมีแหล่งอ้างอิงอย่างเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่ามีการเรียกเช่นนั้นโดยทั่วไปจริง ไม่ใช่จำกัดเฉพาะกลุ่ม (เท่าที่เห็นก็มีท่านโพธิรักษ์ท่านเดียว)
- อดีตพระที่มีชื่อเสียง เช่น พระยันตระ, หลวงตาจันทร์, ภาวนาพุทโธ ควรวิธีตั้งชื่อบทความของฆราวาส เช่น วินัย ละอองสุวรรณ ซึ่งเราสามารถทำหน้าเปลี่ยนทาง ใส่ยศหรือฉายาที่มีชื่อเสียงของท่านไว้ในบทความได้อยู่แล้ว
ใครมีความเห็นเป็นอย่างอื่น เชิญได้ครับ
-- ผู้ใช้ Tmd พูดคุย 17:19, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)
ถ้าเป็นพระที่มีสมณศักดิ์ ก็เรียกตามนั้น ส่วนพระที่เราคุ้นเคยไม่ว่าจะเป็นเถรวาทหรือมหายานก็เรียกตามความเหมาะสม ส่วนนักบวชที่อยู่นอกพระพุทธศาสนาก็ใช้ชื่อและนามสกุลครับ
--เจ้าสำนักวัดสิ้นศรัทธาธรรม 22:52, 5 มิถุนายน 2552 (ICT)
ครับผม รับทราบ ตามประเด็นที่สรุป -- ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 19:54, 6 มิถุนายน 2552 (ICT)
เพิ่มเติม ประเด็นที่สี่ (ภิกษุณี)
- กรณีภิกษุณีสิกขมานาหรือสามเณรีมหายาน ให้ใช้ ภิกษุณี, สิกขมานา หรือ สามเณรี นำหน้า ชื่อ+ชื่อสกุล เสมอ เช่น ภิกษุณีฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์
- กรณีภิกษุณีหรือสิกขมานาหรือสามเณรีเถรวาท พึงพิจารณาว่าวงศ์ภิกษุณีเถรวาทได้สูญวงศ์ไปแล้ว แม้จะมีผู้อ้างว่าบวชจากผู้สืบวงศ์ภิกษุณีเถรวาทโดยถูกต้อง แต่ก็ย่อมไม่ถูกต้องด้วยพระวินัยปิฏกเถรวาทและจากคำวินิจฉัยตาม คำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ 28/2527 และ ครั้งที่ 18/2530 จึงไม่มีเรื่องพิจารณาเรื่องใส่ ฉายา แทน นามสกุล เหมือนพระสงฆ์ไทย (เถรวาท) โดยหากมีบทความภิกษุณีเถรวาทนอกคัมภีร์บาลีอรรถกถาหรือฎีกา ให้ใช้ชื่อแบบฆราวาสแทน เช่น ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์
ใครมีความเห็นเป็นอย่างอื่น เชิญได้ครับ