คุยกับผู้ใช้:Mopza/กรุ 7
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 1 | ← | กรุ 5 | กรุ 6 | กรุ 7 | กรุ 8 |
สารบัญกรุของคุยกับผู้ใช้:Mopza |
ข้อดีและข้อเสียที่อยากมีบอทเป็นของตัวเราเอง
อยากมีบอทเป็นของตัวเราเองต้องทำอย่างไรครับ แล้วใช้งานอย่างไร ข้อดีเป็นอย่างไร และข้อเสียเป็นอย่างไรครับ --B-BoyComp11 02:44, 30 เมษายน 2553 (ICT)
- คืออย่างนี้ครับ ในขั้นตอนแรกก็ต้องศึกษาวิธีการติดตั้งโปรแกรมไพธอน (เพราะไพธอนเป็นตัวประกอบให้บอตทำงาน) และวิธีการใช้งานจาก หน้านี้ ครับ (ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ) (ดาวน์โหลดโปรแกรมไพธอนได้จาก http://www.python.org/download/ และดาวน์โหลดโปรแกรมได้จาก http://toolserver.org/~valhallasw/pywiki/ ) แล้วหลังจากดำเนินการต่างๆ เสร็จแล้วก็ต้องไปขอสถานะบอตที่หน้านี้ ครับ ส่วนข้อดีก็จะเป็นช่วยทุ่นแรงเวลาที่เราแก้ไขบทความแบบซ้ำซากจำเจได้ดี (แต่ไม่ใช่มีบอตไปเพื่อความเท่นะ) แต่ข้อเสียส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นสคริปต์อะครับที่เป็นภาษาอังกฤษแล้วมันก็เยอะด้วยอะครับ --Ken-Z! Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 01:47, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
ขอบคุณมากครับ--B-BoyComp11 02:10, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
ภาพเปิดสถานี
ภาพเปิดสถานีของทางสถานีโทรทัศน์สีกองทับบกช่อง 7 ที่ผม Upload เมื่อคืน ทำไม่ต้องลบหละครับ ปัญหาของการลบอันเนื่องมาจากสาเหตุใดครับ เพราะภาพที่ถ่ายนั้นมาจากโทรศัพท์มือจริงครับ --B-BoyComp11 19:20, 25 เมษายน 2553 (ICT)
แต่ก็นำไปใช้บนความของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7ครับ ขอบคุณครับที่กู้คืนได้--B-BoyComp11 20:09, 25 เมษายน 2553 (ICT)
รายชื่อผู้เข้าแข่งขันในรายการปล่อยของ
ช่วยข้อมูลรายชื่อที่ออกอากาศในรายการปล่อยของเพิ่มเติมหน่อยครับ ผมทำตั้งแต่กลางเดือนยังไม่มีอะไรคืบหน้าเลยครับ เว็บรายการทางช่อง โมเดิร์นไนน์ทีวี ช่อง 9 ย้อนหลัง เข้าไปดู้วยครับ --B-BoyComp11 16:51, 6 เมษายน 2553 (ICT)
ช่วยตรวจสอบบทความรายการปล่อยของให้หน่อยครับ มีส่วนไหนผิดบ้างครับช่วยแก้ไขให้ด้วย--B-BoyComp11 02:35, 30 เมษายน 2553 (ICT)
ห้ามใช้กูเกิลอะนาไลติก
ห้ามใช้กูเกิลอะนาไลติกบนโครงการของวิกิมีเดีย เพราะผิดกฎครับ ตัวอย่างที่มา [1] --octahedron80 16:51, 2 มีนาคม 2553 (ICT)
"No more information on users and other visitors reading pages is collected than is typically collected in server logs by web sites." --octahedron80 16:51, 2 มีนาคม 2553 (ICT)
ขอความกรุณายกเลิกการใช้งาน ผู้ใช้:Mopza/ad.js ด้วยครับ --octahedron80 16:53, 2 มีนาคม 2553 (ICT)
ไหนๆแล้วก็ ขอฝากช่วยลบหน้านี้ด้วยครับ มีเดียวิกิ:Tracker.js เป็นสคริปต์ที่เหลืออยู่จากคราวก่อน --octahedron80 16:56, 2 มีนาคม 2553 (ICT)
ทวิตเตอร์
วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ทวิตเตอร์ --octahedron80 22:29, 5 มีนาคม 2553 (ICT)
- ช่วยลงคะแนนที่ อภิปรายทวิตเตอร์ ด้วยครับ --Jo Shigeru 09:41, 15 มีนาคม 2553 (ICT)
Re:วันเกิด
ขอบคุณครับ ว่าแต่ว่าคุณรู้ได้ไงเนี่ย!? ที่โรงเรียนเพื่อนก็รู้ ผมเลยได้เพลงแฮปปี้เบิร์ดเดย์ไป 2 รอบ --Horus | พูดคุย 22:05, 6 มีนาคม 2553 (ICT)
ยินดีที่ได้รู้จักครับ
ผมได้รับสคส.จากคุณMopzaเมื่อช่วงเดือน ธค. ที่ผ่านมาแล้วนะครับ ขอบคุณมากครับ สำหรับ สคส. --B20180 08:29, 7 มีนาคม 2553 (ICT)
Recurring Copyvio
เห็นคุณ Mopza มีความสนใจเกี่ยวกับ Kamikaze จึงรบกวนช่วยดูบทความ เฟย์ ฟาง แก้ว ทีครับ มีการใส่เนื้อหาละเมิดจาก http://ilovekamikaze.com/artists/faye-fang-kaew/profile โดยผู้ใช้ Ffk123kamikaze (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ในเชิงโฆษณา (ดูเหมือนจะเคยกระทำมาแล้วด้วยมั้ง จากหลักฐานการเตือนในหน้าของผู้ใช้ดังกล่าว) ผมไม่ทราบว่าจะย้อนกลับไปเลยไปที่รุ่นล่าสุดดีหรือจะเอายังไงต่อ --Chris Vineyard 10:25, 10 มีนาคม 2553 (ICT)
- ผมแจ้งละเมิดฯไปแล้วแต่คงอาจมีการย้อน รบกวนช่วยล็อกหน้าไว้เลยครับ --Jo Shigeru 10:33, 10 มีนาคม 2553 (ICT)
แจ้งบล็อกผู้ใช้
ผู้ใช้:Magga318 ดูเหมือนว่าเขาเขียนออกแนวก่อกวนนะ --Jo Shigeru 14:59, 10 มีนาคม 2553 (ICT)
รีบอร์น!
แจ้งกึ่งล็อกบทความ ครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น! เพราะโดนไอพีก่อกวนบ่อยครับ --octahedron80 20:18, 14 มีนาคม 2553 (ICT)
วัดแห่งเยรุซาเล็ม
ที่ผมแก้ไขคำและภาษาในหน้า วัดแห่งเยรุซาเล็ม เป็น พระวิหารแห่งเยรุซาเล็ม ก็เพื่อความถูกต้องและความเข้าใจอย่างสากล ในศัพท์และสำนวนต่างๆตามบันทึกประวัติศาสตร์เท่าที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา จึงอยากให้ Webmaster กรุณาเห็นแก่ประโยชน์ของสารานุกรมที่ควรมีเนื้อหาถูกต้องด้วยครับ บอกตรงๆว่า คุณย้อนการแก้ไขนะ่แป๊บเดียว แต่ผมแก้ไขด้วยความตั้งใจดีน่ะ ใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ เลยนะครับ
ป.ล.ต้องยอมรับว่า การแก้ไขตอนนั้น ไม่ได้เข้าสู่ระบบ แต่ตั้งใจแก้ไขบทความให้ออกมาดีจริงๆ
ขอความกรุณาด้วยนะครับ ไม่ได้มาเกรียนแต่มาขอความกรุณา Renu... --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Renu (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
มีปัญหาในเรื่องย่อหน้าครับ
เห็นว่าคุณได้เข้าไปปรับปรุงการแสดงผลใน wikisource ด้วย คือมีปัญหากับไฟล์
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4:Common.css
ที่คุณแก้ไขไว้ที่ wikisource น่ะครับ(เมื่อ 23:55, 22 เมษายน 2552) คิดว่าปัญหาอาจไม่น่าสังเกตนักในwikipedia แต่ค่อนข้างชัดใน wikisource
ตัวอย่างจากหน้านี้
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3
เดิมเป็นแบบนี้
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Wikiop.gif
หรือลองเปรียบเทียบ
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%AC%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%97._%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3
กับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%C7%D5%C1%D1%A7%CA%A1%CA%D9%B5%C3&book=9&bookZ=33
จะเห็นว่าย่อหน้าจาำกการใช้ ":" มันยื่นออกมาทางซ้าย (เมื่อเทียบกับรูปเดิม) ชื่งมีผลกระทบกับนับพันหน้าในส่วนพระไตรปิฎกของ wikisource เคยบอกคุณ Toutou แล้้วก็ไม่ทราบวิธีแก้ไข ก็เกิดเรื่องมาครึ่งปีกว่าแล้วหล่ะครับ แต่เพิ่งอ่านโค้ดเจอว่ามาจากไฟล์ Common.css ที่คุณแก้ไขไว้เมื่อปีที่แล้ว
เลยอยากขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือช่วยแก้ไฟล์ Common.css ใน wikisource
ลองแก้ p { text-indent: 3em;} ให้เป็น 1em ก็น่าจะ ok
ขอบคุณครับ--Bpitk
- เปลี่ยนCommon.cssกลับไปเป็นแบบเดิมของคุณJutiphanที่ทำไว้ดีแล้ว ไม่ได้เหรอครับ ตกลงวิธีแก้ไขที่เหมาะสมที่สุดคือ edit ย่อหน้าคัมภีร์ทางพุทธศาสนาหลายพันหน้านั้นใหม่ใช่มั้ยครับ ถ้าอย่างนั้นผมจะลองพยายามดูสักตั้ง ถ้าบุญกรรมมีจริงอาจได้ดีกับเขาบ้าง--Bpitk 23:45, 10 เมษายน 2553 (ICT)
ช่วยปลดล็อกด้วยนะ
Mopza พี่เป็นผู้เขียน บทความ สำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ เป็นเว็บมาสเตอร์ ของสำนักงานแห่งนี้ด้วย แต่พี่เขียนบทความที่เป็นมีลักษณะการนำข้อความของเว็บ สตน.ทอ. มาใช้บนวิกิพีเดีย ซึ่งบทความเหล่านี้มีเนื้อหาที่ดีอยู่แล้ว จำเป็นต้องดัดแปลงให้มากกว่านี้คงทำไม่ได้มาก จึงอยากให้ช่วยปลดล็อกเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ ของเว็บสำนักงานพี่ด้วยนะ น.ต.กอบจิตต์ โรจนสโรช kobjit@rtaf.mi.th
อันตรธานเซปเปอลิน
ว่าด้วยเรื่องของ The Lost Ship in the Sky ผมเข้าใจว่าคุณ Mopza น่าจะเอาชื่อภาษาไทยมาจาก Revision ที่ 2452826 ขอเรียนให้ทราบว่า เท่าที่ผมดูบทความเกี่ยวกับโคนันในช่วงที่กำลังจะเข้าโรงที่ญี่ปุ่น (ช่วงสงกรานต์บวกลบห้าวัน) มักจะมีคนแอบมาแปลชื่อภาษาอังกฤษหรือญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย ชื่อที่แปลดังกล่าวไม่ใช่ชื่อที่เป็นทางการของภาพยนตร์เรื่องนี้ (ที่ถือลิขสิทธิ์โดย TIGA และน่าจะนำมาฉายในเดือนธันวาคมของปีเดียวกับที่ออกฉายในญี่ปุ่น) และแม้ว่าการแปลจากอังกฤษเป็นไทยเป็นแนวทางปฏิบัติของวิกิพีเดียไทย กรณีนี้ในความเห็นส่วนตัวของผม หากยังไม่มีชื่อที่เป็นทางการ ยังไม่ควรแปลมาเป็นชื่อไทย ควรคงชื่อต้นฉบับภาษาอังกฤษหรือภาษาญีุปุ่นไว้ก่อน จนกว่าจะมีชื่อไทยที่แน่นอนแล้วจึงเปลี่ยนเป็นชื่อไทย จึงแจ้งมาเพื่อทราบครับ --Chris Vineyard 09:01, 8 เมษายน 2553 (ICT)
บล็อก
ขอบคุณมากครับ --Jo Shigeru 14:00, 10 เมษายน 2553 (ICT)
เรื่องชื่อบทความครับ
ผมอยากได้ชื่อบทความ ซีเอสไอ: ไมอามี่ มากกว่า ซีเอสไอ: ไมแอมี, รายชื่อตอน ซีเอสไอ: ไมอามี่ มากกว่า รายชื่อตอน ซีเอสไอ: ไมแอมี, ซีเอสไอ: ไครม์ซีนอินเวสติเกชั่น มากกว่า ซีเอสไอ: ไครม์ซีนอินเวสติเกชัน และ รายชื่อตอน ซีเอสไอ: ไครม์ซีนอินเวสติเกชั่น มากกว่า ซีเอสไอ: ไครม์ซีนอินเวสติเกชัน ซึ่งรวมทั้งอยากให้ล็อกการเปลี่ยนชื่อบทความที่กล่าวมาด้วย เนื่องจากผมมีปัญหากับคุณ Sry85 มาตลอด เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ผมจะอ้างอิงชื่อมาจากบริษัทผู้ผลิตมากกว่าอ้างอิงตามราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งผมเองก็รู้สึกหนักใจพอสมควรว่าควรจะใช้ชื่อบทความไหนดีกว่ากัน และไม่อยากให้เปลี่ยนชื่อบทความไปมากกว่านี้แล้ว เพราะผมเองคอยปรับเปลี่ยนเนื้อหาบทความเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด -- ELUNIUMMAN 00:19, 26 เมษายน 2553 (ICT)
ชื่อภาษาไทย ตามผู้ผลิตไม่ได้ชื่อดังกล่าว [2] จำได้ว่าคุณ ELUNIUMMAN เคยบอกว่ามีชื่อภาษาไทย ที่ใช้ในทรูวิชันส์และในแผ่นดีวีดีไม่ตรงกัน จึงแนะนำให้ใช้การทับศัพท์แทน การใช้ชืี่่อที่ไม่ตรงกัน --Sry85 01:07, 26 เมษายน 2553 (ICT)
การเปลี่ยนหัวข้อ
ทำไมมาเปลี่ยนการเชื่อมโยงหัวข้อที่ผมกำลังแปลอยู่ละครับ ตอนนี้ผมต้องการเปลี่ยนชื่อหัวข้อให้เป็รริ้นน้ำจืดก็ทำไม่ได้แล้ว ถ้าคุณทำเป็นช่วยทำให้ด้วย สาเหตุที่ต้องมีภาษาอังกฤษในหน้าเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นชื่อสกุลของสิ่งมีชีวิต จำเป็นต้องทับศัพท์ --Number1336 22:46, 27 เมษายน 2553
Your bot @dewiki
Hello there! Nolispanmo can't edit this page. I just want to inform you that the bot has been blocked on dewiki by him for making wrong changes such as this. If you want to talk about this or you want the bot unblocked on dewiki (once the bpt is fixed), so try to contact Nolispanmo here. Best wishes! Barras 03:34, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
- Please respond to your bot flag request at dewiki. Otherwise your request will be declined. Merlissimo 03:42, 11 พฤษภาคม 2553 (ICT)
ข้อแนะนำ & เสนอฟังก์ชัน
เรียนคุณ Mopza ผมใคร่ขอเสนอแนะการทำงานและการเพิ่มฟังก์ชัน ดังนี้
- ผมไม่แนะนำให้นำฟังก์ชันการลบบทความจากหมวดหมู่ หมวดหมู่:หน้าที่ถูกแจ้งลบ มาใช้งานบ่อย อยากให้อยู่ในขั้นของ Experimental หรือนำมาใช้ก็ต่อเมื่อมี Backlog เพราะแม้ว่าฟังก์ชันนี้จะประหยัดเวลาการลบบทความได้ก็จริง แต่บางบทความมีการพูดคุยเกี่ยวกับ Notability บ้าง หรือเป็นการพูดคุยอย่างอื่นที่อาจต้องคงหน้าพูดคุยไว้ก่อน เป็นต้น หากไปลบบทความในระหว่างที่มีการพูดคุยอาจทำให้มองได้ว่าผู้ดูแลไม่เปิดช่องให้มีการพูดคุยปรึกษาเลย จะลบท่าเดียว
- เสนอให้เพิ่มฟังก์ชันการลบภาพที่อยู่ใน พิเศษ:ภาพที่ไม่ได้ใช้ โดยอาจกำหนดเป็นเวลาไปว่า สักประมาณ 72-96 ชั่วโมงหรือแล้วแต่เห็นสมควร ลบภาพที่ไม่ได้มีการใช้งานออกจากระบบ
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาครับ ขอบคุณครับ (อีกฟังก์ชันที่ผมคิดว่าอาจขอให้มีในอนาคตคือการ Migration ของไฟล์ GFDL ไปเป็น GFDL + CC-BY-SA 3.0 แต่เนื่องจากภาพผิดสัญญาอนุญาตในนั้นก็เยอะพอควร จึงคิดว่าอาจให้คนช่วยเลือกภาพที่ผิดสัญญามาก่อนแล้วให้บอตไล่เปลี่ยน Migration ไปทีเดียว) --Chris Vineyard 15:57, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
รบกวนทีนะครับ
ช่วยย้อนบทความ รายชื่อตอน เป็นต่อ ให้เป็นสภาพเดิมทีนะครับ เนื่องจากมีผู้ก่อกวนในบทความนี้ จนไม่สามารถย้อนกลับอะไรได้เลยตอนนี้ ขอบคุณๆๆ -- ELUNIUMMAN 00:14, 16 พฤษภาคม 2553 (ICT)
และถ้าเป็นไปได้คงต้องล็อกบทความนี้ เป็นรอบที่ 2 อีกแล้วและรอบนี้คงต้องล็อกถาวรแล้วนะครับ ให้สมาชิกแก้ไขได้อย่างเดียว เพราะผมเคยเตือนหลายรอบแล้ว -- ELUNIUMMAN 00:22, 16 พฤษภาคม 2553 (ICT)
Nuke Revert
สวัสดีครับ ไอพี 202.44.14.194 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) พยายามจะใส่ลิงก์ http://cointhai.blogspot.com/ ในหลาย ๆ หน้า ผมเลยย้อนไปก่อน โดยผมมองว่าเป็นสแปม แต่เริ่มไม่แน่ใจว่าตัวเองทำถูกหรือเปล่า รบกวนคุณ Mopza ช่วยตัดสินใจทีฮะว่าเจ้าเว็บดังกล่าวใส่ได้หรือไม่ และไอพีสแปมหรือไม่ ถ้าไอพีไม่สแปมและเว็บใส่ได้ ก็ช่วย Nuke Revert ผมเสีย แต่ถ้าใส่ไม่ได้และถือเป็นสแปม อาจจำเป็นต้อง Nuke Revert เขาแทนฮะ ขอบคุณครับ (ทั้งนี้้ได้อธิบายกับไอพีแล้วว่าอย่าใส่เว็บดังกล่าว เพราะอาจขัดกับ WP:EXT ได้ แต่ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้ครับ) --Chris Vineyard 19:28, 27 พฤษภาคม 2553 (ICT)
สงสัย
หวาดดีคะไม่ได้เจอกันซะนานอิอิ แล้วกะถามอีกอย่างนึงค่ะเวาลเขียนลายเซ็นต์จะตั้งยังไงหรอค่ะที่จะทำให้เป็นแบบเขียนชื่อแล้วกะลิงค์ไปหน้าพูดคุนได้เลยโดยที่ไม่ต้องผ่านหน้าของชื่อเราน่ะค่ะ หนูเขียนโค้ตไม่เป็น มานทำไงค่ะเนี่ยยยยยยยย --น้องท่าเหนือสุดสวย 11:04, 6 มิถุนายน 2553 (ICT)
ย้อนกลับ
ผมอยากได้ดาวเหมือนคุณ ทำยังไงคับ
ล็อกบทความ
ช่วยล็อกบทความ เป็นต่อ และ รายชื่อตอน เป็นต่อ เป็นระยะเวลา 3 เดือนให้ด้วยนะครับ เพราะมีบางคนพยายามก่อกวนและแก้ไขย้อนกลับโดยไม่มีเหตุผลมาหลายครั้งจากดูประวัติย้อนหลังที่ผ่านมา ขอบคุณครับ -- ELUNIUMMAN 22:31, 16 มิถุนายน 2553 (ICT)
อยากให้ล็อกบทความด้วยนะครับ หรือว่าต้องมีเหตุผลอย่างอื่นประกอบด้วยหรือเปล่า -- ELUNIUMMAN 22:48, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)
แจ้งเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยที่จะเป็นหุ่นเชิด
จากเท่าที่อ่านประวัติของผู้ใช้:Juji25แล้วนั้น มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ใช้รายนี้อาจเป็น1ในหุ่นเชิดของบุคคลคนหนึ่งซึ่งปกติจะมาในรูปแบบไม่ได้ล็อกอิน เช่น 202.28.78.131 , 202.28.78.81 , 202.28.78.14 และรวมไปถึงผู้ใช้:กษล ที่มีลักษณะและพฤติกรรมที่เหมือนกันเช่น ถ้าไม่ก่อกวนหน้าผู้ใช้โดยการลบข้อความแล้วเขียนหยาบคายลงไป ก็จะเพิ่มรายชื่อของศอฉ.เข้าไปในบทความนั้นๆเสียเอง จึงแจ้งมาให้คุณทราบถึงผู้ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นหุ่นเชิดดังกล่าว --Jungide 14:42, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)
กำลังจะนำอ้างอิงมาใส่ อ้าวถูกลบไปแล้ว ขอชี้แจงดังนี้ค่ะ
เรื่องวัคซีนผู้ใหญ่เป็นลิขสิทธิ์ของนิตยสาร health today ที่เรียบเรียงโดย พญ.สมศรี ประยูรวิวัฒน์ แน่นอนค่ะ แต่ใช้ชื่อเรื่องว่าวัคซีนที่ผู้ใหญ่ควรฉีด
ไม่ใช่ของ http://www.healthcorners.com/new_read_article.php?category=generalhealth&id=1377
ซึ่งลอกมาจากที่อื่นมาอีกที ลอกมาหลายต่อจึงไม่รู้ต้นตอ ใส่ไว้แต่ชื่อผู้เรียบเรียง ไม่ได้ใส่ที่มาหรือต้นทางคือ นิตยสาร health today
สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่บริษัท TIM เจ้าของลิขสิทธิ์ tel 027415354 ต่อฝ่ายนิตยสาร health today ได้ค่ะ
ดิฉันเห็นว่าได้ประโยชน์ต่อเนื่องจากเรื่องระบบภูมิคุ้มกันซึ่งนำมาจาก health today เช่นกัน จึงนำเรื่องวัคซีนมาเพิ่มเติม เพื่อผู้สนใจค้นคว้าต่อ หากมีปัญหาก็ลบออกถาวรได้เลยค่ะ
แต่ขอความกรุณาตรวจสอบที่ TIM ก่อน ให้เข้าใจว่าเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทเราแน่นอน ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือลอกเค้ามาแน่นอน
นี่คือต้นฉบับตัวจริงก่อนเรียบเรียงค่ะ
THT 97 Apr’09 ชื่อเรื่อง : ถึงเวลาฉีดวัคซีนป้องกันตามวัย Feature
ร่างกายของคนมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติติดตัวมาตั้งแต่เกิด เป็นเสมือนเกราะป้องกันและต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดโรคเมื่อเข้าสู่ร่างกาย แต่ก็ใช่ว่าภูมิคุ้มกันที่มีอยู่นั้นจะสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ทุกชนิด ด้วยเหตุนี้คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องติดตามการฉีดวัคซีนของเด็กให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันและควบคุมให้โรคบางชนิดสูญพันธุ์ไปในประเทศไทย ในทางกลับกันวัยรุ่น ผู้ใหญ่และคนสูงวัย ก็จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิอีกครั้ง ที่เป็นอีกทางเลือกในป้องกันโรคที่ดีที่สุด ในโอกาสที่ HealthToday ครบรอบปี 9 ในเดือนนี้ เราถือโอกาสแนะนำการฉีดวัคซีนที่จำเป็นของคนแต่ละวัยเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ดังนี้
• วัคซีนตับอักเสบเอ (Hepatitis A vaccine, HAV) โรคตับอักเสบเอเกิดจากเชื้อไวรัสที่ปะปนมากับอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด ทำให้เป็นไข้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ปวดท้อง มีอาการตัวเหลือง-ตาเหลือง แต่พบว่าอาการของโรคจะไม่รุนแรงเท่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี สำหรับการฉีดวัคซีนครั้งแรกแนะนำให้เริ่มฉีดเมื่อเด็กอายุได้ 12 เดือน–23 เดือน โดยฉีด 2 ครั้งห่างกัน 6 เดือน และเชื่อว่าสามารถป้องกันได้ประมาณ 20 ปี ถึงตลอดชีวิต แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงจากที่อยู่อาศัยในสถานที่ที่มีคนแออัด หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อง่ายก็สามารถฉีดได้อีกช่วงวัยรุ่นอายุ 19-26 หรือวัยผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน หรือผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนคือ เป็นไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย แต่ไม่แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
• วัคซีนตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine, HAB) ไวรัสตับอักเสบบีแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น สารคัดหลั่งจากการมีเพศสัมพันธ์ เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง ฯลฯ และสามารถติดต่อกันได้จากการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด การให้เลือด หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน ตลอดจนการกินอาหารดิบๆ เช่น ปลาร้าที่มักมีพยาธิใบไม้ ซึ่งหากมีเชื้อนี้อยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจเป็นตับอักเสบเรื้อรังและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับในอนาคต แนะนำให้เด็กแรกเกิดฉีดทันที แต่หากน้ำหนักน้อยกว่า 2,000 กรัม ให้นับการฉีดเข็มแรกเมื่ออายุได้ครบ 1 หรือ 2 เดือนแรก และฉีดกระตุ้นภูมิอีก 2 ครั้งให้ครบ โดยเข็มที่ 2 ฉีดห่างจากการฉีดเข็มแรก 1 เดือน ส่วนเข็มสุดท้ายห่างจากเข็มที่แรก 6 เดือน (ฉีดให้ครบภายในอายุ 18 เดือน) สำหรับเด็กที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนตับอีกเสบบีมาก่อนสามารถฉีดตามได้อีกตั้งแต่อายุ 7-18 ปี โดยมีความถี่และระยะห่างการฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็มเท่ากัน และสำหรับผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนป้องกันอีกไวรัสตับอักเสบบีนี้ด้วย เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ที่เป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น อาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ต่ำแต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
• วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus Vaccine, RV) โรคติดเชื้อไวรัสโรต้าเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก พบมากในเด็กเล็กอายุ 3 เดือน-3 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 6-12 เดือน ซึ่งหากติดเชื้อจะมีไข้ขึ้นสูง อาเจียน 2-3 วันแรกก่อนท้องร่วงเป็นน้ำนาน 3-5 วัน การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วงชนิดรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้าและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาล วัคซีนนี้ให้ด้วยการกินกับเด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยให้ติดต่อกัน 2 หรือ 3 ครั้งแล้วแต่ชนิดของวัคซีน แต่เว้นระยะการให้ห่างกัน 1 เดือน และควรให้จนครบก่อนอายุ 6 หรือ 8 เดือน แล้วแต่ชนิดของวัคซีน ทั้งนี้มีข้อห้ามใช้สำหรับเด็กที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินอาหารเรื้อรัง
• วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Diphtheria-tetanus- pertussis vaccine, DTP) เป็นวัคซีนพื้นฐานที่แนะนำให้ฉีดป้องกันตั้งแต่เด็ก เพื่อป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยักและไอกรน แนะนำให้เด็กแรกเกิดที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันฉีดเมื่ออายุได้ 2 เดือน โดยฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1 หรือ 2 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่สอง 6-12 เดือน หรือได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายไม่เกินอายุ 4-6 ปี (รบกวนคุณหมอเช็คความถูกต้องค่ะ แปลมาจากตาราง Recommended Immunization Schedule for Persons Aged 0 Through 6 Years ข้อที่ 7 เขียนว่า : Administer the final dose in the series at age 4 through 6 years ค่ะ….) หลังจากนั้นควรฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกครั้งเมื่ออายุ 11-12 ปี หรือฉีดวัคซีนรวมชนิดสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ (Diphtheria-tetanus- acellular pertussis vaccine, DTaP) ระหว่างอายุ 13-18 ปี นอกจากนี้แนะนำผู้ใหญ่ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยักมาก่อน หญิงเพิ่งคลอดลูกที่ต้องดูแลทารกหลังคลอดหรือผู้ที่เสี่ยงเกิดบาดแผล ฉีดวัคซีนอีก 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน โดยฉีดจนครบ 3 ครั้ง แล้วฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกๆ 10 ปี
• วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิป (Hemophilus influenzae type b conjugate vaccine, Hib) เชื้อฮีโมฟิลุสอินฟลูเอนเซเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ฯลฯ สามารถติดจากการไอจามรดใส่กัน อาการที่สังเกตคือไข้สูง อาเจียน ชัก คอแข็ง แนะนำให้ฉีดวัคซีนกับเด็กแรกเกิดที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิป โดยฉีดให้ครบ 3 เข็ม เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน หลังจากฉีดจะมีอาการปวด บวม แดงหรือร้อนบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย
• วัคซีนมิวโมคอคคัส (Pneumococcal vaccine) เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดเชื้อในเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุกล้ำ (Invasive pneumococcal disease ย่อว่า IPD) ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อรุนแรงในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งควรฉีดเข็มแรกช่วงอายุ 24-59 เดือน โดยฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกครั้งห่างจากเข็มแรก 3-5 ปี และควรฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกครั้งเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงจากโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด หรือผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
• วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดกิน (Oral poliomyelitis vaccine) ประเทศไทยมีการรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโปลิโอที่ทำให้มีอาการอัมพาตแบบอ่อนปวกเปียกชนิดเฉียบพลัน จนประเมินว่าพบผู้ป่วยรายสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2540 ทั้งนี้ก็ยังวางใจไม่ได้จำเป็นต้องมีการให้วัคซีนต่อไป โดยเริ่มให้วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดกิน 3 ครั้ง ให้ครบภายในขวบปีแรก เริ่มให้ได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน และเว้นระยะห่างการให้วัคซีน 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้หากได้รับวัคซีนครั้งที่ 3 หลังอายุ 4 ปี ไม่จำเป็นต้องให้วัคซีนอีกเป็นครั้งที่ 4 เพื่อกระตุ้นภูมิ แต่ถ้าได้รับก่อนอายุที่กำหนด ต้องกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุได้ 4-6 ปี ทั้งนี้อาจพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโปลิโอสำหรับผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยง
• วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine) ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงต่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เด็กเล็ก หญิงมีครรภ์ ผู้มีโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ ผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งหากเกิดการติดเชื้อก็จะทำให้อาการรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุหรือดูแลเด็กเล็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคหืด โรคปอด โรคหัวใจ เป็นต้น โดยแนะนำให้ฉีดปีละ 1 ครั้ง ก่อนเข้าสู่ฤดูฝนหรือช่วงฤดูหนาว แต่ก็มีข้อห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง เนื่องจากไข่เป็นส่วนหนึ่งในขบวนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่
• วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (Measles-Mumps-Rubella vaccine ; MMR) แม้โรคหัด โรคหัดเยอรมันและโรคคางทูมอาจมีอาการไม่รุนแรงมาก แต่เมื่อเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต ซึ่งวัคซีนนี้จัดเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ โดยฉีดวัคซีนให้ครบ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุครบขวบปีแรก และฉีดอีกครั้งเมื่ออายุได้ 4-6 ปี การได้รับวัคซีนครบ 2 ครั้งนั้นจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอที่จะป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต แต่ผู้ใหญ่ที่ยังไม่เป็นโรคทั้ง 3 นี้มาก่อน รวมถึงผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 ครั้ง ก็ควรได้รับวัคซีนรวมอย่างน้อย 1 ครั้ง ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนอาจมีไข้สูง และมีคำเตือนถึงหญิงวัยเจริญเจริญพันธุ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนว่าควรฉีดอย่างน้อย 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 3 เดือนหลังฉีดวัคซีน เนื่องจากหากไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันแล้วเกิดเป็นหัดขณะตั้งครรภ์จะมีผลอันตรายต่อลูก
• วัคซีนอีสุกอีใส งูสวัด (Varicella vaccine) เป็นการฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสที่เพิ่งมีเมื่อ 10 กว่าปีก่อนในประเทศไทย วัคซีนอีสุกอีใสสามารถป้องกันโรคได้ประมาณ 90% ส่วนอีก 10% ของผู้ที่ได้รับวัคซีน มีโอกาสเป็นโรคได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงอย่างการติดเชื้อทางธรรมชาติ อีกทั้งวัคซีนยังลดการเกิดโรคงูสวัดและอาการปวดเส้นประสาทหลังเป็นงูสวัด (post-herpetic neuralgia) ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนให้เด็กเล็กครั้งแรกเมื่ออายุครบ 12 เดือน ฉีดทั้งหมด 2 ครั้งห่างกัน 4-8 สัปดาห์ และสำหรับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัดมาก่อนสามารถฉีดป้องกันอีกครั้ง ทั้งนี้สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน และผู้ที่สัมผัสโรคควรฉีดวัคซีนภายใน 72 ชั่วโมง หากเกิน 5 วันไม่สามารถป้องกันโรคแต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้
• วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อมินนิงโกคอคคัส (Meningococcal vaccine, MCV) เป็นวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งแพร่กระจายติดต่อกันได้ทางน้ำลาย เสมหะ หรือการไอจามรดกัน โดยสามารถฉีดป้องกันให้เด็กตั้งแต่อายุ 2 ปี หรือฉีดให้วัยรุ่นที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดมาก่อนตั้งแต่อายุ 11-18 ปี เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน หรือมีความเสี่ยงจากการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลาง อาการข้างเคียงหลังฉีดคือ อาการบวมแดงเล็กน้อย หรือไข้ต่ำๆ ประมาณ 24 ชั่วโมง ทั้งนี้คนที่เพิ่งหายจากไข้ (เรียนถามคุณหมอค่ะ ในแหล่งอ้างอิงหนังสือคู่มือวัคซีน2008 หน้าที่ 136 ส่วนที่เขียนข้อห้าม บอกว่า ห้ามฉีดให้กบคนที่แพ้ thimerosal แปลว่าอะไรคะ?) หรือป่วยเป็นโรคติดเชื้อฉับพลันไม่ควรฉีด
• วัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus vaccine) หรือที่เรียกว่าเชื้อไวรัสแปปปิโลมาที่ติดต่อได้โดยทางเพศสัมพันธ์ โดยปัจจุบันวัคซีนที่ผลิตสามารถป้องกันการติดเอชพีวีชนิด 6, 11, 16 และ 18 โดยสามารถป้องกันไวรัสเอชพีวี 6 และ 11 เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ 95% และส่วนสายพันธุ์ไวรัสเอชพีวี 16 และ18 ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 70% และเพื่อให้การฉีดวัคซีนมีประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดแนะนำให้ฉีดในเด็กผู้หญิงก่อนที่จะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คืออายุประมาณ 11-12 ปีขึ้นไปหรือผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนอายุไม่เกิน 26 ปี หรือหญิงที่อายุมากกว่า 26 ปีและมีเพศสัมพันธ์แล้วแต่ยังไม่ติดเชื้อ โดยต้องฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างครั้งแรก 1-2 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างครั้งแรก 6 เดือน แต่การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวีไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกอีก ดังนั้นจึงแนะนำให้ลดความเสี่ยงด้วยการตรวจแปปเสมียร์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป พร้อมกับลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย การเปลี่ยนคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และการสูบบุหรี่
ทั้งนี้ยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่ไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจากอาจจำเป็นต้องฉีดเมื่อมีเหตุจำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่ที่มีการระบาดของโรค ได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บ เช่น วัคซีนโรคไทฟอยด์ (Typhoid vaccine) วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Vaccine)
อ้างอิง -2009 Immunization Schedule. (http://www.cispimmunize.org) -Centers for Disease Control and Prevention. Department of Health and Human Services. -หนังสือ "คู่มือวัคซีน 2008 " สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย - Recommended Immunization Schedule for Persons Aged 0 Through 6 Years-United States, 2009 -Recommended Immunization Schedule for Persons Aged 7 Through 18 Years-United States, 2009 - Recommended Adult Immunization Schedule by Vaccine and Age Group-United States, 2009
เอ่อ
21:39 . . Mopza (พูดคุย | หน้าที่เขียน) เปลี่ยนระดับการบล็อกสำหรับ "Kuyxxx (พูดคุย | หน้าที่เขียน)" หมดอายุ ตลอดกาล () (เปิดโอกา ศให้สร้าง Account)
โอกาส ส เสือ นะครับ --Jo Shigeru 21:15, 6 กรกฎาคม 2553 (ICT)
สัปดาห์ที่ 8 (21 สิงหาคม 2553) : ธีม - Tag Team
ลงชื่อทีมของแต่ละทีมไม่ได้หรือไง เขามีชื่อทีมกันอยู่ เห็นบอกว่า เป็นการก่อกวน ลงชื่อทีม เนี้ยก่อกวนด้วยหรือ (สงสัย) ก็กำลังดูคอนเสิร์ต ของสัปดาห์นี้อยู่ ก็ในแต่ละทีมเขาก็มีการตั้งชื่อทีมเอาไว้นะ ก็เลยลงไว้ มันไม่เป็นข้อมูลหรืองัน (สงสัยจริงเรา) ถ้าลงไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่งงมาก
--KiraYamato 21:43, 21 สิงหาคม 2553 (ICT)
โครงการวิกิเกมโชว์
ถ้าคุณจะทำโครงการวิกิเกมโชว์ก็ต้องใช้ความรู้ช่วยทำ
ถ้าคุณจะทำจริง ผมช่วยทำด้วยครับเพราะผมถนัดเรื่องเกมโชว์อยู่แล้ว จะช่วยค้นหาให้
ปล.ถ้ามีจริง ผมขอเข้าร่วมด้วยครับ คนแรกเลยด้วย
ปล.2 ขอให้มีด้วยครับ(แต่พี่ยังไม่ได้ทำเลยนี่ครับ) --icecartoon2010 22:12, 15 ตุลาคม 2553 (ICT)
ดาวเกียรติยศ
ขอมอบเป็นเซ็ทละกัน
ดาวอึดไม่รู้จักเหนื่อย | ||
ขอยกย่องครับ ระวังเป็นหมาแพนดี้นะจ๊ะ ICECATOON-----2010 14:05, 19 ตุลาคม 2553 (ICT) |
ดาวต่อต้านการก่อกวน | ||
จัดการชนิดขั้นเด็ดขาดเยี่ยมมาก ICECATOON-----2010 14:05, 19 ตุลาคม 2553 (ICT) |
ดาวอุตสาหะ | ||
เที่ยงตรง แม่นยำ กับการแก้ไข ICECATOON-----2010 14:05, 19 ตุลาคม 2553 (ICT) |
ปล.พยายามอีกนิด ก็ได้เป็นผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้งแล้วครับ
ขอขอบคุณ--ICECATOON-----2010 14:05, 19 ตุลาคม 2553 (ICT)
ช่วยตรวจสอบ
ขอลอกคำพูดในหน้าพูดคุยของพี่จังกริดนะครับ
พูดถึงเรื่อง TheBuntoMaka แล้ว (เห็นชื่อนี้จากหน้าแจ้งรายชื่อก่อกวน) อยากให้คุณ Jungide ลองตรวจสอบเทปวิดีโอทีวีรายการต่างๆ ในยูทูปดูสักหน่อย เพราะผมเห็นคนที่ใช้ชื่ออย่างนี้ตัดต่อเทปรายการโทรทัศน์ช่วงปิด-เปิด สถานี โดยใส่ข้อมูลประกอบที่เป็น
เท็จ (ไม่เข้าใจว่าจะทำไปเพื่ออะไรกันแน่) ที่แจ้งมาอย่างนี้เพราะผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคนที่ทำเช่นนี้จะใช่คนเดียวกันกับที่โผล่มาในวิกิพีเดียหรือไม่ (คำที่ที่ใช้คนคือ เปิดสถานี หรือปิดสถานี)
ผมเลยมีเบาะแสที่พบ
ส่วนเรื่องที่พี่Jungideว่ามา ไอ้ที่เทปรายการค้าง1-2วิ เค้าเรียกว่าแผ่นสดุดส่วนข้อมูลนั้น เขาสร้างเอง
ส่วนเรื่องตรวจสอบคลิป ผมดูด้วย ชื่ออย่างเช่น ชื่อช่อง/ชื่อรายการ/ช่วง เป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นโฆษณาคั่น ชื่อเช่น ชื่อช่อง/ชื่อรายการ คล้ายๆกัน ส่วนพี่บุนโตะมาคะ เราตรวจสอบด้วยว่า เขาชอบมีอะไรหลายๆอัน ที่นี่ก็สร้างบัญชีผู้ใช้ไป3ชื่อ ที่ยูทูปมี4ชาแนล ถ้าคิดว่าเป็นเบาะแสก็ขอบคุณด้วย เพราะว่าเป็นความจริง
ถ้าคิดว่าผมพูดมาก ก็ขออภัยด้วย
ความจริงแล้วผมบอกกับพี่เขาแล้ว(พี่จังกริด)แต่ก็ต้องมาบอกพี่
--♣Icecatoon2010♣ ผู้ไม่อ่อนโยนกับการก่อกวน 19:58, 8 ธันวาคม 2553 (ICT)
สวัสดีปีใหม่
สุขสันต์วันขึ้นปีใหม่
|
--Park Yong Kyung 07:17, 1 มกราคม 2554 (ICT)