คาร์โล อัลเลกรี
คาร์โล อัลเลกรี | |
---|---|
เกิด | ค.ศ. 1862 |
เสียชีวิต | ค.ศ. 1938 |
สัญชาติ | อิตาเลียน |
อาชีพ | วิศวกร สถาปนิก |
บุตร | 3 (หญิง 1 ชาย 2) |
ผลงานสำคัญ | พระที่นั่งอนันตสมาคม สะพานผ่านฟ้าลีลาศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
คาร์โล อัลเลกรี (อิตาลี: Carlo Allegri; 1862-1938) วิศวกรชาวอิตาลีที่ทำงานอย่างยาวนานใน ประเทศสยาม (ปัจจุบันคือ ประเทศไทย) ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านจาก คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็น คริสต์ศตวรรษที่ 20 เขารับราชการในราชสำนักของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มากกว่า 20 ปี เมื่อเขาได้รับตำแหน่ง นายช่างกลใหญ่ หรือ หัวหน้าวิศวกรใน กรมโยธาธิการ เขาคุมการก่อสร้างสะพานและถนนหลายแห่งในประเทศ และร่วมสร้างอาคารมากมายอาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม[1]
ประวัติ
[แก้]ใน ค.ศ. 1889 (หรือตรงกับ พ.ศ. 2432) เขาออกจากมหาวิทยาลัยและเดินทางไปยัง สยาม เพื่อเข้าทำงานกับ กรัสซี บราเดอร์ส [2] บริษัทก่อสร้างในสยาม ต่อมาราชสำนักสยามได้ว่าจ้างเขาให้ช่วยสร้างพระราชวังและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ทำให้เขาเป็นวิศวกรชาวต่างชาติคนแรกในอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทย ใน ค.ศ. 1893 (หรือตรงกับ พ.ศ. 2436) เขากลายเป็นนายช่างกลใหญ่หรือหัวหน้าวิศวกรของกรมโยธาธิการ และได้ว่าจ้างทีมงานชาวอิตาเลียนอีก 35 คน[3]
ต่อมาในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2456 นายอัลเลกรีได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา กรมทาง[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ๒๔๕๐ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
- พ.ศ. ๒๔๔๐ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) [6]
- พ.ศ. ๒๔๔๑ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Peleggi, Maurizio (2002). Lords of things : the fashioning of the Siamese monarchy's modern image. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press. ISBN 9780824825584.
- ↑ Fabbri, Fabio. "Carlo Allegri(1862-1938 Engineer, Italian)". สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.
- ↑ Vilma Fasoli and Francesca B. Filippi (2014). "The penetration of Italian professionals in the context of the Siamese modernization". ABE Journal (5). doi:10.4000/abe.841. สืบค้นเมื่อ December 1, 2014.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอธิบดีและที่ปรึกษากรมทาง
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์