ข้ามไปเนื้อหา

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่
Faculty of Veterinary Science,
Prince of Songkla University
ชื่อย่อสพ. / VET
สถาปนา9 ธันวาคม พ.ศ. 2557 (10 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณบดีรศ.สพ.ญ.อุษา เชษฐานนท์[1]
ที่อยู่
อาคารจุฬาภรณการุณยรักษ์ ถ.ปุณกัณฑ์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
สี  สีฟ้าหม่น
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์
เว็บไซต์http://www.vet.psu.ac.th/2017/

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Faculty of Veterinary Sciences, Prince of Songkla University) เป็นหน่วยงานมหาวิทยาลัยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งในปี 2557 และรับนักศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษาถัดมา

ประวัติ

[แก้]

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ ได้รับการก่อตั้งในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่องการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมสัมมนาเห็นพ้องต้องกันว่าควรมีการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อมาในปี 2553 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคราวประชุมครั้งที่ 325 (6/2553) เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2553 มีมติเห็นชอบ“โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์” และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[2]

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 สภาวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคราวประชุมครั้งที่ 127 (9/2554) มีมติอนุมัติหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และได้ยื่นหลักสูตรดังกล่าวเพื่อขอการรับรองจากสัตวแพทยสภา และได้รับการรับรองในคราวประชุมครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบให้รับนักศึกษาหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 1 โดยวิธีพิเศษ ซึ่งโครงการจัดตั้งได้รับนักศึกษารุ่นที่ 1 ทั้งสิ้น จำนวน 25 คน พร้อมทั้งยกฐานะโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ขึ้นเป็น “คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” อย่างเป็นทางการโดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Faculty of Veterinary Science, Prince of Songkla University” และโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ก็ได้เปิดบริการดูแลรักษาสัตว์แก่ประชาชนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2558 เป็นต้นมา

ในปี 2558 คณะได้ยื่นหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่) ฉบับ พ.ศ. 2558 แก่สภามหาวิทยาลัยและได้รับการอนุมัติจากสภาวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ ในการประชุมครั้งที่ 127/2554[3]

สัญลักษณ์

[แก้]
  • สีประจำคณะ

สีประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ   สีฟ้าหม่น

หลักสูตร

[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[4]
กลุ่มวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

กลุ่มสำนักงานบริหารคณะ

กลุ่มสาขาวิชา (พรีคลินิก และคลินิก)

ศูนย์บริการสุขภาพสัตว์ (โรงพยาบาลสัตว์)

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาระบาดวิทยา

ข้อมูลการศึกษา

[แก้]

การรับนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[3]

  • เปิดรับนักศึกษาครั้งแรกในปี 2558
  • เน้นนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในภาคใต้ 75% นอกนั้นเป็นนักศึกษาจากภาคอื่นๆ
  • ปัจจุบันรับนักศึกษาชั้นปีละ 32 คน ผ่านระบบ TCAS (1.โครงการพิเศษ 2.โครงการรับตรง นร.14 จังหวัดภาคใต้ 3.โครงการเรียนดี 4.โครงการ สอวน 5.โครงการ กสพท. 6.รับตรงร่วมกัน Admission)
  • ใช้เวลาศึกษา 6 ปี
  • บัณฑิตรุ่นที่ 1 จำนวน 24 คน สำเร็จการศึกษาในปี 2564

ทำเนียบคณบดี

[แก้]

รายนามคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

ทำเนียบคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ลำดับที่ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิงอุษา เชษฐานนท์ ธันวาคม 2557 - กันยายน 2564
2 ผศ.ดร.น.สพ.ณรงค์ ทิพธนวัฒนะ ตุลาคม 2564 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. สายตรงคณบดี เก็บถาวร 2021-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564
  2. ประวัติคณะ เก็บถาวร 2021-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564
  3. 3.0 3.1 "คู่มือการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์". มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-24. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. หลักสูตรการศึกษา เก็บถาวร 2021-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]