ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ว่าง
การเรียกขานเจ้าพระคุณสมเด็จ
จวนวัดพระอารามหลวง,วัดราษฎร์
ผู้แต่งตั้งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
เงินตอบแทน30,800 บาท[1]

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งรักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และใช้อำนาจในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก บัญชาการคณะสงฆ์ คณะสงฆ์อื่นโดยมหาเถรสมาคมคัดเลือกสมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามามรถปฏิบัติหน้าที่ได้แต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[2] และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละออธุลีพระบาท ในระหว่างที่ยังไม่ได้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ใหม่ หรือสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างทรงประชวร รักษาพระอาการประชวร ออกบัญชาการคณะสงฆ์ คณะสงฆ์อื่นไม่ได้ หรืออยู่ในระหว่างที่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงปฏิบัติศาสนากิจในราชกิจในต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

การปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

[แก้]

เมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช

[แก้]

ถ้าไม่มีสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์จะปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จนกว่าจะมีสมเด็จพระสังฆราช ถ้าสมเด็จพระราชาคณะดังกล่าวไม่อาจทำหน้าที่ได้ กรรมการมหาเถรสมาคมจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นตามลำดับสมณศักดิ์และความสามารถในการทำหน้าที่แทน[3]

เมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

[แก้]

เมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่อยู่ในประเทศ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระสังฆราชจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งรูปใดให้ปฏิบัติหน้าที่แทน[4]

ถ้าไม่ได้แต่งตั้ง หรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์จะปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชแทน และถ้าสมเด็จพระราชาคณะดังกล่าวไม่อาจทำหน้าที่ได้ กรรมการมหาเถรสมาคมจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นตามลำดับสมณศักดิ์และความสามารถในการทำหน้าที่แทน[5]

ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในกรณีข้างต้นนี้ อาจเป็นสมเด็จพระราชาคณะกลุ่มหนึ่งก็ได้ แล้วแต่สมเด็จพระสังฆราช หรือกรรมการมหาเถรสมาคมจะเห็นสมควร คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจะดำเนินกิจกรรมตามวิธีการที่ตนเองกำหนด และอาจมีผู้ช่วยหรือที่ปรึกษาด้วย[6]

สมัยสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)

[แก้]

ระหว่างดำรงพระชนม์

[แก้]

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ประชวรและประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545[7] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2547[8] เพื่อเปิดให้มีการแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2547

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ที่ประชุมมหาเถรสมาคมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้แต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ประชวรและประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยสมเด็จพระราชาคณะ 7 รูป จากพระอาราม 7 แห่ง ทั้งมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ครั้งนั้น มอบหมายให้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นประธาน[9][10]

ยุคคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2547

[แก้]
ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
[แก้]
ชื่อ วัด นิกาย วาระ
เริ่ม สิ้นสุด สาเหตุของการสิ้นสุด
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร มหานิกาย พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2556 มรณภาพ
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พ.ศ. 2556 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์[11]
สมาชิกคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
[แก้]
ชื่อ วัด นิกาย วาระ
เริ่ม สิ้นสุด สาเหตุของการสิ้นสุด
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตจาโร) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ธรรมยุติกนิกาย พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2550 มรณภาพ
สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พ.ศ. 2552
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร มหานิกาย พ.ศ. 2553
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2554
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร ธรรมยุติกนิกาย 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์[11]
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร พ.ศ. 2556
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มหานิกาย
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

หลังสิ้นพระชนม์

[แก้]

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจึงสิ้นสุดลงในวันรุ่งขึ้น[11] ระหว่างที่ยังไม่มีการตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ได้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557[11]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม". ssc.onab.go.th.
  3. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
  4. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10 วรรคสาม
  5. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10 วรรคสี่
  6. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 10 วรรคห้า
  7. แถลงการณ์ ฉ.1 สมเด็จพระสังฆราช อาการประชวรดีขึ้น หลังผ่าตัดลำไส้, 14 ตุลาคม 2556, ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
  8. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2547, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 121 ตอนพิเศษ 34 ก หน้า 1, 17 กรกฎาคม 2547.
  9. ประกาศมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 20/2547 เรื่อง การแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 121 ตอนพิเศษ 79 ง หน้า 1, 20 กรกฎาคม 2547.
  10. สำนักนายกฯ แถลง “สมเด็จญาณฯ” ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชแต่เพียงพระองค์เดียว เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์, 3 พฤศจิกายน 2548.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "สมเด็จวัดปากน้ำรับตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช". Nation Channel. 2014-01-03. สืบค้นเมื่อ 2014-01-03.[ลิงก์เสีย]
รายการอ้างอิง