ข้อถกเถียงเรื่องวัคซีน
ความลังเลในการรับวัคซีน (อังกฤษ: vaccine hesitancy) หมายถีงความลังเลไม่แน่ใจ หรือการต่อต้านการรับวัคซีน และรวมไปถึงการลังเลหรือต่อต้านไม่ให้เด็กในความดูแลของตัวเองรับวัคซีนด้วย องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2562 ว่าความลังเลในการรับวัคซีนเป็นภัยคุกคามระดับโลกทางสาธารณสุขในสิบอันดับแรก[1][2] ข้อถกเถียงใดๆ ที่ต่อต้านการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนนั้นถูกแย้งตกไปหมดแล้วด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความเห็นพ้องกันอย่างท่วมท้นว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ[3][4][5][6]
ความลังเลนี้เป็นผลมาจากการถกเถียงกันในสังคมเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้วัคซีน ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านจริยธรรม และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความลังเลนี้มีมาตั้งแต่สมัยที่มีการคิดค้นวัคซีนขึ้นเป็นครั้งแรก และมีขึ้นมาตั้งแต่ก่อนจะมีคำว่าวัคซีนถึงประมาณ 80 ปี สมมติฐานที่ถูกยกขึ้นมาเป็นเหตุผลโดยกลุ่มต่อต้านการใช้วัคซีนนั้นแตกต่างไปตามแต่ยุคสมัย[7] การลังเลที่จะรับวัคซีนนี้บ่อยครั้งกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และทำให้มีผู้เสียชีวิต[8][9][10][11][12][13]
มีการเสนอข้อกฎหมายที่สนับสนุนการบังคับให้บุคคลต้องรับวัคซีนอยู่เป็นระยะๆ ตัวอย่างเช่น California Senate Bill 277 ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และโครงการ No Jab No Pay ของประเทศออสเตรเลีย ทั้งหมดนี้ล้วนถูกคัดค้านอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านการใช้วัคซีน[14][15][16] ซึ่งอาจออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการบังคับให้รับวัคซีนด้วยเหตุผลเกี่ยวกับผลเสียของการใช้วัคซีน ต่อต้านด้วยเหตุผลเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หรือต้องการลดความน่าเชื่อถือของการใช้วัคซีนในสายตาของสังคมส่วนใหญ่ก็ได้[10][17][18][19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ten health issues WHO will tackle this year". Who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-19.
- ↑ PM, Aristos Georgiou (2019-01-15). "The anti-vax movement has been listed by WHO as one of its top 10 health threats for 2019" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
- ↑ "Communicating science-based messages on vaccines". Bulletin of the World Health Organization. 95 (10): 670–71. October 2017. doi:10.2471/BLT.17.021017. PMC 5689193. PMID 29147039.
- ↑ "Why do some people oppose vaccination?". Vox. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ Ceccarelli L. "Defending science: How the art of rhetoric can help". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ U.S. Department of Health and Human Services. "Vaccines.gov". Vaccines.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-08-05.
- ↑ Gerber JS, Offit PA (February 2009). "Vaccines and autism: a tale of shifting hypotheses". Clinical Infectious Diseases. 48 (4): 456–61. doi:10.1086/596476. PMC 2908388. PMID 19128068.
- ↑ "Frequently Asked Questions (FAQ)". Boston Children's Hospital. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2013. สืบค้นเมื่อ February 11, 2014.
- ↑ Phadke VK, Bednarczyk RA, Salmon DA, Omer SB (March 2016). "Association Between Vaccine Refusal and Vaccine Preventable Diseases in the United States: A Review of Measles and Pertussis". JAMA. 315 (11): 1149–58. doi:10.1001/jama.2016.1353. PMC 5007135. PMID 26978210.
- ↑ 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อwolfesharp
- ↑ Poland GA, Jacobson RM (January 2011). "The age-old struggle against the antivaccinationists". The New England Journal of Medicine. 364 (2): 97–99. doi:10.1056/NEJMp1010594. PMID 21226573.
- ↑ Wallace A (2009-10-19). "An epidemic of fear: how panicked parents skipping shots endangers us all". Wired. สืบค้นเมื่อ 2009-10-21.
- ↑ Poland GA, Jacobson RM (March 2001). "Understanding those who do not understand: a brief review of the anti-vaccine movement". Vaccine. 19 (17–19): 2440–45. doi:10.1016/S0264-410X(00)00469-2. PMID 11257375.
- ↑ "The Long History of America's Anti-Vaccination Movement". DiscoverMagazine.com. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
- ↑ Young Z (2018-11-21). "How anti-vax went viral". สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
- ↑ "How the anti-vaxxers are winning in Italy" (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
- ↑ Chang J (12 July 2017). "'Civil liberties' at center of vaccination debate in Texas". Mystatesman. Austin American-Statesman. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-13. สืบค้นเมื่อ 2019-07-27.
- ↑ Elliman D, Bedford H (23 March 2014). "In Britain, Vaccinate With Persuasion, not Coercion". The New York Times.
- ↑ "Anti-vaxxers have embraced social media. We're paying for fake news with real lives" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-06-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.