กิมเสี่ยถ่าง
กิมเสี่ยถ่าง[1] (ค.ศ. 1610? - สิงหาคม ค.ศ. 1661[2]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จิน เชิ่งท่าน (จีนตัวย่อ: 金圣叹; จีนตัวเต็ม: 金聖歎; พินอิน: Jīn Shèngtàn; เวด-ไจลส์: Chin Shêng-t'an) มีชื่อเดิมว่า จิน เหรินรุ่ย (金人瑞) และยังเป็นที่รู้จักในชื่อ จิน คุ่ย (金喟) เป็นบรรณาธิการ นักเขียน และนักวิจารณ์ชาวจีน ผู้ได้รับการเรียกขานว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมภาษาจีนพื้นถิ่น[3]
ประวัติ
[แก้]ปีเกิดของกิมเสี่ยถ่างไม่แน่ชัด โดยบางแหล่งข้อมูลระบุว่าเป็นปี ค.ศ. 1610 บ้างก็ระบุเป็นปี ค.ศ. 1608[a] การประมาณปีเกิดว่าเป็นปี ค.ศ. 1610 นั้นอิงจากข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรชายของกิมเสี่ยถ่างมีอายุ 10 ปีตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออกในปี ค.ศ. 1641 และข้อมูลนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในหมู่นักวิชาการ กิมเสี่ยถ่างมีชื่อโดยกำเนิดว่าจิน เหรินรุ่ย เกิดในเมืองซูโจวซึ่งเป็นสถานที่ที่โด่งดังในด้านวัฒนธรรมและความงดงาม ครอบครัวของกิมเสี่ยถ่างอยู่ในชนชั้นขุนนางบัณฑิต แต่มักถูกรังควานจากความเจ็บป่วยและความตาย ทำให้ครอบครัวกลับมีทรัพย์สินเพียงเล็กน้อย บิดาของกิมเสี่ยถ่างเป็นบัณฑิตอย่างชัดเจน กิมเสี่ยถ่างเริ่มเรียนหนังสือค่อนข้างช้า โดยเข้าเรียนในโรงเรียนของหมู่บ้านขณะอายุ 9 ปี กิมเสึ่ยถ่างแสดงความสงสัยใคร่รู้อย่างมากและมีความคิดที่ค่อนข้างแปลก แต่ก็เป็นนักเรียนที่มีมโนธรรม[4] ในช่วงต้นชีวิต กิมเสี่ยถ่างใช้ชื่อรองว่า "เสี่ยถ่าง" (聖歎 เชิ่งท่าน) ซึ่งเป็นวลีจาก หลุน-ยฺหวี่ (論語) มีความหมายว่า "ปราชญ์ [ขงจื๊อ] ถอนใจ" กิมเสี่ยถ่างผ่านการสอบหลวงเพียงระดับล่างสุด และไม่เคยรับราชการ[5][6]
ในงานเขียนของกิมเสี่ยถ่างแสดงถึงความความสนใจอย่างมากของกิมเสี่ยถ่างต่อแนวคิดของศาสนาพุทธนิกายฉาน กิมเสี่ยถ่างอ้างว่าความสนใจนี้เริ่มต้นเมื่อตนอ่านสัทธรรมปุณฑรีกสูตรครั้งแรกขณะอายุ 11 ปี ความโน้มเอียงนี้ต่อแนวคิดในศาสนาพุทธยิ่งเด่นชัดมากขึ้นหลังการล่มสลายของราชวงศ์หมิงในปี ค.ศ. 1644 ในปีนั้นและปีถัดมา กิมเสี่ยถ่างมีความรู้สึกหดหู่และเก็บตัวมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงยอมรับศาสนาพุทธมากขึ้นด้วยเช่นกัน จาง กั๋วกวาง (張國光) นักวิชาการในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการล่มสลายของการปกครองของหลี่ จื้อเฉิง (李自成) ที่มีระยะเวลาเพียงสั้น ๆ ตลอดชีวิตของกิมเสี่ยถ่าง ความสนใจในศาสนาพุทธส่งผลต่อทัศนะของกิมเสี่ยถ่าง และกิมเสี่ยถ่างถือว่าตนเองเป็นเพียงตัวแทนของพลังนิรันดร์[7]
บางครั้งมีการกล่าวกันว่ากิมเสี่ยถ่างยังเป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่าจาง ไฉ่ (張采) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดเนื่องจากสับสนกับจาง ผู่ (張溥) ที่เป็นบุคคลร่วมสมัย[8]
การเสียชีวิต
[แก้]ในปี ค.ศ. 1661 กิมเสี่ยถ่างเข้าร่วมกับปัญญาชนจำนวนหนึ่งในการประท้วงการแต่งตั้งข้าราชการทุจริต เหล่าผู้ประท้วงยื่นคำร้องต่อราชสำนักก่อน จากนั้นจึงดำเนินการชุมนุมสาธารณะ การกระทำนี้ถูกข้าราชการท้องถิ่นตอบโต้อย่างรวดเร็ว และกิมเสี่ยถ่างก็ถูกตัดสินโทษประหารชีวิต เหตุการณ์นี้บางครั้งเรียกว่า "การคร่ำครวญที่ศาลขงจื๊อ" (哭廟案 คูเมี่ยวอ้าน) และนำไปสู่การปราบปรามความเห็นต่างทางการเมืองเป็นเวลาหลายปีหลังจากนั้น[9] ก่อนที่จะเสียชีวิต กิมเสี่ยถ่างพูดติดตลกว่า "การถูกตัดศีรษะเป็นสิ่งที่เจ็บปวดที่สุด แต่ด้วยเหตุใดก็ไม่ทราบสิ่งนี้จึงเกิดกับข้า นึกไม่ถึงเลย!" ในบทความปี ค.ศ. 1933 หลู่ ซฺวิ่น (鲁迅) นักเขียนชื่อดังยอมรับว่าคำพูดนี้ของกิมเสี่ยถ่างอาจเป็นคำพูดที่คนอื่นคิดขึ้น และวิจารณ์ว่าเป็น "การหัวเราะเยาะความโหดร้ายของคนขายเนื้อมนุษย์"[10]
ทฤษฎีวรรณกรรมและการวิจารณ์วรรณกรรม
[แก้]กิมเสี่ยถ่างมีชื่อเสียงจากการรวบรวมรายชื่อที่กิมเสี่ยถ่างเรียกว่า "หกผลงานของอัจฉริยะ " (六才子書 ลิ่วไฉจื่อชู) ได้แก่ จังจื๊อ (莊子 จฺวางจื่อ), กวีนิพนธ์ลีส่าว (離騷 หลีเซา), ซือกี่ (史記 ฉื่อจี้), กวีนิพนธ์ของโต้วโพ้ว (杜甫 ตู้ ฝู่), ไซเซีย (西廂記 ซีเซียงจี้) และ ซ้องกั๋ง (水滸傳 ฉุยหู่จฺว้าน) รายชื่อนี้ประกอบด้วยผลงานโบราณชั้นสูงอย่างลีส่าวและกวีนิพนธ์ของโต้วโพ้ว กับนวนิยายหรือบทละครภาษาจีนพื้นถิ่นที่มีต้นกำเนิดมาจากตามถนนหนทางและย่านตลาด ผลงานทั้งหกนี้ได้รับเลือกโดยพิจารณาจากคุณค่าทางวรรณกรรม ไม่ได้มาจากหลักคุณธรรม ด้วยเหตุนี้กิมเสี่ยถ่างจึงมักถูกมองว่าเป็นคนประหลาดและสร้างศัตรูจำนวนมากในหมู่นักวิชาการลัทธิขงจื๊อสายอนุรักษ์นิยมในช่วงเวลานั้น[5] กิมเสี่ยถ่างแก้ไขปรับปรุง แสดงความคิดเห็น และเพิ่มคำนำกับหมายเหตุระหว่างบรรทัดให้กับนวนิยายชื่อดังอย่างซ้องกั๋งและสามก๊ก (三國演義 ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) กับละครในยุคราชวงศ์หยวนอย่างไซเซีย
กิมเสี่ยถ่างมักถูกจัดกลุ่มร่วมกับเม่าจงกัง (毛宗崗 เหมา จงกาง) และจาง จู๋พัว (張竹坡) ในฐานะนักวิจารณ์/บรรณาธิการ ฉบับวิจารณ์นวนิยายสามก๊กของเม่าจงกังและบทวิจารณ์นวนิยายบุปผาในกุณฑีทอง (金瓶梅 จินผิงเหมย์) ของจาง จู๋พัวใช้วิธีตู๋ฝ่า (讀法 แปลว่า "วิถีเพื่ออ่าน") ในการตีความนวนิยายโดยใช้มาตรฐานคำศัพท์และการวิจารณ์ ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยจำกัดเฉพาะกับกวีนิพนธ์และภาพจิตรกรรม นวัตกรรมนี้ช่วยยกสถานะของนวนิยายสำหรับนักอ่านชาวจีน และทำให้การเขียนนวนิยายกลายเป็นกิจกรรมที่มีหน้ามีตาสำหรับบุคคลที่มีการศึกษา[11]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลงานสำคัญ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชื่อเสียงและสิ่งตกทอด
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ สำหรับตัวอย่างของข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกันนี้ ดูที่:
- Wu, Yenna (1991). "Repetition in Xingshi yinyuan zhuan". Harvard Journal of Asiatic Studies. Harvard Journal of Asiatic Studies, Vol. 51, No. 1. 51 (1): 55–87. doi:10.2307/2719242. JSTOR 2719242.
- Rushton, Peter (1986). "The Daoist's Mirror: Reflections on the Neo-Confucian Reader and the Rhetoric of Jin Ping Mei (in Essays and Articles)". Chinese Literature: Essays, Articles, Reviews. Chinese Literature: Essays, Articles, Reviews, Vol. 8, No. 1/2. 8 (1/2): 63–81. doi:10.2307/495115. JSTOR 495115.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("ต่อมามีนักปราชญ์จีนอีก ๒ คน คนหนึ่งชื่อเม่าจงกังคิดจะพิมพ์หนังสือสามก๊ก จึงแต่งคำอธิบายแลพังโพยเพิ่มเข้า แล้วให้นักปราชญ์จีนอีกคน ๑ ชื่อกิมเสี่ยถ่างอ่านตรวจ กิมเสี่ยถ่างเลื่อมใสในหนังสือสามก๊ก ช่วยแก้ไขคำพังโพยของเม่าจงกัง แล้วแต่งคำอธิบายของกิมเสี่ยถ่างเปนทำนองคำนำ มอบให้เม่าจงกังไปแกะตัวพิมพ์ตีพิมพ์หนังสือเรื่องสามก๊กขึ้น") "ตำนานหนังสือสามก๊ก: ๑ ว่าด้วยหนังสือสามก๊ก". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ January 6, 2025.
- ↑ Pattinson, David (December 2000). "Zhou Lianggong and Chidu Xinchao : Genre and Political Marginalisation in the Ming-Qing Transition" (PDF). East Asian History. Australian National University: Institute of Advanced Studies (20): 69. สืบค้นเมื่อ 6 August 2018.
- ↑ Hummel, Arthur W. Sr., บ.ก. (1943). . Eminent Chinese of the Ch'ing Period. United States Government Printing Office. pp. 164–166.
- ↑ Wang, John Ching-yu (1972). Chin Sheng-T'an. New York: Twayne Publishers, Inc. pp. 23–25.
- ↑ 5.0 5.1 Findlay, Bill (March 2004). Frae ither tongues: Essays on Modern Translations into Scots. Multilingual Matters. pp. 21–22. ISBN 978-1-85359-700-8.
- ↑ Sieber, Patricia Angela (2003). Theaters of Desire: Authors, Readers, and the Reproduction of Early Chinese Song Drama, 1300-2000. Palgrave Macmillan. p. 147. ISBN 1-4039-6194-8.
- ↑ Ge, Liangyan (December 2003). "Authoring "Authorial Intention:" Jin Shengtan as Creative Critic (in Essays and Articles)". Chinese Literature: Essays, Articles, Reviews. Chinese Literature: Essays, Articles, Reviews, Vol. 25. 25: 1–24. doi:10.2307/3594280. JSTOR 3594280.
- ↑ Hummel (1943), p. 164.
- ↑ Sieber (2003), p. 147.
- ↑ Sohigian, Diran John (2007). "Contagion of Laughter: The Rise of the Humor Phenomenon in Shanghai in the 1930s". East Asian Cultures Critique. 15 (1): 137–163. doi:10.1215/10679847-2006-027. S2CID 145300758.
- ↑ Wang, Rumei 王汝梅 (1999). Jin Shengtan, Mao Zonggang, Zhang Zhupo 金圣叹·毛宗岗·张竹坡 . Shenyang: Chunfeng wenyi chubanshe. ISBN 7531320290.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Chin Shen T'an (Jin Shengtan), "Preface to 'Sui Hu' [Shuihu Zhuan]," (translated by "T.K.C.") The China Critic (7 March 1935): 234–235. Accessed through China Heritage Quarterly [1]