ข้ามไปเนื้อหา

กิชิวาจินเด็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิชิวาจินเด็ง  
ชื่อเรื่องต้นฉบับ魏志倭人傳
ประเทศราชวงศ์จิ้นตะวันตก
ภาษาภาษาจีนโบราณ
ประเภทประวัติศาสตร์
พิมพ์ระหว่าง ค.ศ. 280 และ ค.ศ. 297
เรื่องก่อนหน้าจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 29 
เรื่องถัดไปจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 31 
กิชิวาจินเด็ง
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม魏志倭人傳
อักษรจีนตัวย่อ魏志倭人传
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ魏志倭人伝
การถอดเสียง
โรมาจิGishi Wajinden

กิชิวาจินเด็ง (ญี่ปุ่น: 魏志倭人伝โรมาจิGishi Wajinden; "บันทึกรัฐวุยก๊ก ศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับชาววา") หรือ เว่ย์จื้อวัวเหรินจฺว้าน (จีน: 魏志倭人伝; พินอิน: Wèi zhì Wōrén zhuàn) เป็นข้อเขียนในบันทึกประวัติศาสตร์จีนจดหมายเหตุสามก๊ก (สามก๊กจี่หรือซานกั๋วจื้อ) เล่มที่ 30 ที่ว่าด้วยเรื่องชาววา ซึ่งภายหลังรู้จักในฐานะชาวญี่ปุ่น โดยบรรยายถึงจารีต ภูมิศาสตร์ และแง่มุมอื่น ๆ เกี่ยวกับดินแดนวา ผู้คนและผู้อาศัยในหมู่เกาะญี่ปุ่นในเวลานั้น จดหมายเหตุสามก๊กเขียนโดยตันซิ่วในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตกช่วงปลายศตวรรษที่ 3 (ระหว่างปี ค.ศ. 280 ที่เป็นปีที่ง่อก๊กล่มสลาย ถึงปี ค.ศ. 297 ซึ่งเป็นปีเสียชีวิตของตันซิ่ว)[1]

ภาพรวม[แก้]

ไม่มีศาสตร์นิพนธ์ที่แยกเป็นอิสระที่เรียกว่า "กิชิวาจินเด็ง" ในจดหมายเหตุสามก๊ก และคำอธิบายเกี่ยวกับกับชาวยามาโตะเป็นส่วนหนึ่งของภาควุยก๊ก (魏書 เว่ย์ชู) เล่มที่ 30 "ศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับชาวออหวน (อูหฺวาน), เซียนเปย์ และตงอี๋" ชื่อ "กิชิวาจินเด็ง" นั้นมาจากสำนักพิมพ์อิวานามิ บุงโกะของญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ข้อเขียนนี้ในชื่อว่า กิชิวาจินเด็ง ในปี ค.ศ. 1951[2] ดังนั้นบางคนจึงเห็นว่าชื่อนี้ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาของข้อเขียน เพราะข้อเขียนไม่เพียงกล่าวถึงชาววา แต่ยังกล่าวถึงชาวตงอี๋ ("อนารยชนทางตะวันออก") ทั้งหมด[3] โยชิฮิโระ วาตานาเบะนักวิจัยเรื่องสามก๊กกล่าวว่าบันทึกเกี่ยวกับคาบสมุทรเกาหลีและญี่ปุ่นไม่ได้อิงจากประสบการณ์โดยตรงของตันซิ่ว แต่เขียนขึ้นจากข่าวลือและรายงานจากผู้คนที่เดินทางไปคาบสมุทรเกาหลีและญี่ปุ่น ความถูกต้องของข้อมูลจึงเป็นที่น่าสงสัย โยชิฮิโระยังแนะนำเพิ่มเติมว่า "ควรตรวจสอบโลกทัศน์และสถานการณ์ทางการเมืองของตันซิ่ว ไม่เพียงแต่โดยการอ่านจดหมายเหตุและอรรถาธิบายอย่างครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำความคุ้นเคยกับคัมภีร์ในลัทธิขงจื๊อที่สร้างโลกทัศน์เพื่อทำความเข้าใจด้วย"[4]

กิชิวาจินเด็งถือเป็นครั้งแรกที่มีการเขียนบทความเกี่ยวกับหมู่เกาะญี่ปุ่นในบันทึกประวัติศาสตร์จีนอย่างเป็นทางการ ศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับชาวตงอี๋ในโฮ่วฮั่นชูมีลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่บันทึกในกิชิวาจินเด็ง แต่กิชิวาจินเด็งเขียนขึ้นก่อน[5]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Hōga, Toshio (2015). There was no need for the Yamataikoku controversy. - An approach to solving the Yamataikoku location issue 邪馬台国論争は必要なかった-邪馬台国所在地問題の解決へのアプローチ-.
  • Okamoto, Kenichi (1995). Yamataikoku ronsō 邪馬台国論争. Kōdansha sensho mechie. Tōkyō: Kōdansha. ISBN 978-4-06-258052-6.
  • Kidder, Jonathan Edward (2007). Himiko and Japan's elusive chiefdom of Yamatai: archaeology, history, and mythology. Honolulu (T.H.): University of Hawai'i press. ISBN 978-0-8248-3035-9.
  • Tōdō, Akiyasu; Takeda, Akira; Kageyama, Terukuni (2010). 倭国伝 中国正史に描かれた日本. 講談社学術文庫 2010. Kōdansha. ISBN 978-4-06-292010-0.
  • Nishio, Kanji (1999). Kokumin no rekishi. Atarashii-Rekishi-Kyōkasho-o-Tsukuru-Kai. Tōkyō: Sankei Shinbun Nyūsu Sābisu. ISBN 978-4-594-02781-0.
  • Nishio, Kanji (2009). 国民の歴史(上) 決定版. 文春文庫. 文藝春秋. ISBN 978-4-16-750703-9.
  • Furuta, Takehiko (November 1971). 「邪馬台国」はなかった 解読された倭人伝の謎. 朝日新聞社.
  • Matsumoto, Seichō (1968). 古代史疑. 中央公論社. ASIN B000JA64RY.
  • Yoshimura, Takehiko (November 2010). ヤマト王権 シリーズ 日本古代史②. 岩波新書(新赤版)1272. 岩波書店. ISBN 978-4-00-431272-7.
  • Wada, Sei; Ishihara, Michihiro, บ.ก. (November 1951). 魏志倭人伝・後漢書倭伝・宋書倭国伝・隋書倭国伝. 岩波文庫. 岩波書店. ASIN B000JBE2JU.
  • Ishihara, Michihiro, บ.ก. (1985). 魏志倭人伝・後漢書倭伝・ 宋書倭国伝・隋書倭国伝――中国正史日本伝1. Iwanami-bunko (Shintei, dai 58 satsu hakkō ed.). Tōkyō: Iwanami-Shoten. ISBN 978-4-00-334011-0.
  • Watanabe, Yoshihiro (May 2012). 魏志倭人伝の謎を解く 三国志から見る邪馬台国. 中公新書 2164. 中央公論新社. ISBN 978-4-12-102164-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]