การ์โลส อัลการัซ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อัลการัซในปี 2024 | ||||||||||||
ชื่อเต็ม | การ์โลส อัลการัซ การ์เฟีย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเทศ (กีฬา) | สเปน | |||||||||||
ถิ่นพำนัก | วิลเยนา สเปน | |||||||||||
วันเกิด | เอลปัลมาร์ สเปน | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2003|||||||||||
ส่วนสูง | 1.83 m (6 ft 0 in)[1] | |||||||||||
เทิร์นโปร | 2018 | |||||||||||
การเล่น | มือขวา (แบคแฮนด์สองมือ) | |||||||||||
ผู้ฝึกสอน | ฆวน การ์โลส เฟร์เรโร | |||||||||||
เงินรางวัล | US$35,181,805[2] | |||||||||||
เดี่ยว | ||||||||||||
สถิติอาชีพ | 201–52 (79.4%)[a] | |||||||||||
รายการอาชีพที่ชนะ | 16 | |||||||||||
อันดับสูงสุด | No. 1 (12 กันยายน 2022) | |||||||||||
อันดับปัจจุบัน | No. 3 (10 มิถุนายน 2024)[3] | |||||||||||
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว | ||||||||||||
ออสเตรเลียนโอเพน | รอบก่อนรองชนะเลิศ (2022) | |||||||||||
เฟรนช์โอเพน | ชนะเลิศ (2024) | |||||||||||
วิมเบิลดัน | ชนะเลิศ (2023, 2024) | |||||||||||
ยูเอสโอเพน | ชนะเลิศ (2022) | |||||||||||
การแข่งขันอื่น ๆ | ||||||||||||
Tour Finals | รอบรองชนะเลิศ (2023) | |||||||||||
Olympic Games | รองชนะเลิศ (2024) | |||||||||||
คู่ | ||||||||||||
สถิติอาชีพ | 3–3 (50.0%)[a] | |||||||||||
รายการอาชีพที่ชนะ | 0 | |||||||||||
อันดับสูงสุด | No. 519 (9 May 2022) | |||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| ||||||||||||
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 29 กันยายน 2024 |
การ์โลส อัลการัซ การ์เฟีย (สเปน: Carlos Alcaraz Garfia, ออกเสียง: [ˈkarlos alkaˈɾaθ];[4] เกิด: 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2003) เป็นนักเทนนิสอาชีพชายชาวสเปน มือวางอันดับ 3 ของโลกคนปัจจุบัน และเคยครองตำแหน่งอันดับ 1 อัลการัซคว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยวของสมาคมนักเทนนิสอาชีพ (เอทีพี) 16 รายการรวมถึงแชมป์แกรนด์สแลม 4 รายการ และแชมป์เอทีพี มาสเตอร์ 1000 อีก 5 รายการ[5] เขาได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักเทนนิสที่เก่งที่สุด รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้เล่นอายุน้อยที่น่าจับตามองที่สุดในปัจจุบัน[6][7][8]
อัลการัซเริ่มเล่นอาชีพใน ค.ศ. 2018 ในวัย 15 ปี และชนะเลิศการแข่งขันเอทีพี ชาลเลนเจอร์ ทัวร์ 4 รายการ ด้วยพัฒนาการอันยอดเยี่ยมส่งผลให้เขาขึ้นสู่ 100 อันดับแรกของโลกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 และจบฤดูกาลด้วยการขึ้นถึงอันดับ 35 จากการเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศแกรนด์สแลมยูเอสโอเพน ต่อมาใน ค.ศ. 2022 เขาชนะเลิศรายการมาสเตอร์ 1000 ที่ไมแอมีด้วยวัย 18 ปี และแชมป์รายการที่สองที่มาดริด ซึ่งเขาเอาชนะผู้เล่นระดับโลกอย่างราฟาเอล นาดัล, นอวาก จอกอวิช และ อเล็คซันเดอร์ ซเฟเร็ฟ และขึ้นสู่ 10 อันดับแรกของโลก ในช่วงปลายปีเขาชนะเลิศแกรนด์สแลมยูเอสโอเพน และขึ้นสู่มือวางอันดับ 1 ของโลก ทำสถิติเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ขึ้นสู่ตำแหน่งอันดับ 1 ด้วยวัย 19 ปี 4 เดือน และ 6 วัน[9] และยังจบฤดูกาลด้วยการเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ที่อายุน้อยที่สุด ส่งผลให้เขาคว้ารางวัลลอริอุสเวิลด์สปอตส์อะวอดส์ สาขานักกีฬาที่มีพัฒนาการยอดเยี่ยมแห่งปี
ใน ค.ศ. 2023 เขาชนะเลิศรายการมาสเตอร์ 1000 อีกสองรายการที่อินเดียน เวลส์ และ มาดริด และชนะครบ 100 นัดในอาชีพด้วยวัยเพียง 20 ปี ตามด้วยแชมป์แกรนด์สแลมรายการที่สองในวิมเบิลดัน ซึ่งเขาเอาชนะมือวางอันดับ 1 และแชมป์ 7 สมัยอย่างจอกอวิช ใน ค.ศ. 2024 เขาคว้าแชมป์เฟรนช์โอเพนสมัยแรก และกลายเป็นนักเทนนิสชายที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่คว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้ครบทุกพื้นคอร์ต ตามด้วยการป้องกันแชมป์วิมเบิลดันด้วยการชนะจอกอวิชอีกครั้ง และเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในยุคโอเพน[b]ที่คว้าแชมป์เฟรนช์โอเพนและวิมเบิลดันได้ในปีเดียวกัน ตามด้วยการคว้าเหรียญเงินประเภทชายเดี่ยวในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ต่อมา เขาชนะการแข่งขันไชนาโอเพนที่ปักกิ่ง ส่งผลให้เขาเป็นนักเทนนิสชายคนแรกที่ชนะเลิศการแข่งขันรายการเอทีพี 500 ครบทุกพื้นคอร์ต
วัยเยาว์
[แก้]การ์โลส อัลการัซ การ์เฟีย เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ในหมู่บ้านเอลปัลมาร์ แคว้นภูมิภาคมูร์เซีย ประเทศสเปน บิดาของเขาคือ การ์โลส อัลการัซ กอนซาเลซ มารดาคือ บีร์ฆิเนีย การ์เฟีย เอสกันดอน อัลการัซมีพี่น้องสามคน เขาเริ่มเล่นเทนนิสเมื่ออายุประมาณ 4 ปี ณ สถาบันฝึกสอน Real Sociedad Club de Campo Murcia ซึ่งบิดาของเขาเป็นผู้อำนวยการอยู่ที่นั่น
การเล่นอาชีพ
[แก้]2020: ลงแข่งขันในเอทีพีครั้งแรก
[แก้]ด้วยวัย 16 ปีในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 อัลการัซลงแข่งขันอาชีพครั้งแรก ณ นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ซึ่งเขาเอาชนะรุ่นพี่ร่วมชาติอย่างอัลเบร์ต ราโมส บิญโญลัส[10] ในรอบแรกก่อนจะตกรอบที่สองโดยแพ้เฟเดริโก โกเรียจากอาร์เจนตินา
2021: แชมป์รายการแรก และขึ้นสู่ 35 อันดับแรกของโลก
[แก้]ในวัย 17 ปี อัลการัซได้ลงแข่งขันในระดับแกรนด์สแลมครั้งแรกในรายการออสเตรเลียนโอเพน และถือเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์รายการที่ได้ลงแข่งขันในประเภทชายเดี่ยว[11] เขาผ่านรอบแรกด้วยการเอาชนะโบติค ฟาน เดอ แซนชุลป์จากเนเธอร์แลนด์แต่ตกรอบที่สองโดยแพ้มิคาเอล อีเมอร์ชาวสวีเดน
ต่อมา อัลการัซทำสถิติเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่คว้าชัยชนะในรายการมาสเตอร์ 1000 คอร์ตดินที่กรุงมาดริด โดยเอาชนะอาเดรียน มานนาริโนจากฝรั่งเศส ทำลายสถิติของราฟาเอล นาดัล ซึ่งมีอายุ 18 ปีใน ค.ศ. 2004 และเขาตกรอบที่สองโดยแพ้ตำนานรุ่นพี่อย่างนาดัลในรอบต่อมา ซึ่งตรงกันคล้ายวันเกิดครบ 18 ปีของเขา[12] เขาชนะเลิศการแข่งขันรายการที่ใหญ่ที่สุดในอาชีพขณะนั้นที่โปรตุเกส ทำสถิติเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ขึ้นสู่ 100 อันดับแรกของโลกในวัย 18 ปี วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2021[13]
อัลการัซเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ (8 คนสุดท้าย) ในระดับแกรนด์สแลมครั้งแรกในเฟรนช์โอเพน ณ กรุงปารีส ต่อมาในเดือนกรกฎาคม เขาคว้าแชมป์ที่โครเอเชีย และทำสถิติเป็นนักเทนนิสชาวสเปนที่อายุน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์ในการแข่งขันของเอทีพี ทำลายสถิติเดิมของนาดัลใน ค.ศ. 2004 ก่อนที่เขาจะตกรอบที่สองในแกรนด์สแลมวิมเบิลดัน โดยแพ้ ดานีอิล เมดเวเดฟ และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศรายการเอทีพี 250 ที่รัฐนอร์ทแคโรไลนาแต่แพ้อีเมอร์จากสวีเดนไปอีกครั้ง
ต่อมาในแกรนด์สแลมยูเอสโอเพน เขาเอาชนะผู้เล่นชื่อดังชาวกรีกอย่างสเตฟาโนส ซิทซีปัส ในการแข่งขันห้าเซตผ่านเข้าสู่รอบที่ 4 ถือเป็นชัยชนะที่ใหญ่ที่สุดในอาชีพของเขา ณ ขณะนั้น[14] และสร้างสถิติเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่เข้าสู่รอบที่สี่ในเทนนิสแกรนด์สแลม แทนสถิติเดิมของไมเคิล ชาง และตำนานชาวอเมริกันอย่างพีต แซมพราสใน ค.ศ. 1989[15] และเขายังทำสถิติเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในยุคโอเพน[c] ที่เข้ารอบก่อนรองชนะเลิศรายการนี้ ต่อจากโธมัซ คอคชาวบราซิลในวัย 18 ปีเมื่อ ค.ศ. 1963 อย่างไรก็ตาม เขาต้องขอยอมแพ้จากการแข่งขันที่พบกับเฟลิกซ์ โอเฌร์ อาลียาซีมจากแคนาดา เนื่องจากบาดเจ็บที่ขา[16] ต่อมา เขาเอาชนะมือวาง 10 อันดับแรกของโลกได้เป็นครั้งที่สองนับตั้งแต่เล่นอาชีพ ด้วยการเอาชนะมัตเตโอ เบเรตตินี ชาวอิตาลีในการแข่งขันที่กรุงเวียนนา และขึ้นสู่ 35 อันดับแรกของโลกได้เป็นครั้งแรก ถือเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ทำได้ ถัดมาในการแข่งขันมาสเตอร์ 1000 ที่ปารีส เขาเอาชนะยันนิค ซินเนอร์ จากอิตาลีได้ ถือเป็นการชนะผู้เล่นสิบอันดับแรกของโลกเป็นครั้งที่สาม เขาปิดท้ายฤดูกาลด้วยการคว้าแชมป์เอทีพีไฟนอล ในระดับเยาวชน (Next gen Final) เอาชนะดาวรุ่งชาวอเมริกันอย่างเซบาสเตียน คอร์ดาในรอบชิงชนะเลิศ
2022: แชมป์แกรนด์สแลมรายการแรก และขึ้นสู่มือวางอันดับ 1 ของโลก
[แก้]อัลการัซได้รับการจัดอันดับเป็นผู้เล่นมือวางครั้งแรกในรายการแกรนด์สแลมปีนี้ เขาเข้าสู่รอบที่สามในรายการออสเตรเลียนโอเพนก่อนจะแพ้เบเรตตินีในการแข่งขันห้าเซต แต่เขาคว้าแชมป์ระดับเอทีพี 500 ได้เป็นครั้งแรกด้วยการเอาชนะดิเอโก ชวาสมัน ในรอบชิงชนะเลิศที่รีโอเดจาเนโร และขึ้นสู่ 20 อันดับแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ตามด้วยการเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศรายการเอทีพีมาสเตอร์ 1000 ครั้งแรกที่อินเดียนเวลส์ ก่อนจะแพ้นาดัล
เขาคว้าแชมป์มาสเตอร์ 1000 ครั้งแรกด้วยการชนะกาสเปอร์ รืด จากนอร์เวย์ที่ไมแอมี ทำสถิติเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์รายการนี้ และเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสามที่ชนะเลิศรายการมาสเตอร์[17] แต่เขาแพ้คอร์ดาในรายการมาสเตอร์ที่มงเต-การ์โล[18] ภายหลังจากเอาชนะซิทซีปัสในรอบก่อนรองชนะเลิศที่บาร์เซโลนา เขาขึ้นสู่ตำแหน่ง 10 อันดับแรกของโลกเป็นครั้งแรกในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2022[19] เขาถือเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนที่ 20 ในประวัติศาสตร์ที่ขึ้นสู่มือวาง 10 อันดับแรก นับตั้งแต่มีการนำระบบจัดอันโลกมาใช้ใน ค.ศ. 1973 และเป็นมือวาง 10 อันดับที่อายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่นาดัลทำสถิติไว้ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005[20] เขาคว้าแชมป์ด้วยการเอาชนะรุ่นพี่ร่วมชาติอย่างปาโบล การ์เรโญ บุสตา
ในวันเกิดครบรอบ 19 ปีของอัลการัซ เขาเอาชนะนาดัลในการแข่งขันมาสเตอร์ที่มาดริด ทำสถิติเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนแรกที่เอาชนะนาดัลบนคอร์ตดินได้ ตามด้วยการเอาชนะมือวางอันดับหนึ่งอย่าง นอวาก จอกอวิช ในรอบรองชนะเลิศ ทำสถิติเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่เอาชนะผู้เล่นมือวางอันดับหนึ่งนับตั้งแต่ ค.ศ. 2004 และเป็นผู้เล่นคนแรกที่เอาชนะได้ทั้งนาดัลและจอกอวิชติดต่อกันบนคอร์ตดิน[21] เขาคว้าแชมป์รายการที่สี่ในปีนี้ และเป็นแชมป์มาสเตอร์ 1000 รายการที่สองโดยเอาชนะอเล็คซันเดอร์ ซเฟเร็ฟ ถือเป็นแชมป์ที่อายุน้อยที่สุดในรายการ ส่งผลให้เขาขึ้นสู่อันดับหกของโลกในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ก่อนจะถอนตัวจากรายการมาสเตอร์ที่โรมเนื่องจากบาดเจ็บข้อเท้า[22] เขาเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศในเฟรนช์โอเพน ก่อนจะแพ้ซเฟเร็ฟ[23] และแพ้ซินเนอร์ในรอบที่สี่ในวิมเบิลดัน
อัลการัซขึ้นสู่มือวางอันดับ 5 ของโลกเป็นครั้งแรกในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 ถือเป็นผู้เล่นที่ทำอันดับติด 1 ใน 5 ที่อายุน้อยที่สุดตั้งแต่นาดัลทำได้ใน ค.ศ. 2005 แต่เขาแพ้ลอเรนโซ มูเซตติ จากอิตาลีในรอบชิงชนะเลิศที่ฮัมบวร์ค เป็นการแพ้รอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกในอาชีพ แต่เขาขึ้นสู่มือวางอันดับสี่ในเดือนถัดมาหลังจากเข้ารอบชิงชนะเลิศที่โครเอเชีย เขาลงแข่งขันแกรนด์สแลมยูเอสโอเพนในฐานะมือวางอันดับสาม และจากการเอาชนะมาร์รีน ชิลิคในรอบที่สี่ อัลการัซทำสถิติเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่เข้ารอบแปดคนสุดท้ายในรายการนี้สองปีติดต่อกันในยุคโอเพน[24] เขาเอาชนะซินเนอร์ในรอบต่อมาโดยต้องเซฟแต้ม Match Point ซึ่งนัดนี้ใช้เวลาแข่งขันไปถึง 5 ชั่วโมงและ 15 นาที ถือเป็นการแข่งขันที่นานที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์รายการ[25] และเขาคว้าแชมป์รายการใหญ่ที่สุดในการเล่นอาชีพ และเป็นแชมป์แกรนด์สแลมครั้งแรกด้วยการเอาชนะคัสเปอร์ รืด จากนอร์เวย์ในรอบชิงชนะเลิศ 3–1 เซต ขึ้นสู่มือวางอันดับหนึ่งของโลกเป็นครั้งแรกในอาชีพ และสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้เล่นมือวางอันดับหนึ่งที่อายุน้อยที่สุดของเอทีพีด้วยวัย 19 ปี 4 เดือน และ 6 วัน ทำลายสถิติเดิมของเลย์ตัน ฮิววิตต์ เขายังเป็นผู้เล่นดาวรุ่งคนแรกในยุคโอเพนที่ขึ้นสู่ตำแหน่งอันดับหนึ่ง และเป็นแชมป์รายการนี้ที่อายุน้อยที่สุดต่อจากพีต แซมพราสใน ค.ศ. 1990[26]
อัลการัซแพ้ต่ออาลียาซีมในรอบชิงชนะเลิศเทนนิสเดวิส คัพ[d][27] ตามด้วยการตกรอบแรกที่อัสตานา และเข้ารอบรองชนะเลิศที่บาเซิลก่อนจะแพ้อาลียาซีมไปอีกครั้ง[28] เขาถอนตัวในรอบแปดคนสุดท้ายการแข่งขันมาสเตอร์ที่ปารีสเนื่องจากอาการบาดเจ็บ ในวันถัดมาเขาประกาศว่าได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อท้องฉีกขาด และต้องพักการแข่งขันประมาณหกสัปดาห์ ส่งผลให้เขาต้องถอนตัวจากการแข่งขันสองรายการสำคัญท้ายฤดูกาลในเอทีพีไฟนอล และเทนนิสเดวิสคัพ[29] อย่างไรก็ตาม เขายังปิดฤดูกาลด้วยตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่ง ถือเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่จบฤดูกาลด้วยตำแหน่งนี้ด้วยวัย 19 ปีและ 214 วัน[30]
2023: ชัยชนะนัดที่ 100 และ แชมป์วิมเบิลดัน
[แก้]อัลการัซต้องถอนตัวจากแกรนด์สแลมออสเตรเลียนโอเพนเนื่องจากบาดเจ็บกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังจากการฝึกซ้อม[31] เขาเสียตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งให้แก่จอกอวิชซึ่งคว้าแชมป์ออสเตรเลียนโอเพนได้[32] อัลการัซครองตำแหน่งอันดับหนึ่งครั้งแรกในอาชีพรวม 20 สัปดาห์ ต่อมา เขาคว้าแชมป์รายการที่เจ็ดในอาชีพในการแข่งขันเอทีพี 500 ที่บัวโนสไอเรส เอาชนะคาร์เมรอน นอร์รีย์ จากสหราชอาณาจักรในรอบชิงชนะเลิศ 2–0 เซต[33] ก่อนจะแพ้นอร์รีย์ในรอบชิงชนะเลิศที่รีโอเดจาเนโร 1–2 เซต[34] และถอนตัวจากการแข่งขันที่อากาปุลโกจากการบาดเจ็บกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังอีกครั้ง[35]
อัลการัซคว้าชัยชนะครบ 100 นัดในอาชีพจากการชนะทาลลอน กรีกสปูร์อันดับ 31 จากเนเธอร์แลนด์ในมาสเตอร์ 1000 ที่อินเดียนเวลส์[36] ทำสถิตินี้ได้เร็วกว่าผู้เล่น Big 3 อย่างโรเจอร์ เฟเดอเรอร์ นาดัล และจอกอวิช ตามด้วยการเอาชนะซินเนอร์ และเมดเวเดฟในรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศตามลำดับ ถือเป็นแชมป์รายการที่แปดในอาชีพ และรายการมาสเตอร์ 1000 ครั้งที่สามที่ได้แชมป์ และยังหยุดสถิติชนะรวดทุกรายการ 19 นัดของเมดเวเดฟลง และเป็นผู้เล่นคนแรกที่คว้าแชมป์ได้โดยไม่เสียเซตเลยทั้งรายการ นับตั้งแต่เฟเดอเรอร์ทำได้ใน ค.ศ. 2017 ส่งผลให้เขากลับสู่มือวางอันดับหนึ่งในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2023[37] ก่อนจะตกรอบรองชนะเลิศที่ไมแอมีซึ่งเขาเป็นแชมป์เก่า โดยแพ้คู่ปรับอย่างซินเนอร์ไปอีกครั้ง 1–2 เซต[38] และเสียตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งกลับไปอีกครั้ง
เขาถอนตัวจากรายการคอร์ตดินที่มงเต-การ์โล จากอาการบาดเจ็บข้อมือ[39] ก่อนจะกลับมาเอาชนะซิทซีปัสในรอบชิงชนะเลิศที่บาร์เซโลนา ป้องกันแชมป์ได้สำเร็จโดยไม่เสียเซตตลอดการแข่งขัน[40] ตามด้วยแชมป์รายการที่สิบในอาชีพ ด้วยแชมป์มาสเตอร์ที่มาดริดโดยเอาชนะยาน-เลนนาร์ด สตรัฟฟ์ชาวเยอรมัน และกลับขึ้นสู่มือวางอันดับหนึ่งหลังจากลงแข่งรอบที่สองในมาสเตอร์ที่กรุงโรม แต่เขาแพ้ในรอบที่สามให้กับฟาเบียน มารอซซานมือวางอันดับ 135 ชาวฮังการีอย่างเหนือความคาดหมาย[41][42] เขาเข้าถึงรอบรองชนะเลิศเฟรนช์โอเพนเป็นครั้งแรกก่อนจะแพ้แชมป์อย่างจอกอวิช 1–3 เซตโดยมีอาการตะคริวในช่วงปลายการแข่งขันเซตที่สอง[43][44]
เข้าสู่การแข่งขันคอร์ตหญ้า อัลการัซคว้าแชมป์บนคอร์ตหญ้าได้เป็นครั้งแรกในรายการที่ควีนส์ ณ กรุงลอนดอน โดยเอาชนะอเล็กซ์ เด มินออร์ จากออสเตรเลีย เขาลงแข่งขันวิมเบิลดันในฐานะมือวางอันดับหนึ่ง และคว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้เป็นครั้งที่สอง โดยเป็นการเอาชนะแชมป์เก่าสี่สมัยซ้อน และแชมป์เจ็ดสมัยอย่างจอกอวิช 3–2 เซต อัลการัซถือเป็นเพียงผู้เล่นคนที่สองต่อจากแอนดี มาร์รี ที่เอาชนะจอกอวิชได้ในรอบชิงชนะเลิศวิมเบิลดัน[45][46] ก่อนที่เขาจะแพ้จอกอวิชในรอบชิงชนะเลิศมาสเตอร์ 1000 ที่ซินซินแนติ รัฐโอไฮโอ แม้เขาจะชนะในเซตแรกไปก่อน และขึ้นนำ 4–2 เกมในเซตที่สอง รวมทั้งได้คะแนน Championship Point ในไทเบรกเซตที่สอง การแข่งขันใช้เวลา 3 ชั่วโมง 49 นาที ถือเป็นรอบชิงชนะเลิศรายการมาสเตอร์ที่ใช้เวลาแข่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยอัลการัซแพ้ในการแข่งขันไทเบรกไปทั้งในเซตที่สองและเซตตัดสิน[47]
อัลการัซลงแข่งขันยูเอสโอเพนแกรนด์สแลมสุดท้ายของปีในฐานะแชมป์เก่า แต่เขาตกรอบรองชนะเลิศด้วยการแพ้เมดเวเดฟ 1–3 เซต[48] เขาเสียตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งหลังจากที่จอกอวิชคว้าแชมป์ได้ ต่อมา อัลการัซตกรอบการแข่งขันสามรายการติดต่อกันที่ปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้ และมาสเตอร์ที่ปารีส เขาลงแข่งขันรายการสุดท้ายของปีในเอทีพี ไฟนอลในเดือนพฤศจิกายน แต่ตกรอบรองชนะเลิศโดยแพ้จอกอวิชสองเซตรวด[49]
2024: แชมป์แกรนด์สแลม 2 รายการ, เหรียญเงินโอลิมปิก และชัยชนะนัดที่ 200
[แก้]อัลการัซลงแข่งแกรนด์สแลมแรกของปีที่ออสเตรเลียนโอเพน เข้าเข้าถึงรอบ 8 คนสุดท้ายและแพ้อเล็คซันเดอร์ ซเฟเร็ฟ 1–3 เซต[50] เขาตกรอบการแข่งชันสองรายการถัดมาที่อาร์เจนตินาและบราซิล โดยถอนตัวจากการแข่งขันรอบแรกที่รีโอเดจาเนโรจากการบาดเจ็บข้อเท้า[51] อัลคารัซลงแข่งขันรายการมาสเตอร์ 1000 รายการแรกของปีที่อินเดียนเวลส์ เขาเอาชนะซินเนอร์ในรอบรองชนะเลิศในการแข่งขันสามเซต ซึ่งถือเป็นการพบกันครั้งที่แปดในอาชีพ และป้องกันแชมป์ได้โดยเอาชนะเมดเวเดฟในรอบชิงชนะเลิศสองเซตรวด คว้าแชมป์สมัยที่สองและถือเป็นแชมป์มาสเตอร์ใบที่ 5 และยังเป็นแชมป์รายการแรกนับตั้งแต่วิมเบิลดัน 2023[52] แต่เขาตกรอบก่อนรองชนะเลิศในรายการมาสเตอร์ที่ไมแอมีด้วยการแพ้ดิมิทรอฟ[53] ส่งผลให้เขาเสียตำแหน่งอันดับสองของโลกให้ซินเนอร์ ต่อมา เขาถอนตัวจากรายการมาสเตอร์คอร์ตดินที่มงเต-การ์โล เนื่องจากบาดเจ็บแขน[54] และตกรอบก่อนรองชนะเลิศมาสเตอร์ที่มาดริด โดยแพ้อันเดรย์ รูเบลฟ ตามด้วยการถอนตัวจากมาสเตอร์ที่กรุงโรมเนื่องจากอาการบาดเจ็บแขนกำเริบ[55]
อัลการัซลงแข่งขันแกรนด์สแลมเฟรนช์โอเพน และคว้าแชมป์โดยเอาชนะซเฟเร็ฟในรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันห้าเซต (6–3, 2–6, 5–7, 6–1, 6–2) และด้วยวัย 21 ปี เขาสร้างสถิติเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้ครบทุกพื้นคอร์ต (ฮาร์ดคอร์ต, คอร์ตหญ้า และคอร์ตดิน) และเป็นแชมป์เฟรนช์โอเพนที่อายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่ราฟาเอล นาดัล ใน ค.ศ. 2007[56] อัลการัซป้องกันแชมป์วิมเบิลดันด้วยการเอาชนะจอกอวิชได้ในรอบชิงชนะเลิศเป็นปีที่สองติดต่อกัน คว้าแชมป์แกรนด์สแลมเป็นครั้งที่ 4 และทำสถิติเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในยุคโอเพนที่คว้าแชมป์เฟรนช์โอเพนและวิมเบิลดันได้ในปีเดียวกัน
อัลการัซผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ณ กรุงปารีส โดยเอาชนะฮาร์ดี ฮาบิบ จากเลบานอน, ทาลลอน กรีกสปูร์จากเนเธอร์แลนด์, โรมัน ซาฟีอุลลินจากรัสเซีย, ทอมมี พอล จากสหรัฐ และ เฟลิกซ์ โอเฌร์ อาลียาซีมจากแคนาดา พร้อมทั้งทำสถิติเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ แต่เขาแพ้จอกอวิชไปสองเซตรวด คว้าเหรียญเงินไปครอง[57] อัลการัซถอนตัวจากรายการมาสเตอร์ 1000 ที่แคนาดา และกลับมาลงแข่งขันมาสเตอร์ที่ซินซินแนติ แต่ก็ตกรอบแรกโดยแพ้กาแอล มงฟิล์ส[58] เขาลงแข่งแกรนด์สแลมสุดท้ายของปีในยูเอสโอเพนที่นิวยอร์กในเดือนสิงหาคม แต่ตกรอบที่สองโดยแพ้โบติค ฟาน เดอ แซนชุลป์ชาวดัตซ์สามเซตรวด นี่ถือเป็นการตกรอบรายการแกรนด์สแลมที่เร็วที่สุดของอัลการัซนับตั้งแต่วิมเบิลดัน ค.ศ. 2021[59] อัลการัซลงแข่งขันเทนนิส เดวิส คัพ ในนามทีมชาติสเปน ณ เมืองบาเลนเซีย โดยในรอบสุดท้ายสเปนอยู่ร่วมกลุ่มกับเชกเกีย, ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย อัลการัซลงแข่งขันประเภทชายเดี่ยวสองนัด และประเภทคู่อีกหนึ่งนัดโดยชนะรวด เขาลงแข่งขันรายการเลเวอร์ คัพ ในนามทีมยุโรประหว่างวันที่ 20–22 กันยายนที่เบอร์ลิน เขาชนะรวดในการแข่งขันประเภทเดี่ยว 2 นัด รวมทั้งประเภทคู่ 1 นัด พาทีมยุโรปชนะทีมรวมดาราโลกไปด้วยคะแนน 13–11
อัลการัซลงแข่งขันที่เอเชียเริ่มต้นด้วยรายการเอทีพี 500 ไชนาโอเพนที่ปักกิ่ง และคว้าชัยชนะครบ 200 นัดในอาชีพหลังจากเอาชนะ ทาลลอน กรีกสปูร์ ในรอบที่ 2 เขาคว้าแชมป์ได้โดยเอาชนะซินเนอร์ในรอบชิงชนะเลิศ 2–1 เซต และกลายเป็นนักเทนนิสคนแรกที่คว้าแชมป์ระดับ เอทีพี 500 ได้ครบทุกพื้นคอร์ต (ฮาร์ดคอร์ต, คอร์ตหญ้า และคอร์ตดิน) ก่อนจะตกรอบก่อนรองชนะเลิศมาสเตอร์ที่เซี่ยงไฮ้ด้วยการแพ้โทมัส มาซาชสองเซตรวด ตามด้วยการลงแข่งขันมาสเตอร์ที่ปารีสในช่วงปลายเดือนตุลาคม และตกรอบที่สอง เขาลงแข่งขันรายการสุดท้ายของปีในเอทีพี ไฟนอล ที่ตูริน อัลการัซแพ้คัสเปอร์ รืด ในนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่ม (1–6, 5–7) แม้จะชนะลูเบลฟในนัดต่อมาแต่เขาต้องตกรอบเมื่อแพ้ซเฟเร็ฟในนัดสุดท้าย
รูปแบบการเล่น
[แก้]อัลการัซได้รับการยอมรับว่าสามารถเล่นได้ดีในทุกพื้นคอร์ต เขามีจุดเด่นในการตีลูกกราวน์สโตรกที่หนักหน่วง แม่นยำ และเคลื่อนที่อย่างว่องไว รวมทั้งยังวิ่งขึ้นไปทำคะแนนหน้าเนตได้ดีเยี่ยม อัลการัซสามารถตีลูกโฟร์แฮนด์ได้หนักหน่วง และเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ตีลูกดังกล่าวได้ดีที่สุดในโลก ได้รับการยกย่องจากผู้เล่นชื่อดังอย่าง แมทส์ วิแลนเดอร์ ใน ค.ศ. 2024 ให้เป็นนักเทนนิสชายที่ตีลูกโฟร์แฮนด์ได้ดีที่สุดตลอดกาล[60] เขายังมีเทคนิคการกะจังหวะการตีและการเข้าหาบอลได้แม่นยำ จุดเด่นอีกด้านของเขาคือการเล่นลูกหยอด (Drop Shot) ได้อย่างดี รวมทั้งสามารถเปลี่ยนเกมจากรับเป็นรุกได้ในเวลาอันรวดเร็ว เขายังมีลูกเสริ์ฟที่หนักหน่วง มีความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 115 ถึง 120 ไมล์ต่อชั่วโมง[61][62] อัลการัซยังมีจุดเด่นในด้านร่างกายที่แข็งแกร่ง และการเคลื่อนที่ซึ่งเขาได้รับการเปรียบเทียบกับสองตำนานรุ่นพี่อย่างราฟาเอล นาดัล และ นอวาก จอกอวิช[63]
คู่แข่ง
[แก้]นอวาก จอกอวิช
[แก้]อัลการัซและจอกอวิชพบกันในการแข่งขันหลายการสำคัญรวม 7 ครั้ง อัลการัซเอาชนะไปได้ 3 ครั้งและแพ้ 4 ครั้ง โดยทั้ง 7 ครั้งที่พบกันล้วนเกิดขึ้นในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศหรือรอบชิงชนะเลิศเทนนิสแกรนด์สแลม, รายการมาสเตอร์ 1000 และรอบชิงเหรียญทองกีฬาโอลิมปิก ทั้งคู่พบกันครั้งแรกในรอบรองชนะเลิศรายการมาสเตอร์ที่กรุงมาดริดใน ค.ศ. 2022 ซึ่งอัลการัซเอาชนะไปได้ในการแข่งขัน 3 เซตหลังจากแพ้เซตแรกไปก่อน ทั้งคู่พบกันในรอบรองชนะเลิศแกรนด์สแลมเฟรนช์โอเพนในปีต่อมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นอริในสนามของทั้งคู่และทำให้การพบกันได้รับความสนใจจากสื่อและแฟนเทนนิสทั่วโลก จอกอวิชเอาชนะไปในการแข่งขันสี่เซตก่อนจะผ่านเข้าไปคว้าแชมป์ได้ในที่สุด โดยอัลการัซมีอาการตะคริวระหว่างแข่งขัน[64] อย่างไรก็ตาม อัลการัซแก้มือได้ด้วยการเอาชนะจอกอวิชในรอบชิงชนะเลิศวิมเบิลดัน 2023 หยุดสถิติการคว้าแชมป์ 4 สมัยติดต่อกัน รวมทั้งสถิติชนะติดต่อกัน 45 นัดในเซนเตอร์คอร์ตกรุงลอนดอนของจอกอวิช โดยใช้เวลาแข่งขันกว่า 4 ชั่วโมง 42 นาที ส่งผลให้อัลการัซคว้าแชมป์วิมเบิลดันครั้งแรกและเป็นแชมป์แกรนด์สแลมรายการที่สอง
จอกอวิชกลับมาแก้มือได้อีกครั้งด้วยการเอาชนะในรอบชิงชนะเลิศมาสเตอร์ 1000 ที่ซินซินแนติ สหรัฐ แม้จะแพ้ในเซตแรกไปก่อนแต่จอกอวิชเอาตัวรอดจากการเซฟคะแนน Match Point ได้ในเซตที่สอง[65] นี่ถือเป็นรอบชิงชนะเลิศรายการมาสเตอร์ที่ใช้เวลาแข่งขันกันนานที่สุดกว่า 3 ชั่วโมง 49 นาที และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในการแข่งขันที่สนุกที่สุดในเทนนิสสมัยใหม่[66][67] และจอกอวิชเอาชนะได้อีกครั้งในการแข่งขันเอทีพี ไฟนอล 2023 ที่ตูรินในรอบรองชนะเลิศสองเซตรวด (6–3, 6–2) ต่อมา ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 อัลการัซเอาชนะจอกอวิชในรอบชิงชนะเลิศวิมเบิลดันได้เป็นปีที่สองติดต่อกัน (6–2, 6–2, 7–6(7–4)) ป้องกันแชมป์วิมเบิลดันได้พร้อมทั้งคว้าแชมป์แกรนด์สแลมรายการที่ 4 แต่เขาก็แพ้จอกอวิชในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันเทนนิสชายเดี่ยวในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 โดยต้องแข่งขันถึงช่วงไทเบรกทั้งสองเซต (6–7(3–7), 6–7(2–7))
ยันนิค ซินเนอร์
[แก้]ปัจจุบันซินเนอร์ผู้เล่นชาวอิตาลี เป็นนักเทนนิสมือวางอันดับ 1 ของโลก อัลการัซแข่งขันกับซินเนอร์ 10 ครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 2021 อัลคาราซมีสถิติที่เหนือกว่า (ชนะ 6 แพ้ 4) การแข่งขันครั้งสำคัญได้แก่ รอบก่อนรองชนะเลิศยูเอสโอเพน ค.ศ. 2022 ซึ่งอัลการัซเอาชนะในการแข่งขันห้าเซตโดยต้องเซฟคะแนน Match Point ก่อนที่อัลการัซจะผ่านเข้าไปคว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้เป็นครั้งแรก[68] และการแข่งขันรอบรองชนะเลิศมาสเตอร์ 1000 ที่ไมแอมี ค.ศ. 2023 ซึ่งอัลการัซแพ้ไปใน 3 เซต (7–6, 4–6, 2–6) ต่อมาใน ค.ศ. 2024 ทั้งคู่แข่งขันกันในรอบรองชนะเลิศแกรนด์สแลมเฟรนช์โอเพน ซึ่งอัลการัซเอาชนะไปในห้าเซต (2–6, 6–3, 3–6, 6–4, 6–3) ตามด้วยการเอาชนะในรอบชิงชนะเลิศที่ปักกิ่งในการแข่งขัน 3 เซต
ดานีอิล เมดเวเดฟ
[แก้]ดานีอิล เมดเวเดฟได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นชั้นนำในปัจจุบัน เคยแข่งขันกับอัลการัซรวม 8 ครั้ง ซึ่งอัลการัซมีสถิติเหนือกว่าโดยชนะ 6 และ แพ้ 2 ครั้ง ทั้งคู่พบกันครั้งแรกในแกรนด์สแลมวิมเบิลดัน ค.ศ. 2021 ซึ่งอัลการัซแพ้ไปสามเซตรวด จากนั้น อัลการัซสามารถเอาชนะเมดเวเดฟได้ถึง 5 ครั้งจากการพบกัน 6 ครั้งหลังสุดรวมถึงรอบชิงชนะเลิศมาสเตอร์ 1000 ที่อินเดียน เวลส์ ค.ศ. 2023 (ุ6–3, 6–2) และรอบรองชนะเลิศวิมเบิลดันในปีเดียวกัน แต่เมดเวเดฟสามารถเอาชนะคืนได้ในรอบรองชนะเลิศยูเอสโอเพนใน 4 เซต ก่อนที่อัลการัซจะเอาชนะในรอบแบ่งกลุ่มการแข่งขันเอทีพี ไฟนอล ที่ตูรินสองเซตรวด (ุ6–4, 6–4) และใน ค.ศ. 2024 ทั้งคู่พบกันในรอบชิงชนะเลิศมาสเตอร์ 1000 ที่อินเดียน เวลส์ และรอบรองชนะเลิศวิมเบิลดัน อัลการัซเอาชนะไปได้ทั้งหมด ต่อมา ทั้งคู่พบกันในรอบรองชนะเลิศรายการไชนาโอเพน ที่ปักกิ่งในเดือนตุลาคมและอัลการัซชนะสองเซตรวด
สถิติรอบชิงชนะเลิศ
[แก้]เทนนิสแกรนด์สแลม
[แก้]ประเภทชายเดี่ยว: ชิงชนะเลิศ 4 รายการ (ชนะเลิศ 4 รายการ)
หมายเหตุ - จำนวนตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนครั้งที่ชนะเลิศรายการนั้น
ผล | ปี | รายการ | พื้นสนาม | คู่แข่ง | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | 2022 | ยูเอสโอเพน | คอนกรีต | คัสเปอร์ รืด | 6–4, 2–6, 7–6(7–1), 6–3 |
ชนะเลิศ | 2023 | วิมเบิลดัน | หญ้า | นอวาก จอกอวิช | 1–6, 7–6(8–6), 6–1, 3–6, 6–4 |
ชนะเลิศ | 2024 | เฟรนช์โอเพน | ดิน | อเล็คซันเดอร์ ซเฟเร็ฟ | 6–3, 2–6, 5–7, 6–1, 6–2 |
ชนะเลิศ | 2024 | วิมเบิลดัน (2) | หญ้า | นอวาก จอกอวิช | 6–2, 6–2, 7–6(7–4) |
รายการเอทีพี มาสเตอร์ 1000
[แก้]ประเภทชายเดี่ยว: ชิงชนะเลิศ 6 รายการ (ชนะเลิศ 5 รายการ)
หมายเหตุ - จำนวนตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนครั้งที่ชนะเลิศรายการนั้น
ผล | ปี | รายการ | พื้นสนาม | คู่แข่ง | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|
ชนะเลิศ | 2022 | ไมแอมี | คอนกรีต | คัสเปอร์ รืด | 7–5, 6–4 |
ชนะเลิศ | 2022 | มาดริด | ดิน | อเล็คซันเดอร์ ซเฟเร็ฟ | 6–3, 6–1 |
ชนะเลิศ | 2023 | อินเดียน เวลส์ | คอนกรีต | ดานีอิล เมดเวเดฟ | 6–3, 6–2 |
ชนะเลิศ | 2023 | มาดริด (2) | ดิน | ยาน-เลนนาร์ด สตรัฟฟ์ | 6–4, 3–6, 6–3 |
รองชนะเลิศ | 2023 | ซินซินแนติ | คอนกรีต | นอวาก จอกอวิช | 7–5, 6–7(7–9), 6–7(4–7) |
ชนะเลิศ | 2024 | อินเดียน เวลส์ (2) | คอนกรีต | ดานีอิล เมดเวเดฟ | 7–6(7–5), 6–1 |
กีฬาโอลิมปิก
[แก้]ชายเดี่ยว: ชิงชนะเลิศ 1 ครั้ง (1 เหรียญเงิน)
ผล | ปี | รายการ | พื้นสนาม | คู่แข่ง | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|
เหรียญเงิน | 2024 | Paris Olympics | ดิน | นอวาก จอกอวิช | 6–7(3–7), 6–7(2–7) |
เกียรติประวัติ
[แก้]- รางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมของเอทีพี (2020)
- รางวัลนักเทนนิสยอดเยี่ยมประจำปี (2022)
- รางวัลนักเทนนิสผู้มีพัฒนาการยอดเยี่ยมแห่งปี (2022)
- นักเทนนิสอายุน้อยที่สุดที่ขึ้นสู่ตำแหน่งมือวางอันดับ 1 - 19 ปี 4 เดือน (2022)
- นักเทนนิสอายุน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์แกรนด์สแลมเฟร์โอเพนและวิมเบิลดันในปีเดียวกัน - 21 ปี 2 เดือน (2024)
- นักเทนนิสอายุน้อยที่สุดที่เข้าชิงเหรียญทองในโอลิมปิกฤดูร้อน - 21 ปี 2 เดือน (2024)
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 In ATP Tour and Grand Slam main draw matches, Summer Olympics, Davis Cup and Laver Cup
- ↑ ยุคโอเพนในการแข่งขันเทนนิสทั่วโลกเริ่มต้นในปี 1968 หมายถึง การเปิดโอกาสให้นักเทนนิสมือสมัครเล่นได้ร่วมแข่งขันรายการต่าง ๆ โดยก่อนหน้านั้น การแข่งขันรายการใหญ่ทั่วโลกจะเปิดโอกาสให้เฉพาะผู้เล่นที่มีชื่อเสียงเท่านั้น
- ↑ ยุคโอเพนในการแข่งขันเทนนิสทั่วโลกเริ่มต้นในปี 1968 หมายถึง การเปิดโอกาสให้นักเทนนิสมือสมัครเล่นได้ร่วมแข่งขันรายการต่าง ๆ โดยก่อนหน้านั้น การแข่งขันรายการใหญ่ทั่วโลกจะเปิดโอกาสให้เฉพาะผู้เล่นที่มีชื่อเสียงเท่านั้น
- ↑ การแข่งขันเริ่มขึ้นในปี 1900 เป็นการแข่งขันรายการนานาชาติของทีมชายที่ใหญ่ที่สุดของสหพันธ์เทนนิสนานาชาติ เปรียบเสมือนการแข่งขันชิงแชมป์โลก ผู้จัดงานได้อธิบายไว้ว่าเป็น "World Cup of Tennis" และผู้ชนะจะเรียกว่าทีมแชมป์โลก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Carlos Alcaraz". ATP Tour. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2023.
- ↑ "Career prize money" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2023.
- ↑ "Carlos Alcaraz | Overview". ATP Tour. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "The pronunciation by Carlos Alcaraz himself". ATPWorldTour.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Carlos Alcaraz Youngest Year-End ATP No. 1 Presented By Pepperstone In History | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ Johns, Matthew (31 พฤษภาคม 2023). "Carlos Alcaraz 'the greatest 20-year-old ever' claims former No.1". Tennishead (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ Carayol, Tumaini (27 มีนาคม 2023). "Carlos Alcaraz is the most exciting player in men's tennis and he will only get better". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ Guerrero, Daniel Gonzalez (5 พฤศจิกายน 2023). "Carlos Alcaraz: The Best Tennis Player in the World - LatinAmerican Post". latinamericanpost.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Carlos Alcaraz Youngest Year-End ATP No. 1 Presented By Pepperstone In History | ATP Tour | Tennis". ATP Tour (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Ilic, Jovica (13 ธันวาคม 2019). "Carlos Alcaraz grabs 2020 Rio Open wild card for an ATP debut". Tennis World USA (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Barker, Gabby (15 มกราคม 2021). "Alcaraz follows in the footsteps of Djokovic, Nadal and Federer". Sports Finding (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Acrokeratosis paraneoplastica", Dermatology Therapy, Springer Berlin Heidelberg, pp. 18–18, 2004, สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2023
- ↑ "Alcaraz Triumphs At Oeiras Open Challenger - Tennis TourTalk". web.archive.org. 22 พฤษภาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ Keating, Steve (4 กันยายน 2021). "Alcaraz upsets Tsitsipas to reach U.S. Open fourth round". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ "Alcaraz, 18, stuns Tsitsipas; Tiafoe tops Rublev". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 3 กันยายน 2021.
- ↑ Tennis.com. "The Latest: Alcaraz says leg muscle made him stop at Open". Tennis.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Carlos Alcaraz Hits 100 Wins: Seven Notable Triumphs | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ Reuters; Media, P. A. (13 เมษายน 2022). "Carlos Alcaraz exits in windy Monte Carlo against unseeded Sebastian Korda". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ "Carlos Alcaraz beats Stefanos Tsitsipas in Barcelona Open thriller to guarantee spot in world's top 10". Eurosport (ภาษาอังกฤษ). 22 เมษายน 2022.
- ↑ "Alcaraz Downs Tsitsipas Again, Reaches Barcelona Semis - Tennis Now". www.tennisnow.com.
- ↑ "Magic Man: Alcaraz Edges Djokovic for Historic Madrid Final - Tennis Now". www.tennisnow.com.
- ↑ "Alcaraz out of Italian Open after winning Madrid". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 9 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "Alcaraz v Korda: Things we learned - Roland-Garros - The 2023 Roland-Garros Tournament official site". www.rolandgarros.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "https://twitter.com/usopen/status/1567035942849888259". X (formerly Twitter).
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|title=
- ↑ "Alcaraz tops Sinner at 2:50 a.m.; latest US Open finish ever". AP News (ภาษาอังกฤษ). 8 กันยายน 2022.
- ↑ "Alcaraz, 19, wins US Open; youngest-ever No. 1". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 11 กันยายน 2022.
- ↑ Tennis.com. "Carlos Alcaraz loses debut as world No. 1 to Felix Auger-Aliassime in Davis Cup Finals meeting". Tennis.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Felix Auger-Aliassime Flies Past Alcaraz In Basel | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "Carlos Alcaraz facing six weeks out with injury, will miss ATP Finals and Davis Cup in 'tough and painful' blow". Eurosport (ภาษาอังกฤษ). 5 พฤศจิกายน 2022.
- ↑ "Carlos Alcaraz Youngest Year-End ATP No. 1 Presented By Pepperstone In History | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "WTA requiring resolution of Peng Shuai case for women's tennis tournaments' return to China". CBSSports.com (ภาษาอังกฤษ). 5 มกราคม 2023.
- ↑ "Novak Djokovic Returns To No. 1, Mover Of Week | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "Carlos Alcaraz Wins Buenos Aires Title In Season Debut | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "Alcaraz Extends Perfect Season, Sets Norrie Rematch With Rio SF Comeback | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "Alcaraz out of Acapulco with hamstring strain". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 28 กุมภาพันธ์ 2023.
- ↑ Johns, Matthew (15 มีนาคม 2023). "Carlos Alcaraz 'proud' to reach milestone before 'the big three'". Tennishead (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Carlos Alcaraz Wins Indian Wells, Returns To World No. 1 | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "Sinner Storms Back To Beat Alcaraz In Miami SF, Ending Spaniard's No. 1 Reign | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ Tennis.com. "Rafael Nadal, Carlos Alcaraz pull out of Monte Carlo Masters". Tennis.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Barcelona Open: Carlos Alcaraz beats Stefanos Tsitsipas to retain title". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Wertheim, Jon (17 พฤษภาคม 2023). "Carlos Alcaraz's Italian Open Upset Is a Blessing in Disguise". Sports Illustrated (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Fabian Marozsan Beats Carlos Alcaraz In Rome Upset | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "Djokovic beats cramping Alcaraz, into French final". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 9 มิถุนายน 2023.
- ↑ Carayol, Tumaini (9 มิถุนายน 2023). "Alcaraz says French Open semi-final cramps were caused by nerves". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ Tennis.com. "Stat of the Day: Carlos Alcaraz ends longest Centre Court winning streak for first Wimbledon title". Tennis.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Carlos Alcaraz wins Wimbledon, denies Novak Djokovic record 24th Grand Slam singles title". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Tennis.com. "Novak Djokovic saves championship point in thrilling Cincinnati final win over Carlos Alcaraz". Tennis.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Carayol, Tumaini (9 กันยายน 2023). "Daniil Medvedev stuns Carlos Alcaraz to set up US Open final showdown with Novak Djokovic". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ Carayol, Tumaini (18 พฤศจิกายน 2023). "Novak Djokovic storms Carlos Alcaraz to earn ATP Finals decider with Sinner". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ "Alexander Zverev beats Carlos Alcaraz at Australian Open | ATP Tour | Tennis". ATP Tour (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Alcaraz suffers ankle injury in Rio opener, retires after two games | ATP Tour | Tennis". ATP Tour (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Tennis.com. "Carlos Alcaraz wins second straight Indian Wells title with victory over Medvedev in final". Tennis.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Reuters (29 มีนาคม 2024). "Grigor Dimitrov stuns Carlos Alcaraz in straight sets to reach Miami Open semis". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2024.
- ↑ "Carlos Alcaraz withdraws from Monte-Carlo | ATP Tour | Tennis". ATP Tour (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Carlos Alcaraz withdraws from Rome due to arm injury | ATP Tour | Tennis". ATP Tour (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Ramsay, George (9 มิถุนายน 2024). "Carlos Alcaraz wins third grand slam title with five-set victory at the French Open over Alexander Zverev". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Novak Djokovic beats Carlos Alcaraz to win Olympic tennis gold and seal 'Golden Slam'". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 4 สิงหาคม 2024.
- ↑ "Gael Monfils upsets Carlos Alcaraz in Cincinnati | ATP Tour | Tennis". ATP Tour (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Hansen, James; Eccleshare, Charlie. "Carlos Alcaraz knocked out of U.S. Open by Botic van de Zandschulp in major upset". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2024.
- ↑ www.eurosport.com https://www.eurosport.com/geoblocking.shtml.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Brugnoli, Simone (14 มกราคม 2023). "'Carlos Alcaraz can serve and volley at...', says former ATP ace". Tennis World USA (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "How Alcaraz's Scintillating Serve Toppled Djokovic's Return In The Wimbledon Final | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "From Carlitos to Alcaraz, Episode 3: Attack, defence, power, touch - Alcaraz the pioneer of "total tennis"". Tennis Majors (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 17 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Djokovic beats cramping Alcaraz, into French final". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 9 มิถุนายน 2023.
- ↑ Tennis.com. "In Novak Djokovic and Carlos Alcaraz's second classic in as many months, the legend, rather than the phenom, had the final word". Tennis.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Press, The Associated (21 สิงหาคม 2023). "Djokovic outlasts Alcaraz to win instant-classic final in Cincinnati". theScore.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Djokovic and Carlos Produce the Highest Level of Tennis Ever Witnessed In Cincy - Tennis-Prose.com" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 21 สิงหาคม 2023.
- ↑ "Was Carlos-Alcaraz vs Jannik Sinner the greatest next-gen match in history?". Lob and Smash (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 กันยายน 2022.